Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/40146
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุดาพร ลักษณียนาวิน
dc.contributor.authorวิบูลย์ ธานสกุล
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2014-03-04T02:06:07Z
dc.date.available2014-03-04T02:06:07Z
dc.date.issued2531
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/40146
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาลักษณะทางกลสัทศาสตร์อันได้แก่ การบิดเบนของความถี่กำทอน ค่าระยะเวลา และค่าความเข้มของเสียงพยัญชนะกักในภาษาไทย จากการศึกษาวิเคราะห์แผ่นภาพคลื่นเสียงและแผ่นภาพมิงโกแกรม ลักษณะทางกลสัทศาสตร์ของพยัญชนะกักทั้ง 10 หน่วยเสียงในภาษาไทย จะอธิบายโดยจำแนกพยัญชนะกักเหล่านี้ตามลักษณะต่างที่สำคัญ 3 ลักษณะคือ1.พยัญชนะกักที่ต่างกันโดยลักษณะการทำงานเส้นเสียง ได้แก่ พยัญชนะกักก้อง ได้แก่ หน่วยเสียง /b,d/ และพยัญชนะกักไม่ก้อง ได้แก่หน่วยเสียง /p,t,k,ph,th,kh,c,ch/ 2.พยัญชนะกักที่ต่างกันโดยลักษณะการดัดแปลงลมในช่องปาก ได้แก่พยัญชนะกักระเบิด /b, d, p, t, k, ph, th, kh/ พยัญชนะกักเสียดแทรก /c, ch/ และพยัญชนะกักอุบ /-p, -t, -k/ 3. พยัญชนะกักที่ต่างกันโดยฐานที่เกิดของเสียง ได้แก่พยัญชนะฐานริมฝีปาก /b, p, ph/ พยัญชนะฐานปุ่มเหงือก /d, t, th/ พยัญชนะฐานเพดานแข็ง-ปุ่มเหงือก /c, ch/ และพยัญชนะฐานเพดานอ่อน /k, kh/ งานวิจัยนี้ได้ศึกษาลักษณะเชิงกลสัทศาสตร์ของพยัญชนะกักทั้ง 10 หน่วย ในการเปล่งเสียง ในช่วงเริ่มปิดกักลม ช่วงกักลม และช่วงระบายลม เมื่อพยัญชนะกักปรากฏร่วมกับสระ /i:,a:,u:/ในตำแหน่งต้นคำทดสอบ ระหว่างสระ และในตำแหน่งท้ายคำทดสอบ ผลจากการศึกษาสรุปได้ดังนี้ 1.พยัญชนะกักที่มีลักษณะเส้นเสียงต่างกัน มีลักษณะเชิงกลต่างกันดังนี้ คือ –พยัญชนะกักไม่ก้องมีค่าระยะเวลามากกว่าพยัญชนะกักก้อง –ระหว่างพยัญชนะกักไม่ก้อง พยัญชนะพ่นลม มีค่าระยะเวลามากกว่าพยัญชนะไม่พ่นลม –ลักษณะคลื่นเสียงและค่าความเข้มของเสียงของพยัญชนะกักก้องและพยัญชนะกักไม่ก้องแตกต่างกันมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงกักลม 2.พยัญชนะกักอุบมีค่าทางกลแตกต่างจากพยัญชนะกักระเบิดและพยัญชนะกักเสียดแทรกมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าระยะเวลาซึ่งน้อยกว่าในพยัญชนะกลุ่มอื่นมาก 3.พยัญชนะกักที่ฐานต่างกัน มีค่าลักษณะเชิงกลต่างกันอย่างเด่นชัด พอสรุปได้ดังนี้ – พยัญชนะกักที่มีฐานที่เกิดอยู่ส่วนนอกของช่องทางเดินเสียง มีค่าความเข้มสูงกว่าพยัญชนะกักที่มีฐานที่เกิดอยู่ส่วนในของช่องทางเดินเสียง – พยัญชนะกักที่มีฐานเป็นส่วนขอบ (ริมฝีปาก,เพดานอ่อน) มีการบิดเบนของค่าความถี่กำทอนในระยะเชื่อมต่อมากกว่า พยัญชนะกักที่มีฐานที่เกิดเป็นส่วนกลาง (ปุ่มเหงือก,เพดานแข็ง)
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this thesis is to study the acoustic characteristics, i.e., F-transition, duration and intensity of stop consonants in Thai. The study is based on spectrographic and mingographic analysis. The acoustic descriptions of stop consonants in Thai are given by considering 3 important features. 1. Stops with different states of the glottis: voiced stops/b, d/ and two categories of voiceless stops namely aspirated stops/ph, th, ch, kh/ and unaspirated ones/p, t, c, k/. 2.Stops with different articulations: plosives/b, d, p, tk, ph, th, kh/,affricated stops/c, ch/, non-plosives/-p,-t,-k/. 3. Stops with different places of articulation: bilabial stops/b, p, ph/, alveolar stops/d, t, th/, alveolopalatal stops/c, ch/, velar stops/k, kh/. The ten consonants are studied in different phonetic contexts: (1) with the three vowels/i:,a:,u:/ and (2) initially, intervocalically and finally in words. Three different phases of stop consonants, shutting, closure and releasing, are investigated. The results of the study are given below. 1. Consonants with different states of the glottis differ from one another in these respects: -the voiceless stops have longer durations than the voiced stops –between voiceless stops, voiceless aspirated stops have a longer duration than voiceless unaspirated ones. –Voiced stops and voiceless stops differ from one another by their waveform and intensity. 2. Non-plosives differ remarkably from plosives and affricated stops, especially in terms of duration. 3. Stops with different places of articulation differ remarkably from one another, especially in terms of intensity and F2-transition frequencies –The more front the place of articulation the higher the intensity of the stops. –The F2-transitions of the non peripheral stops (alveolar and alveolopalatal) in different phonetic contexts vary distinctively as compared to the peripheral stops (labial and velar)
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleการวิเคราะห์พยัญชนะกักในภาษาไทยเชิงกลสัทศาสตร์en_US
dc.title.alternativeAn acoustic analysis of stop consonants in Thaien_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineภาษาศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSudaporn.L@chula.ac.th
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wiboon_Ta.pdf4.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.