Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3907
Title: การปลูกถั่วฝักยาว Vigna sesquipedalis Fruw. ปลอดสารกำจัดศัตรูพืชโดยไม่ใช้ดิน
Other Titles: Soilless culture for pesticide-free of yard long bean (Vigna sesquipiedalis Fruw.)
Authors: นิยะดา ตั้งสิริมิตร
Advisors: กระบวน วัฒนปรีชานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Krabuan.W@Chula.ac.th
Subjects: การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน
วัสดุปลูกพืช
ถั่วฝักยาว
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จากการศึกษาการปลูกถั่วฝักยาว Vigna sesquipiedalis Fruw. ปลอดสารกำจัดศัตรูพืชโดยปลูกบนวัสดุปลูก 4 ชนิดคือ ทราย ทรายผสมขุยมะพร้าว ทรายผสมถ่านแกลบ อัตราส่วน 1:1 โดยปริมาตร และดิน ในสภาพกลางแจ้งและภายใต้โรงเรือนตาข่าย ในฤดูฝน (กรกฎาคม-กันยายน 2541) ฤดูหนาว (พฤศจิกายน 2541-มกราคม 2542) และฤดูร้อน (มีนาคม-พฤษภาคม 2542) พบว่าต้นถั่วที่ปลูกกลางแจ้งในฤดูหนาว บนทรายผสมขุยมะพร้าวอัตราส่วน 1:1 โดยปริมาตร มีการเจริญเติบโตดี ให้น้ำหนักสดเฉลี่ยของต้น น้ำหนักแห้งเฉลี่ยของต้น ความสูงเฉลี่ยของต้น น้ำหนักสดเฉลี่ยของฝัก และจำนวนฝักเฉลี่ย เท่ากับ 476.41 กรัมต่อต้น 126.61 กรัมต่อต้น 6.03 เมตรต่อต้น 478.53 กรัมต่อต้นและ 19.01 ฝักต่อต้น ตามลำดับ มากกว่าที่ปลูกบนทรายผสมถ่านแกลบและทราย แต่ไม่แตกต่างทางสถิติกับถั่วฝักยาวที่ปลูกบนดิน ซึ่งมีน้ำหนักสดเฉลี่ยของต้น น้ำหนักแห้งเฉลี่ยของต้น ความสูงเฉลี่ยของต้น น้ำหนักสดเฉลี่ยของฝักและจำนวนฝักเฉลี่ยเท่ากับ 485.27 กรัมต่อต้น 123.71 กรัมต่อต้น 5.46 เมตรต่อต้น 418.02 กรัมต่อต้น และ 15.09 ฝักต่อต้น ตามลำดับ ถั่วฝักยาวที่ปลูกภายใต้โรงเรือนในฤดูหนาว บนทรายผสมขุยมะพร้าว มีความยาวเฉลี่ยของฝักมากที่สุดเท่ากับ 54.35 เซนติเมตรต่อฝัก ถั่วฝักยาวที่ปลูกกลางแจ้งในฤดูฝนบนทรายผสมขุยมะพร้าว มีปริมาณไนโตรเจนในฝักถั่วสูงสุดเท่ากับ 1.280% ถั่วฝักยาวที่ปลูกภายใต้โรงเรือนในฤดูฝน บนทรายผสมถ่านแกลบมีปริมาณฟอสฟอรัสในฝักถั่วสูงสุดเท่ากับ 0.980% ถั่วฝักยาวที่ปลูกภายใต้โรงเรือนในฤดูร้อนบนดิน มีปริมาณโพแทสเซียมในฝักถั่วสูงสุดเท่ากับ 3.772% ถั่วฝักยาวที่ปลูกกลางแจ้งในฤดูร้อนบนทรายผสมขุยมะพร้าว มีปริมาณแคลเซียมในฝักถั่วสูงสุดเท่ากับ 0.342% ถั่วฝักยาวที่ปลูกภายใต้โรงเรือนตาข่ายไนล่อนในฤดูหนาว บนทรายผสมขุยมะพร้าวมีปริมาณแมกนีเซียมในฝักถั่วสูงสุดเท่ากับ 0.825% และถั่วฝักยาวที่ปลูกกลางแจ้งในฤดูหนาวบนดิน มีปริมาณน้ำตาลทั้งหมดในฝักถั่วสูงสุดเท่ากับ 65.51% ในการทดลองนี้ไม่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเลย แต่มีการใช้สารสกัดจากสะเดาเพื่อลดการแพร่ระบาดของเพลี้ยอ่อน
Other Abstract: The study on growing pesticide-free of yard long bean (Vigna sesquipiedalis Fruw.) in sand, the mixtures of sand and coconut coir (1:1 v/v), sand and rice ash (1:1 v/v) and soil as substrates under a net house and open field in rainy season (July-September 1998), dry season (November 1998-January 1999) and hot season (March-May 1999) was reported. Growth and yield of yard long bean grown in sand/coconut coir under open field in dry season were good. The average of fresh weight of plant (476.41 gm/pl), dry weight (126.61 gm/pl), height of plant (6.03 m/pl), fresh weight of pod (478.53 gm/pl) and the number of pod (19.01 pods/pl) was higher than those grown in sand/rice ash and sand, respectively. However, there was no significant difference between sand/coconut coir and soil. The yard long bean grown in soil gave the fresh weight of plant (485.27 gm/pl), dry weight (123.71 gm/pl, height (5.46 m/pl), fresh weight of pod (418.02 gm/pl) and the number of pod (15.90 pods/pl). In dry season under a net house, theyard long bean grown in the mixture of sand and coconut coir gave the highest of pod length (54.35 cm/pod). The highest contents of total nitrogen found in yard long bean pod (1.280%) were those grown in sand/coconut coir under open field in rainy season, phosphorus (0.980%) in sand/rice ash under a net house in rainy season, potassium (3.772%) in soil under a net house in hot season, calcium (0.342%) in sand/coconut coir under open field in hot season, magnesium (0.825%) in sand/coconut coir under a net house in dry season and total sugar (65.51%) in soil under open field in dry season. However, there was no any synthetic pesticide used in this experiment, only the extract of neem seed was used to decrease the epidermic of aphids
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พฤกษศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3907
ISBN: 9743349561
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
niyada.pdf4.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.