Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/38326
Title: แก๊สสังเคราะห์จากแกซิฟิเคชันร่วมกับการเผาไหม้ของถ่านหินและชีวมวลในฟลูอิไดซ์เบดแบบหมุนเวียน
Other Titles: Syngas from coal and biomass gasification integrated with combustion in circulating fluidized bed
Authors: ทัศนัย องค์กบิลย์
Advisors: เลอสรวง เมฆสุต
ประพันธ์ คูชลธารา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: lursuang.M@chula.ac.th
prapank@sc.chula.ac.th
Subjects: การผลิตก๊าซจากถ่านหิน
แกสซิฟิเคชันของชีวมวล
การเผาไหม้แบบฟลูอิไดซ์เบด
Coal gasification
Biomass gasification
Fluidized-bed combustion
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ศึกษาและออกแบบกระบวนการแกซิฟิเคชันร่วมกับการเผาไหม้ของถ่านหินและชีวมวลในฟลูอิไดซ์เบดแบบหมุนเวียน เพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงคุณภาพแก๊สสังเคราะห์จากกระบวนการแกซิฟิเคชัน โดยใช้หลักการแยกส่วนของแกซิฟิเคชันและการเผาไหม้ออกจากกันและนำความร้อนจากส่วนการเผาไหม้มายังส่วนแกซิฟิเคชันโดยการถ่ายโอนความร้อนผ่านทางวัสดุเบด คือทราย ในรูปของความร้อนแฝงของทราย พบว่าเครื่องปฏิกรณ์ที่ได้ออกแบบนั้นสามารถผลิตแก๊สสังเคราะห์ที่มีองค์ประกอบของแก๊สสังเคราะห์และค่าความร้อนสูง นอกจากนี้ได้ทำการศึกษาผลของตัวแปร ได้แก่ สัดส่วนของการผสมกะลาปาล์มกับถ่านหินและอุณหภูมิที่มีต่อองค์ประกอบของแก๊สสังเคราะห์ จากผลการทดลองพบว่า เมื่อสัดส่วนของชีวมวลเพิ่มขึ้น ทำให้ร้อยละโดยปริมาตรของไฮโดรเจนลดลง คาร์บอนไดออกไซด์สูงขึ้น ส่วนมีเทนและคาร์บอนมอนอกไซด์มีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย ส่วนผลของอุณหภูมิที่มีต่อองค์ประกอบของแก๊สสังเคราะห์ พบว่า เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ส่งผลให้ร้อยละโดยปริมาตรของไฮโดรเจนสูงขึ้น คาร์บอนไดออกไซด์ลดลง คาร์บอนมอนอกไซด์เพิ่มขึ้นเล็กน้อย และมีเทนลดลงเล็กน้อย นอกจากนี้ยังมีการนำองค์ประกอบของแก๊สที่ได้ไปเปรียบเทียบกับระบบที่ใช้ในอุตสาหกรรมโดยใช้หลักการเดียวกัน คือแกซิฟิเคชันร่วมกับการเผาไหม้ คือกระบวนการ SilvaGas และ FICFB พบว่าแก๊สที่ผลิตได้จากงานวิจัยนี้ให้องค์ประกอบของไฮโดรเจนที่สูงกว่าอีกสองระบบ
Other Abstract: This work preliminarily designed and studied gasification integrated with combustion in circulating fluidized bed. The work was focused on the quality improvement of syngas production from gasification. This process had the combination of gasification and combustion that it was separated into two independent zones. Heat was transferred from combustion zone to gasification zone by means of latent heat of sand. The designed process produced the high quality gas and heating value. Moreover, this work studied the effect of ratio of palm shell with coal and reaction temperature on syngas composition. The increasing of palm shell component affected gas composition that hydrogen composition became lower but carbon dioxide became higher while carbon monoxide and methane were quite steady. An increase in temperature affected gas composition that hydrogen and carbon monoxide composition were higher and carbon monoxide was slightly increased. On the other hand, carbon dioxide and methane became lower and methane was slightly decreased. Moreover, the result of gas composition was compared with industrial processes, such as SilvaGas and FICFB. It showed that this work gave higher composition of hydrogen.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคมีเทคนิค
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/38326
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.148
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.148
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tassanai_on.pdf1.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.