Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/39873
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนฤมล อรุโณทัย-
dc.contributor.authorปิยาพร อรุณพงษ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.coverage.spatialนครพนม-
dc.date.accessioned2014-02-27T01:50:15Z-
dc.date.available2014-02-27T01:50:15Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/39873-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษามิติทางวัฒนธรรมในการจัดการทรัพยากรลุ่มน้ำ 2) วิเคราะห์การปรับตัวต่อระบบความสัมพันธ์ทางสังคมและวัฒนธรรมภายใต้เงื่อนไขและบริบทที่แตกต่างกันในการจัดการทรัพยากรลุ่มน้ำสงคราม 3) สังเคราะห์วัฒนธรรมที่เป็นแบบแผนในการดำเนินงานการพัฒนา โดยเฉพาะในด้านการจัดการทรัพยากรลุ่มน้ำ 4) เสนอแนะแนวทางในการจัดการทรัพยากร และมิติของการพัฒนาที่สอดคล้องกับบริบทของสังคมและความยั่งยืน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยการสังเกต การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) และการเข้าร่วมประชุมสัมมนาต่างๆที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า วิถีชีวิตของชุมชนท่าบ่อมีความสัมพันธ์กับทรัพยากรลุ่มน้ำสงคราม ชุมชนอยู่กับฐานทรัพยากรธรรมชาติ โดยจัดความสัมพันธ์ในลักษณะที่ถือได้ว่าเป็น “สิทธิชุมชน” ที่ได้ปฏิบัติสืบทอดกันมาแต่โบราณ ซึ่งเป็นกระบวนการที่สัมพันธ์กันขององค์ประกอบด้านภูมิปัญญาในการเข้าถึง ใช้ประโยชน์ และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดจนรวมไปถึงองค์ประกอบด้านอำนาจของชุมชนในการจัดการดูแลเรื่องการใช้ทรัพยากร ทรัพยากรธรรมชาติบ้านท่าบ่อได้ถูกใช้ประโยชน์อย่างเข้มข้น ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากการพัฒนาประเทศที่เชื่อมโยงท้องถิ่นเข้าเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาระบบเศรษฐกิจระดับมหภาค การใช้ทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนจึงเปลี่ยนเป็นเพื่อการค้าแทนการยังชีพ วิถีการผลิตเน้นการแข่งขัน พึ่งพาตลาดภายนอกแทนการพึ่งพาตนเอง พึ่งพาเทคโนโลยีแทนภูมิปัญญาท้องถิ่น พึ่งพาเครื่องจักรแทนแรงงานในชุมชน และพึ่งพาทุนภายนอกแทนการพึ่งพิงกันในชุมชน แต่จากสภาวะการณ์ที่ความเป็นชุมชนเริ่มสูญหาย ความสัมพันธ์ในชุมชนถูกทำลาย และทรัพยากรไม่พอเพียงในการเลี้ยงชีพได้เหมือนเดิม ในอีกทางหนึ่งก็เป็นสิ่งกระตุ้นให้ชุมชนเกิดความตื่นตัว และหันมาให้ความสำคัญกับการใช้ประโยชน์จากความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรอย่างรู้คุณค่าเพื่อให้มีใช้ตลอดไป ทั้งในรูปแบบที่เป็นการนำการจัดการแบบพื้นบ้าน เช่น การทำวังปลาเพื่อการอนุรักษ์ การจัดประเพณีไหว้ผีปู่ตาเพื่อตอกย้ำการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติอย่างรู้คุณค่า ตลอดจนมีการเรียนรู้การจัดการทรัพยากรที่เป็นทางการมากขึ้น เช่น งานวิจัยไทบ้านที่เป็นการสร้างความรู้และเป็นการสร้างอำนาจต่อรองในการจัดการทรัพยากรโดยชุมชน การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติร่วมกัน ทั้งนี้จะเห็นได้ว่า แนวทางในการจัดการทรัพยากรที่เหมาะสมนั้นเกิดจากวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่นที่เป็นผลผลิตจากการสร้างสรรค์ “วัฒนธรรมแห่งการอยู่ร่วมกัน” ก่อให้เกิดภูมิปัญญา ภูมิคุ้มกัน และภูมิสังคมในชุมชน ทั้งความสัมพันธ์ระหว่างคนในชุมชนและคนที่มีวิถีชีวิตอยู่บนลุ่มน้ำเดียวกัน ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับธรรมชาติ และความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ ซึ่งก่อเกิดเป็นมิติแห่งความสัมพันธ์ ผ่านการขัดเกลา หล่อหลอม ถ่ายทอด ยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมารุ่นต่อรุ่น จนกลายมาเป็นมิติทางวัฒนธรรมที่นำไปสู่การจัดระบบ ระเบียบ เกิดกฎกติกาในการอยู่ร่วมกัน แนวทางของ “มิติทางวัฒนธรรม” จึงเป็นแนวทางแห่งการอยู่ร่วมกันบนระบบความสัมพันธ์ของสังคมและโครงสร้างทางสังคมที่ปฏิบัติ สืบทอดวัฒนธรรมในการจัดการทรัพยากรตั้งแต่อดีตและมีการปรับตัวภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันที่ทรัพยากรมีอยู่อย่างจำกัดen_US
dc.description.abstractalternativeThe aims of this research are 1)to study on the cultural dimensions in Songkhram Lower River Basin related to the resource management 2) to analyze the adjustment of resource management and of socio-cultural system within the different conditions and contexts 3) to synthesize the cultures which are the patterns related to the process of development, especially in the resource management of the River Basin 4) to provide the suggestions on resource management and the dimension of development that is in the line with social and sustainable context. This research is a qualitative study. The information is collected by observation, in-depth interviews with key informants, and attending seminars and conferences related to this research. This research finds that the way life of Tha-Bor people is related to the resource of Songkhram River Basin. The community depends on the natural resource. The relation called “Community Right” has been practiced since the ancient times. This is the process that relates to the components of the accessibility of the wisdom, the use and the conservation of the natural resource, and the community power used in managing and taking care of that resource. The natural resources in Tha-Bor have been exploited intensively. The reason is partly from the national development that links the local with the Macro-economic system. This leads community to change from subsistence production to commercial production. Subsistence, local wisdom, exchange labor in community, and community interdependency are replaced by external markets, technology, machines, and external capital. On one hand, senses of community and the relationship among people in the community are gradually destroyed. And, natural resource is not enough. However, on the other hand, these conditions make the community active and realize in the importance of plentiful resources. It is understood that natural resource have to be sustained and preserved for the use in the future. To emphasize the realization on the importance of the resource, the local patterns of management--such as Wang-Pla (aimed to conserve fish in the river) and Wai-Pee-Pho-Pee-Ta (it is meant pay respect to ancestors)—are revived. People have learnt more on how to manage natural resources formally. The Thai-Baan Research has spread local knowledge and increased community bargaining power in resource management. The networks for cooperation in collective natural resource management are established. It is noticed that the suitable way of resource management has been formed from the local way of life, which is creatively produced “the culture of living together”. This has established local wisdom, social protection, and knowledge-based society within the community. It creates and fosters the people relations in the community as well as people living in the same river basin. The relations between human and nature and between human and the super-natural has been socialized, transferred and handed down from generation to generation. Therefore, the “cultural approach” of resource management is the way for living together in cultural dimension which sets up the system of living, the regulations, and the rules on the basis of social relation system and social structure. The natural resource management has been transferred from generation to generation and adapted to living in limited resources.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.657-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectพื้นที่การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ -- ไทย -- นครพนมen_US
dc.subjectพื้นที่การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ -- แง่สังคมen_US
dc.subjectNatural resources management areas -- Thailand -- Nakhon Phanomen_US
dc.subjectNatural resources management areas -- Social aspectsen_US
dc.titleมิติทางวัฒนธรรมในการจัดการทรัพยากรลุ่มน้ำสงครามตอนล่าง : กรณีศึกษาชุมชนท่าบ่อ อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนมen_US
dc.title.alternativeCultural dimensions in Songkharm lower river basin resource management : a case study of Thabor community, Srisongkhram district, Nakhon Phanom provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineพัฒนามนุษย์และสังคมen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorhnarumon@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.657-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Piyaporn_Ar.pdf4.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.