Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41958
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorดารณี ถวิลพิพัฒน์กุล-
dc.contributor.authorบุลวัชร์ พฤกษานุบาล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2014-03-25T13:10:55Z-
dc.date.available2014-03-25T13:10:55Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41958-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en_US
dc.description.abstractจังหวัดปทุมธานีเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ขยายตัวของกรุงเทพมหานคร ที่ภาครัฐจัดบริการโครงสร้างขั้นพื้นฐานเพื่อรองรับชุมชนเมืองที่เกิดขึ้น สิ่งที่ตามมาก็คือกิจกรรมทางเศรษฐกิจขั้นตติยภูมิหรือธุรกิจการค้าและการบริการในด้านต่างๆ ที่เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของประชากรในพื้นที่ แต่เนื่องจากประชากรไม่สามารถผลิตสินค้าและบริการต่างๆเพื่ออุปโภคและบริโภคเองได้ทั้งหมด จึงเกิดการแลกเปลี่ยนโดยมีร้านค้าและสถานบริการต่างๆเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ งานวิจัยนี้ศึกษาร้านขายของชำที่ตั้งอยู่ในชุมชนที่มีระดับความเป็นเมืองไม่เท่ากัน 3 ลักษณะ ได้แก่ ชุมชนเมือง(เทศบาลเมืองรังสิต) ชุมชนชนบท(อบต.พืชอุดม) และชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบท(อบต.เชียงรากใหญ่) ในเรื่องลักษณะและสถานการณ์ปัจจุบันของร้าน เกี่ยวกับที่ตั้ง รูปแบบของร้าน สินค้าที่จำหน่าย และการดำเนินงาน รวมทั้งศึกษาความเชื่อมโยงระหว่างชนบทและเมืองในด้านการค้าซึ่งพิจารณาจากแหล่งที่มาของสินค้า โดยข้อมูลปฐมภูมิได้จากการสำรวจภาคสนามด้วยการสัมภาษณ์และการสังเกตร้านขายของชำ ซึ่งเป็นหน่วยวิเคราะห์ ผลจากการศึกษาพบว่าร้านขายของชำในชุมชนชนบทมีความหลากหลายของประเภทสินค้ามากกว่าร้านในชุมชนเมืองซึ่งลักษณะของสินค้าที่วางขายในร้านขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านความต้องการของประชากรในชุมชนนั้นๆ นอกจากนี้ยังพบว่าร้านขายของชำในชุมชนชนบทที่เป็นกรณีศึกษา ซื้อสินค้าจากแหล่งสินค้าที่อยู่ในชุมชนเมืองศูนย์กลางระดับรองของจังหวัด(เทศบาลตำบลลำไทร)มากกว่าแหล่งอื่น การเติบโตของการค้าสมัยใหม่ส่งผลกระทบต่อความอยู่รอดของร้านขายของชำซึ่งเป็นร้านค้าแบบดั้งเดิม ดังนั้นจึงเสนอให้พิจารณามาตรการด้านผังเมืองเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหาดังกล่าว เช่น การกำหนดที่ตั้งที่เหมาะสมของร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ หรือการกำหนดจำนวนร้านค้าที่เหมาะสมกับจำนวนประชากร เป็นต้น-
dc.description.abstractalternativePathumthani is a part of the Bangkok Extended Metropolitan Region where the government provides infrastructure to accommodate growing urban areas. The consequences are tertiary economic activities occur. However, people are not able to produce all kind of goods and services by themselves. Therefore, the stores are the centers to distribute goods and services to the communities. The objectives of this research are to study the characteristics and present situation of grocery stores which located in 3 types of communities on rural-urban continuum: urban area (Rangsit municipality), rural-urban area (Chiengrakyai sub-district administration) and rural area (Phuet Udom sub-district administration) and to study rural-urban linkages through flow of goods. Primary data are gathered by field research techniques employing questionnaires for unstructured interview and observation. The research finds that the grocery stores in rural area sell more variety of goods than the grocery stores in urban area. Socio-economic characteristics of communities especially the occupations of local people determine types of merchandises that are sold in each store. Beside, the grocers in rural area buy goods from the wholesalers in Pathumthani’s sub-provincial city (Lamsai municipality) more than other urban area. The growth of modern trade affects the survival of tradition trade such as grocery stores. Therefore, urban planning regulations should be applied to solve that problem. For example, find the suitable location for the large size retailing enterprises and limit the number of stores to balance the number of population.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1103-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectร้านค้าปลีก -- ไทย -- ปทุมธานี-
dc.subjectเมือง -- การเจริญเติบโต-
dc.titleความเชื่อมโยงระหว่างชนบทและเมืองในพื้นที่ขยายตัวของอภิมหานครกรุงเทพของการค้าในชนบท : กรณีศึกษาจังหวัดปทุมธานีen_US
dc.title.alternativeRural-Urban linkages pertaining to rural trade in Bangkok Mega-Urban region: A case study of Phathumthani Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameการวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการวางแผนภาคen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.1103-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Boonrawat_pr_front.pdf2.45 MBAdobe PDFView/Open
Boonrawat_pr_ch1.pdf1.48 MBAdobe PDFView/Open
Boonrawat_pr_ch2.pdf7.72 MBAdobe PDFView/Open
Boonrawat_pr_ch3.pdf1.76 MBAdobe PDFView/Open
Boonrawat_pr_ch4.pdf4.16 MBAdobe PDFView/Open
Boonrawat_pr_ch5.pdf8.4 MBAdobe PDFView/Open
Boonrawat_pr_ch6.pdf3.21 MBAdobe PDFView/Open
Boonrawat_pr_back.pdf6.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.