Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3945
Title: ผลของแบคทีเรียปนเปื้อนต่อการเจริญและการผลิตเอทานเอลของ Saccharomyces cerevisiae
Other Titles: Effects of contaminating bacteria on cell growth and ethanol production of Saccharomyces cerevisiae
Authors: เกศกมล ไทยทอง, 2517-
Advisors: นลิน นิลอุบล
สุรพงศ์ นวังคสัตถุศาสน์
วาสนา โตเลี้ยง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Naline.N@Chula.ac.th
Surapong.N@chula.ac.th
Vasana.C@chula.ac.th
Subjects: เอทานอล
การปนเปื้อนของจุลินทรีย์
น้ำตาล
การหมัก
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การปนเปื้อนของแบคทีเรียในระหว่างการหมักเอทานอลโดยยีสต์ Saccharomyces cerevisiae ในระดับอุตสาหกรรม ส่วนหนึ่งเป็นผลจากภาวะไม่ปลอดเชื้อของกากน้ำตาลที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการหมัก และอีกส่วนหนึ่งอาจมาจากการปนเปื้อนในกระบวนการหมัก จึงทำการแยกและคัดเลือกแบคทีเรียที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ในกากน้ำตาลและจากน้ำหมัก โดยอาศัยลักษณะการเจริญบนผิวและภายในอาหารเลี้ยงเชื้อชนิดแข็งเป็นเกณฑ์เบื้องต้นในการแบ่งกลุ่ม พบว่าแบคทีเรียที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ในกากน้ำตาลจากแหล่งต่างๆ ส่วนมากเป็นแบคทีเรียชนิดสร้างสปอร์ที่อยู่ในสกุล Bacillus แต่เมื่อนำมาเลี้ยงในอาหารกากน้ำตาลสำหรับหมักเอทานอล แบคทีเรียเหล่านี้เจริญได้ไม่ดี ดังนั้นแบคทีเรียที่ปนเปื้อนในกากน้ำตาลไม่น่าจะเป็นปัญหาในกระบวนการหมักเอทานอล จึงได้ตรวจสอบแบคทีเรียปนเปื้อนที่เกิดขึ้นในระหว่างการหมัก โดยแยกและคัดเลือกแบคทีเรียปนเปื้อนที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ในน้ำหมัก พบแบคทีเรียที่ไม่สร้างสปอร์ ไม่สร้างเอนไซม์คะตาเลส และออกซิเดส สามารถจัดอยู่ในสกุล Lactobacillus ให้ชื่อว่าแบคทีเรีย J แบคทีเรียดังกล่าวเจริญได้ดีในอาหารกากน้ำตาล เมื่อทำการแปรผันความเข้มข้นของกากน้ำตาลเริ่มต้นในอาหารสำหรับหมักเอทานอลเป็น 60, 120, 180 และ 220 กรัมต่อลิตร พบว่าแบคทีเรีย J มีผลทำให้ปริมาณเอทานอลลดต่ำลงเมื่อหมักในอาหารกากน้ำตาลที่มีความเข้มข้นต่ำที่ 60 และ 120 กรัมต่อลิตร เนื่องจากที่ความเข้มข้นดังกล่าวปริมาณน้ำตาลมีจำกัดจึงมีการแข่งขันกันใช้น้ำตาลระหว่างยีสต์และแบคทีเรีย J แต่ที่ความเข้มข้น 180 และ 220 กรัมต่อลิตร แบคทีเรีย J ไม่ทำให้การผลิตเอทานอลลดลง โดยที่ความเข้มข้นดังกล่าวจะทำให้อัตราการเจริญจำเพาะของยีสต์และแบคทีเรีย J ลดลง แต่ไม่มีผลทำให้อัตราการผลิตเอทานอลจำเพาะลดลง
Other Abstract: Bacterial contamination in industrial ethanol fermentation by Saccharomyces cerevisiae was due to the use of non-sterile molasses as a raw material and also the contamination during fermentation process. The present work reported on isolation of major contaminated bacteria in molasses and also in fermentation broth and using bacterial growth characters inside and on the surface of solid medium as a preliminary classification. It was found that the major contaminated bacteria in molasses was spore-forming bacteria belonging to genus Bacillus. However, it had poor growth in molasses medium, therefore, it had less effect on ethanol fermentation. The contaminated bacteria in fermentation broth was non-spore-forming bacteria with no catalase and oxidase activity. It was classified to be in genus Lactobacillus and designated as Bacteria J. It had good growth in molasses medium. Ethanol fermentation in the presence of varied initial molasses concentrations of 60, 120, 180 and 220 g/l showed that Bacteria J reducedethanol production when molasses at 60 and 120 g/l were used. This was due to the competition between the yeast and Bacteria J for sugar utilization. However, at higher concentration of 180 and 220 g/l, Bacteria J had no effect on ethanol production and on specific ethanol production rate although the specific growth rates of both yeast and the bacteria were reduced
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีชีวภาพ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3945
ISBN: 9743347844
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kedkamon.pdf6.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.