Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/40740
Title: | ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ ของนักศึกษาวิทยาลัยสังกัดกรมอาชีวศึกษาในภาคใต้ตอนบน ประเทศไทย |
Other Titles: | Selected factors related to cigarette smoking among vocational students of upper southern area, Thailand |
Authors: | ปรียาพร ชูเอียด |
Advisors: | นรลักขณ์ เอื้อกิจ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
Advisor's Email: | Noraluk.U@Chula.ac.th |
Subjects: | การสูบบุหรี่ นักเรียนอาชีวศึกษา -- ไทย (ภาคใต้) Smoking Vocational school students -- Thailand, Southern |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ปัจจุบันวัยรุ่นมีแนวโน้มสูบบุหรี่มากขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่การใช้ยาเสพติดที่รุนแรงกว่า การวิจัยครั้งนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง เพศ อิทธิพลของกลุ่มเพื่อน ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง การรับรู้สมรรถนะแห่งตน ความคาดหวังในผลลัพธ์ในทางบวก ความคาดหวังในผลลัพธ์ในทางลบ กับการสูบบุหรี่ รวมถึงศึกษาอำนาจในการทำนายของ เพศ อิทธิพลของกลุ่มเพื่อน ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง การรับรู้สมรรถนะแห่งตน ความคาดหวังในผลลัพธ์ในทางบวก ความคาดหวังในผลลัพธ์ในทางลบ ต่อการสูบบุหรี่ ของนักศึกษา วิทยาลัยสังกัดกรมอาชีวศึกษา ในเขตภาคใต้ตอนบน กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาปวช. 1 – 3 และมีอายุไม่เกิน 18 ปีบริบูรณ์ จำนวน 400 คน เลือกสถานศึกษาโดยวิธีการแบ่งชั้น สุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินอิทธิพลของกลุ่มเพื่อน แบบประเมินความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตน แบบสอบถามความคาดหวังในผลลัพธ์เกี่ยวกับการสูบบุหรี่ในทางบวก แบบสอบถามความคาดหวังในผลลัพธ์เกี่ยวกับการสูบบุหรี่ในทางลบ และแบบสอบถามเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน และหาความเที่ยงจากการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของ ครอนบาค ได้ค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.71, 0.73, 0.81, 0.92 และ 0.86 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่มีอายุ 17 ปี (mean = 16.82, SD = 0.98) ชาย และหญิง จำนวนเท่ากันคือ 200 คน ไม่เคยสูบบุหรี่เลย 175 คน (ร้อยละ 43.75) และเคยสูบบุหรี่ 225 คน (ร้อยละ 56.25) 2. กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนอิทธิพลของกลุ่มเพื่อนอยู่ในระดับปานกลาง (mean = 18.91, SD = 3.46) คะแนนการเห็น คุณค่าในตนเองอยู่ในระดับปานกลาง (mean = 77.43, SD = 10.61) และคะแนนความคาดหวังในผลลัพธ์ในทางบวก อยู่ในระดับต่ำ (mean = 15.34, SD = 7.71) ส่วนคะแนนของการรับรู้สมรรถนะแห่งตน อยู่ในระดับสูง (mean = 25.46, SD = 4.73) และคะแนนความคาดหวังในผลลัพธ์ในทางลบ อยู่ในระดับสูง (mean = 23.85, SD = 5.74) 3. เพศ อิทธิพลของกลุ่มเพื่อน และความคาดหวังในผลลัพธ์ในทางบวก มีความสัมพันธ์ในทางบวกกับการสูบบุหรี่ ของนักศึกษาเป็นกลุ่มตัวอย่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (Chi –Square = 90.38, r = 0.488, 0.455 ตามลำดับ) ขณะที่การรับรู้สมรรถนะแห่งตน และความคาดหวังในผลลัพธ์ในทางลบ มีความสัมพันธ์ในทางลบกับการสูบบุหรี่ ของนักศึกษาที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (r = -0.372, -0.271 ตามลำดับ) ส่วนการเห็นคุณค่าในตนเอง มีความสัมพันธ์ในทางลบกับการสูบบุหรี่ ของนักศึกษาที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -0.104) 4. เพศ อิทธิพลของกลุ่มเพื่อน การรับรู้สมรรถนะแห่งตน และความคาดหวังในผลลัพธ์ในทางบวก ร่วมกันอธิบายความแปรผันของการสูบบุหรี่ได้ ร้อยละ 35.60 |
Other Abstract: | Adolescence now a day has a tendency to smoke cigarette, that is the main factor to involve with more serious drug. This research aimed to study the relationship between sex, self-esteem, self-efficacy, positive outcome expectancies, negative outcome expectancies to cigarette smoking and also to predictive the power of sex, peer influence, self-esteem, self efficacy, positive outcome expectancies, and negative outcome expectancies to cigarette smoking among vocational students of upper southern area. The samples were 400 vocational students who studying in 1-3 level and had years of age less than 18. The institutions were chosen by stratified random. Simple random sampling was done. The instruments consisted of demographic data questionnaire, the peer influence assessment, the self-esteem assessment, the self-efficacy questionnaire, the positive outcome expectancies questionnaire, the negative outcome expectancies questionnaire, and the cigarette smoking questionnaire. A panel of five experts did the face validity. The reliability results using Alpha Cronbach’s coefficient of these questionnaires were 0.71, 0.73, 0.81, 0.92, and 0.86 respectively. The data were analyzed by using Descriptive statistics, Pearson Correlation Coefficient, and Multiple Regression with Enter method. The results revealed that: 1. The majority of the samples were 17 years old (mean = 16.82, SD = 0.98). Male and female were 200 equally. 175 of them had no smoking (43.75%) and 225 of them ever smoking (56.25%). 2. The samples had peer influence scores at moderate level (mean = 18.91, SD = 3.46). Self-esteem scores were moderate level (mean = 77.43, SD = 10.61), and positive outcome expectancies scores were lower level (mean = 15.34, SD = 7.71). While, self-efficacy scores were high level (mean = 25.46, SD = 4.73) and negative outcome expectancies scores were high level (mean = 23.85, SD = 5.74). 3. Sex, peer influence, and positive outcome expectancies were statistic significantly positive related to cigarette smoking of the samples at .001 level. (Chi –Square = 90.38, r = 0.488, 0.455, respectively). Self-efficacy and negative outcome expectancies were statistic significantly negative related to cigarette smoking at .001 level. (r = -0.372, -0.271, respectively). While, self-esteem was statistic significantly negative related to cigarette smoking at .05 level. (r = -0.104). 4. Sex, peer influence, self efficacy and positive outcome expectancies could be explained the variance of cigarette smoking (35.60%). |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 |
Degree Name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พยาบาลศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/40740 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1269 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2007.1269 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Preeyaporn_Chu.pdf | 1.35 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.