Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4011
Title: อิทธิพลของแบบการคิดและโครงสร้างของโปรแกรมการเรียนการสอนผ่านเว็บ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาพื้นฐานคอมพิวเตอร์ เพื่อการศึกษาของนิสิตระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Other Titles: Effects of cognitive styles and structures of web-based instruction program upon learning achievement in foundation of computer for education course for undergraduate students, Faculty of Education, Chulalongkorn University
Authors: ณัฐกร สงคราม, 2516-
Advisors: ประศักดิ์ หอมสนิท
วิชุดา รัตนเพียร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Prasak.h@car.chula.ac.th
Vichuda.R@chula.ac.th
Subjects: อินเตอร์เน็ต
การเรียนการสอนผ่านเว็บ
เวิลด์ไวด์เว็บ
แบบการคิด
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาอิทธิพลของแบบการคิดและโครงสร้าง ของโปรแกรมการเรียนการสอนผ่านเว็บ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาพื้นฐานคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา ของนิสิตระดับ ปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้มาจากการสุ่มจำนวนนิสิตระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2543 ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาพื้นฐานคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา (Foundation of Computer for Education) ทั้งสิ้น 186 คน จำแนกแบบการคิดของนิสิตทั้งหมดด้วยแบบทดสอบ GEFT จากนั้นจึงสุ่มอย่างง่ายจากกลุ่มที่มีแบบการคิดแบบฟิลด์ ดิเพนเดนท์ (Field Dependent: FD) และแบบฟิลด์ อินดิเพนเดนท์ (Field Independent: FI) มากลุ่มละ 45 คน จนได้กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองจำนวนทั้งสิ้น 90 คน แล้วจึงแบ่งออกเป็น 6 กลุ่มทดลอง กลุ่มละ 15 คน ดังนี้ 1) ผู้เรียนที่มีแบบการคิดแบบ FD เรียนจากบทเรียน ที่มีโครงสร้างแบบเรียงลำดับ 2) ผู้เรียนที่มีแบบการคิดแบบ FD เรียนจากบทเรียนที่มีโครงสร้างแบบลำดับขั้น 3) ผู้เรียนที่มีแบบการคิดแบบ FD เรียนจากบทเรียนที่มีโครงสร้างแบบใยแมงมุม 4) ผู้เรียนที่มีแบบการคิดแบบ FI เรียนจากบทเรียนที่มีโครงสร้างแบบเรียงลำดับ 5) ผู้เรียนที่มีแบบการคิดแบบ FI เรียนจากบทเรียน ที่มีโครงสร้างแบบลำดับขั้น 6) ผู้เรียนที่มีแบบการคิดแบบ FI เรียนจากบทเรียน ที่มีโครงสร้างแบบใยแมงมุม นำผลที่ได้จากการทดลองมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วย วิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (Analysis of Covariance : ANCOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างที่มีแบบการคิดต่างกัน เมื่อเรียนจากโปรแกรมการเรียนการสอนผ่านเว็บ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. กลุ่มตัวอย่างที่เรียนจากโปรแกรมการเรียนการสอนผ่านเว็บ ที่มีโครงสร้างต่างกันมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. กลุ่มตัวอย่างที่มีแบบการคิดต่างกัน เมื่อเรียนจากโปรแกรมการเรียนการสอนผ่านเว็บที่มีโครงสร้างต่างกัน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: To study effects of cognitive styles and structures of web-based instruction program upon learning achievement in foundation of computer for education course for undergraduate students, Faculty of Education, Chulalongkorn University. The samples were randomized from 186 faculty of education Chulalongkorn University first year students registered in the foundation of computer for education course, academic year 2000. The samples of this research were 90 students examined by the Group Embedded Figures Test (GEFT), and were randomized from students with Field Dependent group and students with Field Independent group, each group consisted of 45 students. Samples were divided into six experimental groups, each group consisted of 15 students as follows: 1) students with FD studied from sequential structure program 2) students with FD studied from hierarchical structure program 3) students with FD studied from web structure program 4) students with FI studied from sequential structure program 5) students with FI studied from hierarchical structure program 6) students with FI studied from web structure program. The data were analyzed by using Analysis of Covariance (ANCOVA). The findings were as follows: 1. There was no statistical significant difference at .05 level on learning achievement of students with different cognitive styles learning from web-based instruction program. 2. There was no statistical significant differnce at .05 level on learning achievement of students learning from different structures of web-based instruction program. 3. There was no statistical significant difference at .05 level on learning achievement of students with different cognitive styles learning from different structures of web-based instruction program.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: โสตทัศนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4011
ISBN: 9741305427
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nutthakorn.pdf3.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.