Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4107
Title: รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุ ขององค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อภาวะความเป็นผู้นำของคณบดี สถาบันอุดมศึกษาขของรัฐ ในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย
Other Titles: The causal structural relationship model of factors influencing leadership of deans in government higher education institutions under the Ministry of University Affairs
Authors: เกียรติกำจร กุศล, 2507-
Advisors: ไพฑูรย์ สินลารัตน์
สุชาดา บวรกิติวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Paitoon.Si@chula.ac.th
bsuchada@chula.ac.th
Subjects: ภาวะผู้นำ
คณบดี
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: พัฒนารูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุขององค์ประกอบ ที่มีอิทธิพลต่อภาวะความเป็นผู้นำของคณบดีสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ วิเคราะห์และเปรียบเทียบขนาดและทิศทางของอิทธิพลทางตรงและทางอ้อม ขององค์ประอบที่มีอิทธิพลต่อภาวะความเป็นผู้นำ ของคณบดีสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย รูปแบบที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยตัวแปรแฝง 5 ตัว และตัวแปรสังเกตได้ 23 ตัว กลุ่มตัวอย่างเป็นคณบดีและอาจารย์สถาบันอุดมศึกษาของรัฐบาลจำนวน 586 คน เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วยแบบสอบถามจำนวน 1 ชุด มี 6 ตอน วิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นโดยค่าสถิติพื้นฐานด้วยโปรแกรม SPSS 7.5 และผู้วิจัยตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบ ความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุด้วยโปรแกรมลิสเรล 8.10 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ คือ 1. รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุขององค์ประกอบ ที่มีอิทธิพลต่อภาวะความเป็นผู้นำของคณบดี สถาบันอุดมศึกษาของรัฐในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย จากผลการวิจัยพบว่า รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมามีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ จากการสอบถามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในเกณฑ์ดี (ค่า GFI = 0.981, ค่า AGFI = 0.959, ค่า RMR = 0.023 และค่า P = 0.470) โดยรูปแบบประกอบด้วยองค์ประกอบด้านภูมิหลัง ด้านสถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง ด้านคุณลักษณะเฉพาะของความเป็นผู้นำ ด้านพฤติกรรมความเป็นผู้นำและด้านภาวะความเป็นผู้นำของคณบดี และรูปแบบสามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรภาวะความเป็นผู้นำ ของคณบดีได้ 82.90% 2. องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อภาวะความเป็นผู้นำของคณบดีมี 4 องค์ประกอบคือ องค์ประกอบด้านภูมิหลัง ด้านสถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง ด้านคุณลักษณะเฉพาะของความเป็นผู้นำ และด้านพฤติกรรมความเป็นผู้นำของคณบดี โดยที่องค์ประกอบทุกตัวมีอิทธิพลทางบวกต่อภาวะความเป็นผู้นำของคณบดี สำหรับองค์ประกอบที่มีอิทธิพลรวม อิทธิพลทางตรงและอิทธิพลทางอ้อมต่อภาวะความเป็นผู้นำ ของคณบดีมากที่สุดคือ องค์ประกอบด้านภูมิหลัง รองลงมาคือ องค์ประกอบด้านสถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง 3. ข้อค้นพบในการวิจัยมีดังนี้คือ คณบดีที่มีภาวะความเป็นผู้นำ ควรเป็นผู้ที่มีความพร้อมในด้านต่างๆ ดังนี้ 1) ด้านภูมิหลัง ได้แก่ การมีประสบการณ์ทางด้านวิชาการ ทางด้านการบริหาร และมีทัศนคติที่ดีต่อการเป็นผู้นำคณะ 2) ด้านคุณลักษณะเฉพาะของความเป็นผู้นำ ได้แก่ การมีความสามารถเชิงทักษะ มีบุคลิกภาพที่เหมาะสมและมีสติปัญญาและความเฉลียวฉลาด 3) ด้านพฤติกรรมของความเป็นผู้นำ ได้แก่ การมีพฤติกรรมแบบเน้นการมีส่วนร่วม แบบนักพัฒนาและแบบมีอำนาจบารมี และ 4) ด้านสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องซึ่งคณบดีต้องคำนึงถึงด้วยได้แก่ วุฒิภาวะและความพร้อมของผู้ร่วมงาน การมีเครือข่ายความร่วมมือกับองค์กรอื่นๆ และการมีโครงสร้างของงานในคณะที่ชัดเจน สำหรับภาวะความเป็นผู้นำของคณบดีนั้นสามารถพิจารณาได้จาก ความสำเร็จของงานในคณะ ความพึงพอใจของผู้ร่วมงาน และการพัฒนาผู้ร่วมงานให้มีผลงานทางวิชาการ
Other Abstract: To develop the causal structural relationship model of factors influencing leadership of deans in government higher education institutions under the Ministry of University Affairs, to analyze and to compare direct and indirect effects of factors influencing leadership of deans. The developed model was a LISREL model consisting of 5 latent variables and 23 observed variables. The sample is 586 deans and faculties in government higher education institutions under the Ministry of University Affairs. The research instrument was a questionnaire with 6 sections. SPSS program version 7.5 was performed to analyze basic statistics and LISREL program version 8.10 was performed for model testing. The research results indicated that 1. The causal structural relationship model was very well fitted with the empirical data (GFI = 0.981 AGFI = 0.959 RMR = 0.023 P = 0.470). Factors of the model were dean's background, situations involved, dean's traits, dean's behaviors, and leadership of deans. The model could explain variance of variables for leadership of deans about 82.90%. 2. Factors influencing leadership of deans were dean's background, situations involved, dean's traits, and dean's behaviors. All factors have positive effect on leadership of deans. The factors that have total effect, direct effect and indirect effect to most impact in leadership of deans were dean's background and situations involved. 3. In conclusion, deans should have readiness about 1) dean's background consists of experience in academic, adminstration, and positive attitude for faculty leader, 2) dean's traits consist of ability, personality, and intelligence, 3) dean's behaviors consist of participation style, developer style, and charisma style, and 4) situations involved with leadership of deans consist of maturity of co-workers, networks, and structural of work in institute. The leadership of deans can appraise from work achievement, co-workers' satisfaction, and co-workers developing to produce academic work.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: อุดมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4107
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2000.442
ISBN: 9743472487
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2000.442
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kiatgumjorn.pdf1.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.