Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/40776
Title: | A Comparative study of the moon image in Chinese and Thai classical poetry |
Other Titles: | การศึกษาเปรียบเทียบจินตภาพ "ดวงจันทร์" ในกวีนิพนธ์โบราณจีนและกวีนิพนธ์โบราณไทย |
Authors: | Puriwan Waranusast |
Email: | No information provided |
Advisors: | Suree Choonharuangdej Prapin Manomaivibool |
Other author: | Chulalongkorn University. Faculty of Arts |
Advisor's Email: | No information provided |
Subjects: | Thai poetry Chinese poetry Moon -- In literature Imagery (Psychology) จินตภาพ กวีนิพนธ์ไทย กวีนิพนธ์จีน ดวงจันทร์ในวรรณคดี วรรณคดีเปรียบเทียบ Literature, Comparative -- Thai and Chinese |
Issue Date: | 2007 |
Publisher: | Chulalongkorn University |
Abstract: | 雖然中泰兩國共同擁有一輪月亮,但因爲不同的文化風俗、思想觀念、地理環境、氣候季節等方面,所以中泰古典詩詞中的月亮意象都反映了不同的感情,不同的想法。本論文的研究目的是探討和對比中泰古典詩詞中的月亮意象。本論文採用平行研究的方法,通過對中泰古典詩詞中月亮意象的比較,加深對月亮意象的理解,總結出中泰古典詩詞中月亮意象的“同”和“異”,並對產生這種同異的原因進行分析。本研究結果發現,月亮在中泰古典詩詞中形成了豐富的意象,月亮都是美麗的象徵,同時也代表女性,但是泰國在審美方面的月亮意象有一個特點就是,不管是男人或是女人都可以用月亮來比喻。中國的月亮意象最主要是表達丈夫愛人、親朋好友間的離別相思,還能表示懷鄉戀土、寂寞失意之感,但泰國的月亮意象,雖然能代表離別相思、寂寞孤獨的感情,但泰國的月亮意象主要是表達男女之間的愛情,不管是詩人表達對遠方愛人的懷念還是表達高不可攀的愛情失意。月亮除了能表達人類的情感,它還能表現人類宇宙人生的思想。中國古人認爲月亮是永恒的但人生卻是有限的,月能缺而又復但人的生命,死卻不能復生了。但從泰國的思想觀念來看,月亮不是宇宙永恒的事物 中泰古典詩詞中月亮意象表現的方式能分爲三個層次,就是意象的直接傳達、意象的間接傳達和意象的繼起傳達。中泰古典詩詞中的月亮意象的直接傳達大部分都出現在詩人描寫美麗的風景中。意象的間接傳達可以分爲兩個方面,就是以月為本體與以月為喻體。泰國古典詩詞中雖然有月為本體的方法,但詩的數量卻很少,詩詞最多的是在月為喻體方面。意象的繼起傳達在泰國古典詩詞中很少。中泰詩詞中月的形態與主體的感發分爲兩種“圓月”和“缺月”。中國人對“圓月”感到美滿、團圓、清涼、溫柔,而“缺月”卻使人感到離愁、傷感。泰國人對 “圓月”感到美麗、愉快,同時也表示女人的美貌。但對 “缺月”,泰國人把它比作美女的眉毛,或者比作黑暗的現象、人類的黑心薄情,或者認爲虧月與神術有關。中泰古典詩詞中的月與其他意象的組構。本論文選取了中國古典詩詞中最常見的“月與雲”、“月與水”、“月與山”和“月與酒”四組意象的組合。泰國的古典詩詞中也有“月與雲”、“月與水”和“月與山”,但卻沒有“月與酒”。 |
Other Abstract: | ศึกษาการใช้จินตภาพ “ดวงจันทร์” ในกวีนิพนธ์โบราณจีนและกวีนิพนธ์โบราณไทย และเปรียบเทียบการใช้จินตภาพ “ดวงจันทร์” ในกวีนิพนธ์โบราณจีนและไทย ผลการวิจัยพบว่า กวีนิพนธ์โบราณจีนและไทย ต่างใช้จินตภาพ “ดวงจันทร์” ในการชมความงาม ทั้งการชมธรรมชาติและการชมความงามของสตรี แต่ที่แตกต่างอย่างชัดเจนคือ ในกวีนิพนธ์โบราณของไทย ดวงจันทร์สามารถใช้เปรียบเทียบกับความงามของบุรุษได้เช่นกัน นอกจากการชมความงามแล้ว จินตภาพ “ดวงจันทร์” ในกวีนิพนธ์โบราณจีนยังสามารถเป็นสื่อแสดงอารมณ์ถึงการพลัดพราก และการคิดถึงทั้งจากคนรักและเพื่อน การคิดถึงถิ่นฐานบ้านเกิด ความโดดเดี่ยวเดียวดาย และความผิดหวัง ส่วนจินตภาพ “ดวงจันทร์” ในกวีนิพนธ์โบราณไทย ถึงแม้จะมีการใช้ดวงจันทร์เป็นสื่อแสดงอารมณ์ของการพลัดพราก การคิดถึงและความผิดหวัง หากแต่เนื้อหาส่วนใหญ่จะเน้นไปทางด้านความรัก ในด้านความเชื่อเกี่ยวกับชีวิตและจักรวาล “ดวงจันทร์” ยังสามารถเป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นถึงความคิดของชาวจีนซึ่งเชื่อว่า ชีวิตมนุษย์นั้นแสนสั้นหากแต่ดวงจันทร์นั้นกลับไม่เปลี่ยนแปลง คงอยู่ชั่วนิรันดร์ ซึ่งแตกต่างจากความเชื่อของไทยที่ว่า ในจักรวาลนี้ไม่มีสิ่งใดที่จะคงอยู่ได้นิรันดร วิธีการใช้จินตภาพ “ดวงจันทร์” ในกวีนิพนธ์โบราณจีนและไทยนั้น แบ่งได้ 3 วิธีคือ การกล่าวถึงโดยตรง การกล่าวถึงโดยอ้อมและการกล่าวถึงโดยมีนัยแฝง ซึ่งในการกล่าวโดยตรง ส่วนใหญ่จะพบในการบรรยายความงามในธรรมชาติ การกล่าวโดยอ้อม จะใช้ในการเปรียบเทียบ “ดวงจันทร์” กับสิ่งต่างๆ ส่วนการกล่าวโดยมีนัยแฝงนั้น พบเห็นได้น้อยในกวีนิพนธ์โบราณของไทย ลักษณะของ”ดวงจันทร์” ที่นิยมนำมาใช้คือ “จันทร์เต็มดวง” และ “จันทร์ไม่เต็มดวง” ในกวีนิพนธ์โบราณจีน “จันทร์เต็มดวง” หมายถึง “การพร้อมหน้ากัน ความสมบูรณ์ และความอ่อนโยน” “จันทร์ไม่เต็มดวง” หมายถึง “การพลัดพรากและความโศกเศร้า” ส่วนกวีนิพนธ์โบราณไทย “จันทร์เต็มดวง” หมายถึง “สาวงามและคนรัก” “จันทร์ไม่เต็มดวง” สามารถใช้ชมความงาม และหมายถึง “ความมืดมิด ใจดำ” และพิธีที่เกี่ยวข้องกับไสยศาสตร์ สำหรับจินตภาพอื่นๆ ที่นิยมนำมาใช้ร่วมกับดวงจันทร์นั้น คัดเลือกมาจากจินตภาพที่พบมากที่สุดในกวีนิพนธ์โบราณของจีน ได้แก่ “ดวงจันทร์กับเมฆ” “ดวงจันทร์กับน้ำ” “ดวงจันทร์กับภูเขา” และ “ดวงจันทร์กับสุรา” ซึ่งใช้บรรยายทัศนียภาพที่งดงาม สื่ออารมณ์ของความเหงา การพลัดพรากและความคิดถึง |
Description: | Thesis (M.A.)--Chulalongkorn University, 2007 |
Degree Name: | Master of Arts |
Degree Level: | Master's Degree |
Degree Discipline: | Chinese as a Foreign Language |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/40776 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1795 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2007.1795 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Puriwan_Wa.pdf | 3.29 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.