Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41307
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิวัฒน์ วัฒนาวุฒิ-
dc.contributor.advisorสุทธิพงศ์ วิญญูประดิษฐ์-
dc.contributor.authorสงกรณ์ เสียงสืบชาติ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2014-03-19T09:04:02Z-
dc.date.available2014-03-19T09:04:02Z-
dc.date.issued2541-
dc.identifier.isbn9746397664-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41307-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541en_US
dc.description.abstractโดยทั่วไปข้อมูลเส้นทางในระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์จะถูกกำหนดด้วยชุดของข้อมูล ส่วนของเส้นที่เรียงต่อเนื่องกันและมีข้อมูลลักษณะหลายประเภทที่กระจายไปตามเส้นทาง การจัดแบ่งข้อมูลลักษณะเฉพาะต่างๆ ในสภาพความเป็นจริงอาจจะไม่สอดคล้องกับข้อมูลส่วนของเส้นจนต้องปรับเปลี่ยนข้อมูลส่วนของเส้นเพื่อให้รองรับการเพิ่ม ลด หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลลักษณะเฉพาะ ความไม่อิสระต่อกันระหว่างโครงสร้างข้อมูลเส้นทางและโครงสร้างข้อมูลส่วนของเส้นเป็นการเพิ่มภาระการจัดการ การบำรุงรักษาระบบ และอาจส่งผลด้านประสิทธิภาพการใช้งานในที่สุด ด้วยแนวคิดการแบ่งส่วนแบบพลวัตที่แยกการจัดการข้อมูลเส้นทางออกจากการจัดการข้อมูล ส่วนของเส้นทำให้สามารถที่จะกำหนดข้อมูลเหตุการณ์ ซึ่งก็คือข้อมูลลักษณะเฉพาะของเส้นทางได้โดยอิสระในมุมมองของผู้ใช้ โครงสร้างข้อมูลเส้นทางในแนวคิดนี้จะกำหนดขึ้นจากข้อมูลส่วนของเส้นที่เป็นพื้นฐาน และประกอบไปด้วยค่าระยะของแต่ละเส้นทางซึ่งจะใช้ในการอ้างอิงข้อมูลเหตุการณ์ที่ปรากฏบนเส้นทาง ข้อมูลเหตุการณ์แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลักคือ ข้อมูลเหตุการณ์เชิงเส้นและข้อมูลเหตุการณ์เชิงตำแหน่ง โดยที่สามารถสร้างประเภทข้อมูลเหตุการณ์ต่างๆ ได้โดยไม่จำกัด งานวิจัยนี้ได้ออกแบบโครงสร้างข้อมูลเส้นทาง ข้อมูลค่าระยะ และข้อมูลเหตุการณ์เชิงเส้นและข้อมูลเหตุการณ์เชิงตำแหน่ง อีกทั้งได้พัฒนาชุดเครื่องมือซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการดำเนินงานกับโครงสร้างข้อมูลเส้นทาง พร้อมทั้งโปรแกรมต้นแบบที่พัฒนาขึ้นจากชุดเครื่องมือดังกล่าว ได้มีการทดสอบโดยจัดสร้างข้อมูลเส้นทางหลวงจากแผนที่ทางหลวง มาตราส่วน 1:1,600,000 ของสโมสรกรมทางหลวงโดยใช้ข้อมูลส่วนของเส้นที่จัดเก็บในซียูจีไอเอสเป็นพื้นฐานในการดำเนินงาน โครงสร้างข้อมูลและโปรแกรมต้นแบบสามารถที่จะรองรับการสร้างข้อมูลเส้นทางจากข้อมูลส่วนของเส้น และสามารถจัดทำข้อมูลเหตุการณ์ต่างๆ ที่ปรากฏอยู่บนเส้นทางโดยไม่มีผลกระทบกับข้อมูลส่วนของเส้น อีกทั้งสามารถที่จะสร้างข้อมูลเหตุการณ์ได้มากตามต้องการและเท่าที่จะมีเนื้อที่ในการจัดเก็บen_US
dc.description.abstractalternativeBasically, route data in geographic information system is defined by a set of contiguous segments with many types of attribute distributed along the route. Practically, the segmentation of attributes may not conform to the underlying segments and causes some modification of segments for each attribute assigned. The dependency of route data structure on segment data structure causes an overhead for managing and maintaining route data and may finally reduces the operational performance. With dynamic segmentation concept, route management is isolated from segment management so that event data and route's attributes can be manipulated transparently in user view. Route data in this concept is defined from the underlying segments and contains the measurement that is used for referencing event data on the route. The event data is classified as either linear or point event from which unlimited number of events can be supported. This thesis proposes a design of abstract data type of route data, measurement data, linear event data and point event data. The software tools for manipulating route data structure are developed. The software prototype is developed by using these tools and tested by building the routes of the club of Department of Highways' 1:1,600,000 highway map on the underlying segment data in CU-GIS. The route data structure and the prototype illustrate the formation of each route with the independence of segments. The creation of event data along route does not cause any modification of segments. The event data could be defined as much as needed up to the disk space limitationen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectRoute data structureen_US
dc.subjectCU-GISen_US
dc.subjectเส้นทางการเดินรถ -- โปรแกรมคอมพิวเตอร์en_US
dc.subjectซียูจีไอเอส (โปรแกรมคอมพิวเตอร์)en_US
dc.titleการออกแบบและพัฒนาเครื่องมือซอฟต์แวร์ เพื่อการจัดทำโครงสร้างข้อมูลเส้นทาง ในระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์en_US
dc.title.alternativeA design and development of software tools for implementation of route data structure in Geographic Information Systemen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorWiwat.V@chula.ac.th-
dc.email.advisorSoottipong.W@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Songkorn_Si_front.pdf250.42 kBAdobe PDFView/Open
Songkorn_Si_ch1.pdf417.8 kBAdobe PDFView/Open
Songkorn_Si_ch2.pdf294.31 kBAdobe PDFView/Open
Songkorn_Si_ch3.pdf740.48 kBAdobe PDFView/Open
Songkorn_Si_ch4.pdf283.67 kBAdobe PDFView/Open
Songkorn_Si_ch5.pdf286.63 kBAdobe PDFView/Open
Songkorn_Si_back.pdf2.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.