Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3963
Title: การวิเคราะห์ปัจจัยที่สงผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน ที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อการสอน
Other Titles: An analysis of factors affecting the affectiveness of the schools using English as a medium of instruction
Authors: สุทธิพงศ์ ยงค์กมล
Advisors: อมรชัย ตันติเมธ
ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Amornchai.T@chula.ac.th
Taweewat.p@chula.ac.th
Subjects: การจัดการศึกษา
ประสิทธิผลองค์การ
เทคนิคเดลฟาย
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน ที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อการสอนด้วยการพัฒนาปัจจัยที่ส่งผล และตรวจสอบปัจจัยที่ส่งผลด้วยกระบวนการเทคนิคเดลฟาย ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชน ที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อการสอนมี 12 ด้าน และรายการสำคัญที่สุดของปัจจัยแต่ละด้านมีดังนี้ คือ 1) โครงสร้างองค์การ : การกำหนดบทบาทหน้าที่และการประสานงาน 2) เทคโนโลยีองค์การ : เทคโนโลยีเพื่อการดำเนินงานและประสานงาน 3) วัฒนธรรมองค์การ : การถ่ายทอดวัฒนธรรมด้วยการอบรมบุคลากร 4) บรรยากาศองค์การ : การทำงานเป็นทีมสัมพันธ์ 5) การรับรู้ของบุคลากร : การรับรู้ในบทบาทหน้าที่และกฎระเบียบ 6) ทัศนคติและค่านิยมของบุคลากร : ความมุ่งมั่นจริงจังต่อความสำเร็จของงานและความพึงพอใจงาน 7) บุคลิกภาพของบุคลากร : บุคลิกภาพที่เหมาะสมกับหน้าที่ 8) การเรียนรู้ของบุคลากร : กระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา 9) การจูงใจของบุคลากร : การมอบหมายงานที่เหมาะสมกับลักษณะของแต่ละคน 10) การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ : ความสอดคล้องระหว่างเป้าหมายกับทรัพยากร 11) การกำหนดกลยุทธ์ : การจัดทำวัตถุประสงค์ทั้งในส่วนที่ใช้ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้อย่างสอดคล้องกับเป้าหมายโรงเรียน 12) การปฏิบัติตามกลยุทธ์ : การเลือกบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ และการกำกับติดตามตรวจสอบการใช้งบประมาณให้เกิดประโยชน์ ทุกรายการปัจจัยทั้ง 12 ด้าน เป็นรายการที่ผู้เชี่ยวชาญในกระบวนการเทคนิคเดลฟาย มีความเห็นสอดคล้องกันว่าส่งผลต่อประสิทธิผลในระดับมากและมากที่สุด ยกเว้นในปัจจัยด้านบุคลิกภาพของบุคลากรเท่านั้น ที่ไม่มีรายการใดส่งผลต่อประสิทธิผลในระดับมากที่สุด
Other Abstract: To analyze the factors affecting the effectiveness of the schools using English as a medium of instruction by studying the factors and validating with the experts in the Delphi Technique process. The results can be summarized as follows. There were 12 factors affecting the effectiveness of the schools using English as a medium of instruction and the most important items of each factor are as follows : 1) Organizational Structure : Formulation of roles, functions an co-ordination. 2) Organizational Technology : Technology for management and co-ordination within schools. 3) Organizational Culture : Culture transmission by staff training and development. 4) Organizational Climate : Teamwork relation. 5) Perception of Personnel : Roles, function, and rules. 6) Attitude and Value of Personnel : Determination to make a success. 7) Personality of Personnel : Personnel processing appropriate professionalities. 8) Learning of Personel : The continuous and constant learning process for self-development. 9) Motivationof personnel : Job assignment appropriate to individual personality. 10) Strategic Analysis : Aims conforming to resources. 11) Strategy formulation : Setting up objectives both in Thai and English to conform the aims of schools 12) Strategy Implement : The selection of personnel with qualification and checking and following up the use of school budgetay provision. The experts agreed that all factors affected the effectiveness at high and highest levels, except that only the factors relating the personality of personal did not have any effects on the highest level
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3963
ISBN: 9741303874
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sutthipong.pdf5.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.