Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3865
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorโสภาพรรณ ชยสมบัติ-
dc.contributor.advisorประนอม รอดคำดี-
dc.contributor.authorพรพิมล จงเป็นสุขเลิศ, 2518--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2007-08-27T02:12:32Z-
dc.date.available2007-08-27T02:12:32Z-
dc.date.issued2543-
dc.identifier.isbn9743468749-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3865-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาในการจัดโครงการสอนเด็กเจ็บป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาล ตัวอย่างประชากร คือ ผู้บริหารที่รับผิดชอบโครงการสอนเด็กเจ็บป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาลของกองการศึกษาเพื่อคนพิการ 2 คน แพทย์หัวหน้าโครงการ 7 คน แพทย์เจ้าของไข้ 14 คน ครูการศึกษาพิเศษ 15 คน พยาบาล 14 คน และผู้ปกครอง 35 คน ซึ่งเกี่ยวข้องกับการจัดโครงการสอนเด็กเจ็บป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาล จำนวน 7 แห่ง ในช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2542 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2543 เก็บข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์ การสังเกต และการศึกษาจากเอกสาร ผลการวิจัยพบว่า ด้านความเป็นมาและนโยบายในการจัดตั้งโครงการฯ ทั้ง 7 แห่ง ริเริ่มโดยคณะแพทย์ภายในโรงพยาบาล การดำเนินงานในโครงการฯ เป็นความร่วมมือระหว่างกองการศึกษาเพื่อคนพิการและโรงพยาบาล โดยโรงพยาบาลเป็นผู้จัดเตรียมสถานที่ในการจัดการเรียนการสอน และกองการศึกษาเพื่อคนพิการจัดหาครูการศึกษาพิเศษมาประจำโครงการฯ ด้านบุคลากรและการบริหารงานบุคลากร ระดับต้นสังกัดมีกองการศึกษาเพื่อคนพิการเป็นผู้บริหารระดับต้นสังกัดของครูการศึกษาพิเศษ ส่วนผู้บริหารระดับปฏิบัติการได้แก่ผู้อำนวยการโรงพยาบาล หรือคณบดีคณะแพทยศาสตร์ และดำเนินการภายใต้ความดูแลของแพทย์หัวหน้าโครงการ นักเรียนในโครงการฯ ส่วนใหญ่เจ็บป่วยเรื้อรังด้วยโรคหัวใจ โรคเลือด โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว และโรคไต อายุ 3-13 ปี ขั้นตอนในการดำเนินงานในโครงการฯ ทั้ง 7 แห่งประกอบด้วย การค้นพบและนำเด็กเข้าร่วมโครงการ โดยแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ประจำหอผู้ป่วย หรือครูการศึกษาพิเศษ; การดำเนินการจัดการเรียนการสอนซึ่งเป็นหน้าที่ของครูการศึกษาพิเศษ; การประสานงานระหว่างครูการศึกษาพิเศษกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง คือ แพทย์เจ้าของไข้ พยาบาล และผู้ปกครอง เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน และการติดตามผลการเรียนหลังจากเด็กถูกจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล หลักสูตรและการเรียนการสอน ครูส่วนใหญ่ใช้แบบเรียนและแบบฝึกหัดที่กรมวิชาการและสำนักพิมพ์เอกชนจัดพิมพ์ขึ้นตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการในการจัดการเรียนการสอน โดยเฉพาะในระดับเด็กเล็กเน้นกิจกรรมการวาดภาพระบายสีและทำแบบฝึกหัดต่างๆ รูปแบบการจัดการเรียนการสอนมีการจัดการเรียนการสอนแบบชั้นเรียนและแบบตามเตรียง และตรวจประเมินผลเน้นการสังเกตและการตรวจผลงานนักเรียนen
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to study the state and problems of the organization of instructional programs for young chronically ill in-patient children. The samples were 2 administrators from the division of education for the handicapped, who were the heads of the program, 14 doctors taking care of the chronically ill patients, 15 special education teachers, 14 nurses and 35 parents all involved in the program organization of the 7 hospitals during December, 1999-September, 2000. The data were collected by means of interview, observation and documentary study. The results were, regarding background and policy of program foundation, all had been initiated by the medical professions at the hospitals. The programs were conducted with cooperation between the division of education for the handicapped and each hospital. The hospitals provided the room and furniture while the division of education for the handicapped provided special education teachers. Concerning personnel and personnel management, the division of education for the haddicapped was the adminstrators at the top rank level and monitored their teacher through their monitoring schools. The administrators at the field were the directors of the hospitals or deans of faculty of medicine and the doctors, who were the heads of the program, monitored the program performance. The students in the program, ranging 3-13 years old, most of whom were having heart diseases, blood diseases, leukemia and nephrotic syndrome. The procedures of the program organization in each hospital included detecting and bringing the children into the program by doctors, nurses, hospital officers or special education teachers ; organizing instruction by the special education teachers ; cooperation between special education teachers and involved people ; doctors, nurses and parent to promote understanding about the instruction ; and the follow-up after the children had been discharged from the hospitals. Concerning curriculum and instruction ; most teachers usually used texts andexercise books published by the department of acacemic and private publishers according to the national curriculum of the education in their instructional orgnization, especially the young children emphasis were placed on drawing and painting, and doing exercises. Instruction was provided through classroom instruction and instruction at the patients' beds. Instructional assessment was mainly observation and checking students' worken
dc.format.extent2485125 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2000.408-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectผู้ป่วยเด็กen
dc.subjectผู้ป่วยโรคเรื้อรังen
dc.subjectโครงการสอนเด็กเจ็บป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาลen
dc.titleการศึกษาการจัดโครงการสอนเด็กเจ็บป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาลen
dc.title.alternativeA study of the organization of instructional programs for young chronically ill in-patient childrenen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineการศึกษาปฐมวัยen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSopapan.c@chula.ac.th-
dc.email.advisorPranom.r@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2000.408-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pornpimon.pdf2.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.