Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4086
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวโรชา มหาชัย-
dc.contributor.advisorเกียรติ รักษ์รุ่งธรรม-
dc.contributor.authorสมชาย เหลืองจารุ, 2511--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2007-09-14T03:05:08Z-
dc.date.available2007-09-14T03:05:08Z-
dc.date.issued2542-
dc.identifier.isbn9743344357-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4086-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาถึงความแตกต่างของสามารถในการดูดซึมของลำไส้เล็กในผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่องที่มีภาวะ wasting syndrome และไม่มีภาวะ wasting syndrome วิธีการวิจัย: ผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่องจากเชื้อเอชไอวีในระยะมีอาการบ่งถึงภูมิคุ้มกันบกพร่องอายุตั้งแต่ 15-70 ปีที่มารับการรักษาในคลินิก immune โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยที่ไม่มีภาวะอุจจาระร่วมเรื้อรังและ/หรือไข้เรื้อรังได้แบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่มคือกลุ่มที่มีปัญหาน้ำหนักลดและกลุ่มที่ไม่มีปัญหาน้ำหนักลด แล้วทดสอบความสามารถในการดูดซึมของลำไส้เล็กโดยวิธีมาตรฐาน 25 gm D-xylose test ผลการวิจัย: ผู้ป่วยทั้งหมดจำนวน 32 รายโดยเป็นเพศชาย 21 รายและเพศหญิง 11 ราย มีอายุระหว่าง 25-50 ปี เป็นกลุ่มที่มีปัญหาน้ำหนักลด 18 รายและกลุ่มที่ไม่มีปัญหาน้ำหนักลด 14 ราย ผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มไม่พบมีความแตกต่างในเรื่องของอายุ, ดัชนีมวลรวมของร่างกาย, น้ำหนักตัว, ระดับ CD4 count, ระยะเวลาที่พบว่ามีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อเอชไอวีในเลือด, ระดับครีเอตินีนในเลือด, ระดับโปรตีนอัลบูมินในเลือด, ระดับไขมันไตรกรีเซอไรด์ในเลือด, การได้รับยาต้านไวรัสเอขไอวี, การได้รับยาปฏิชีวนะซัลฟาเพื่อป้องการติดเชื้อฉกฉวยโอกาส โดยที่ปริมาณน้ำตาล D-xylose ในผู้ป่วยกลุ่มที่มีและไม่มีปัญหาน้ำหนักลดเท่ากับ 3.96+-2.8 กรัมและ 5.95+-2.5 กรัมตามลำดับซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ค่าความน่าจะเป็นน้อยกว่า 0.05) ในการวิเคราะห์กลุ่มย่อยในผู้ป่วยกลุ่มที่ไม่มีปัญหาน้ำหนักลดพบว่าดัชนีมวลรวมของร่างกายมีความสัมพันธ์กับความสามารถในการดูดซึมของลำไส้เล็กโดยมีค่าสัมประสิทธิ์ความสัมพันธ์เท่ากับ 0.65 และค่าความน่าจะเป็นเท่ากับ 0.01 และดัชนีมวลรวมของร่างกายมีผลต่อความผิดปกติของการทำงานของลำไส้เล็กโดยมีค่าความน่าจะเป็นเท่ากับ 0.007 สรุป: ผลการทดสอบพบว่าความสามารถในการดูดซึมของลำไส้เล็กลดลงทั้งในกลุ่มผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่องจากเชื้อเอชไอวีที่ไม่มีอุจจาระร่วงเรื้อรังที่มีปัญหา wasting syndrome และ non-wasting syndrome ที่เริ่มมีน้ำหนักลดไม่มาก ความผิดปกติของการดูดซึมของลำไส้เล็กเป็นลักษณะที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่องจากเชื้อเอชไอวีที่มีปัญหา wasting ซึ่งตรวจด้วยวิธีมาตราฐาน 25 gm D-xylose test วิธีการนี้อาจใช้ในการทำนายถึงโอกาสเกิดการลดลงของน้ำหนักตัวของผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่องจากเชื้อเอชไอวีได้en
dc.description.abstractalternativeObjective : To compare the small bowel absorptive capacity in HIV patients with and without wasting syndrome. Method : HIV patients, 15-70 years of age, who attended at immunology clinic, Chulalongkorn University Hospital were included in this study. Those patients with chronic diarrhea and/or fever were excluded. These study subjects were classified into either the wasting group (group I) or the non-wasting group (group II). Intestinal absorptive capacity was assessed by using standard 25 gm oral D-xylose test. Results : Thirty-two HIV patients were enrolled in this study consisting of 11 females and 21 males whose ages ranging from 25-50 years. There were 18 and 14 patients in group I and group II, respectively. In both groups, the baseline data including; age, body mass index (BMI), CD4, count, duration of HIV seropositivity, serum creatinine, serum albumin, triglyceride level, antiretroviral treatment, co-trimoxazole prophylaxis were similar. Five-hour urine D-xylose were 3.96+-2.8 gram and 5.95+-2.5 gram in wasting group and non-wasting group, respectively (p<0.05). In subgroup analysis of group II, a significant correlation between BMI and absorptive capacity was observed. The correlation coefficient was 0.65 (p = 0.01). The changing of BMI had a significant effect on the intestinal absorptive capacity (p = 0.007). Conclusion : This study demonstrates that the intestinal absorptive capacity can be reduced in non-diarrheal, non-wasting HIV infected patients with early weight reduction as well as in non-diarrheal, wasting HIV infected patients. The abnormal absorptive capacity is a common phenomenon found in HIV patients with wasting syndrome as determined by standard 25 gm D-xylose test. This may be a useful test to predict the potential weight loss in HIV infected patients.en
dc.format.extent8581138 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการดูดซึมen
dc.subjectลำไส้เล็กen
dc.subjectผู้ติดเชื้อเอชไอวีen
dc.subjectน้ำหนักตัวen
dc.titleความสามารถในการดูดซึมของลำไส้เล็กในผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่อง จากเชื้อเอชไอวีที่มีและไม่มีปัญหาน้ำหนักลดen
dc.title.alternativeSmall intestinal absorptive capacity in HIV patients with and without wasting syndromeen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineอายุรศาสตร์en
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorfmedvmc@md.chula.ac.th, vmahachai@chula.com-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
somchai.pdf4.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.