Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41002
Title: ทัศนคติของผู้ชมที่มีต่อผู้แสดงบทดีและผู้แสดงบทร้ายในละครโทรทัศน์ ในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: The attitudes of audiences toward performers playing good and bad roles in television dramas in Bangkok Metropolis
Authors: จินตนา รุ่งเจริญ
Advisors: งามพิศ สัตย์สงวน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Ngampit.S@Chula.ac.th
Subjects: ทัศนคติ
ละครโทรทัศน์
นักแสดง
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยเรื่อง “ทัศนคติของผู้ชมที่มีต่อผู้แสดงบทดีและผู้แสดงบทร้ายในละครโทรทัศน์ในกรุงเทพมหานคร” ศึกษาทัศนคติเชิงบวกของผู้ชมละครโทรทัศน์เพื่อดูความแตกต่าง โดยใช้กรอบของสถานภาพทางชนชั้นเพื่อศึกษาตัวแปรทางสังคมวิทยา ซึ่งได้แก่ บทบาทการแสดง อายุ เพศ การศึกษา และรายได้ ระเบียบวิธีวิจัยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างตามจุดหมาย โดยมีประชากรตัวอย่างทั้งหมด 425 คน เลือกเฉพาะกลุ่มผู้ชมที่รับชมละครโทรทัศน์ในเขตกรุงเทพมหานครเป็นประจำเท่านั้น เทคนิคการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม รวมทั้งใช้เทคนิคการสัมภาษณ์ทางมานุษยวิทยา ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้ชมละครโทรทัศน์จะมีทัศนคติเชิงบวกต่อผู้แสดงบทดีมากกว่าผู้แสดงบทร้าย 2. ผู้ชมละครโทรทัศน์ที่มีสถานภาพทางชนชั้นสูงกว่า จะมีทัศนคติเชิงบวกต่อผู้แสดงบทดี และผู้แสดงบทร้ายน้อยกว่าผู้ชมละครโทรทัศน์ที่มีสถานภาพทางชนชั้นต่ำกว่า 3. ผู้ชมละครโทรทัศน์ที่มีอายุมากกว่า จะมีทัศนคติเชิงบวกต่อผู้แสดงบทดีและผู้แสดงบทร้าย ไม่แตกต่างไปจากผู้ชมละครโทรทัศน์ที่มีอายุน้อยกว่า 4. ผู้ชมละครโทรทัศน์ที่เป็นเพศชาย จะมีทัศนคติเชิงบวกต่อผู้แสดงบทดีและผู้แสดงบทร้าย น้อยกว่าผู้ชมละครโทรทัศน์ที่เป็นเพศหญิง 5. ผู้ชมละครโทรทัศน์ที่มีระดับการศึกษาสูงกว่าจะมีทัศนคติเชิงบวกต่อผู้แสดงบทดี และผู้แสดงบทร้ายน้อยกว่าผู้ชมละครโทรทัศน์ที่มีระดับการศึกษาต่ำกว่า 6. ผู้ชมละครโทรทัศน์ที่มีรายได้สูงกว่า จะมีทัศนคติเชิงบวกต่อผู้แสดงบทดีและผู้แสดงบทร้ายน้อยกว่าผู้ชมละครโทรทัศน์ที่มีรายได้ต่ำกว่า
Other Abstract: The research entitled, The attitudes of the audiences toward performers playing good and bad roles in television dramas in Bangkok Metropolis, was study the defferences of attitude of the audiences using socio-economic status as framework such as role, age, sex, education and income. The research employed systematic sampling to select 425 audiences living in Bangkok and watching TV regularly. The research technique was using questionnaires, and anthropological interviews. The results of research were as follows: 1. Actor with good role got more positive attitude from the audiences than actor with bad role. 2. Audiences with higher socio-economic status would have more positive attitude to actor with good and bad role than audiences with lower socio-economic status. 3. Both older and younger audiences had the same positive attitude to actor with good and bad role. 4. Male-audiences had less positive attitude to actor with good and bad role than female-audiences. 5. Audiences with higher educational level had less positive attitude to actor with good and bad role than audiences with lower educational level. 6. Audiences with higher income had less positive attitude to actor with good and bad role than audiences with lower income.
Description: วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: สังคมวิทยามหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สังคมวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41002
ISBN: 9746353497
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jintana_Ru_front.pdf244.08 kBAdobe PDFView/Open
Jintana_Ru_ch1.pdf756.31 kBAdobe PDFView/Open
Jintana_Ru_ch2.pdf314.83 kBAdobe PDFView/Open
Jintana_Ru_ch3.pdf897.33 kBAdobe PDFView/Open
Jintana_Ru_ch4.pdf382.45 kBAdobe PDFView/Open
Jintana_Ru_ch5.pdf206.03 kBAdobe PDFView/Open
Jintana_Ru_back.pdf344.81 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.