Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42349
Title: การวิเคราะห์การปล่อยคาร์บอนจากขั้นตอนการรื้อถอนอาคารและการทำลายอาคาร
Other Titles: Analysis of carbon emission from the process of building demolition
Authors: สุดตาภา ใจแสน
Advisors: อรรจน์ เศรษฐบุตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Atch.S@Chula.ac.th
Subjects: การทำลายอาคาร -- การใช้พลังงาน
คาร์บอน
การใช้พลังงาน
Wrecking -- Energy consumption
Carbon
Energy consumption
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาขั้นตอนต่างๆ การใช้พลังงาน รวมถึงวิเคราะห์ปริมาณการปล่อยคาร์บอนที่ใช้ในกระบวนการการรื้อถอนอาคารและการทำลายอาคารโดยใช้วิธีการคำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งในรูปของคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (Carbon dioxide equivalent, CO₂e) ซึ่งอ้างอิงค่าสัมประสิทธิ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) และจากโปรแกรมสำเร็จรูป SimaPro 7.3.3 โดยทำการวิจัยโดยการสอบถามผู้รับเหมารื้อถอนอาคาร ถึงวิธีการรื้อถอนอาคารและทำลายอาคาร เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ รวมถึงแนวทางการจัดการเศษวัสดุที่ได้หลังการรื้อถอนอาคารและการทำลายอาคาร โดยมีอาคารกรณีศึกษาที่ใช้เป็นอาคารอ้างอิงในการวิจัยคือ บ้านพักอาศัย ขนาดพื้นที่ใช้สอย 264 m2 และประเภทอาคารสำนักงาน ซึ่งมีขนาดพื้นที่ใช้สอย 11,375 m2 ผลการวิจัยพบว่า ในการรื้อถอนและทำลายบ้านพักอาศัยมีการใช้พลังงานเฉลี่ยทั้งสิ้น 51,497.25 MJ และมีการปล่อยคาร์บอนเท่ากับ 3,877.87 KgCO₂e และเมื่อเฉลี่ยต่อพื้นที่ใช้สอยเท่ากับ 14.69 kgCO₂e/m² และอาคารสำนักงานมีการใช้พลังงานในการรื้อถอนและทำลายอาคารเฉลี่ยทั้งสิ้น 590,644.47 MJ และมีการปล่อยคาร์บอนเท่ากับ 44,469.04 KgCO₂e และเมื่อเฉลี่ยต่อพื้นที่ใช้สอยเท่ากับ 3.91kgCO₂e/m2 เมื่อทำเปรียบเทียบทั้งวัฏจักรชีวิตอาคารกรณีศึกษาที่ใช้เป็นอาคารอ้างอิงพบว่า ขั้นตอนการรื้อถอนและการทำลายบ้านพักอาศัยมีการปล่อยคาร์บอนเพียงร้อยละ 0.60 ของการปล่อยคาร์บอนตลอดวัฏจักรชีวิตอาคาร และขั้นตอนการรื้อถอนและการทำลายอาคารสำนักงานมีการปล่อยคาร์บอนเพียงร้อยละ 0.12 ของการปล่อยคาร์บอนตลอดวัฏจักรชีวิตอาคาร จากผลการวิจัยสามารถสรุปได้ว่าวัสดุประเภทที่เป็นโลหะและอโลหะ รวมถึงอิฐมอญ และคอนกรีตเป็นวัสดุที่มีผลทำให้เกิดการปล่อยคาร์บอนออกสู่ชั้นบรรยากาศมากที่สุด ดังนั้นแนวทางในการลดการปล่อยคาร์บอนควรคำนึงถึงแนวทางการเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือในการรื้อถอนอาคารและการทำลายอาคารที่ รวมถึงการจัดการเศษวัสดุที่ได้อาคารที่มีประสิทธิภาพ และนอกจากนี้การออกแบบอาคารที่มีประสิทธิภาพ โดยการเลือกใช้วัสดุในอาคารที่ลดการเกิดของเสีย เช่น การออกแบบอาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยการเลือกใช้วัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ เช่น ไม้ จะสามารถลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนได้เช่นเดียวกัน
Other Abstract: This research aimed to study the process of building demolition especially in terms of energy consumption and carbon emissions in the process of building demolition. The greenhouse gas emissions in a unit of Carbon Dioxide equivalent,CO₂e and the factors for greenhouse gas emissions were based on Thailand Greenhouse Gas Management Organization (TGO) data and the software SimaPro 7.3.3. This research collected data using a questionnaire for 3 contractors on how they demolished buildings, the tools and equipment used, and waste management practices. The residential building which was used as the reference case in this study had 264 m² of floor space while the case study office building had 11,375 m² of floor space. The results indicated that the process of house demolition consumed energy equal to 51,497.25 MJ, while the carbon emissions were equal to 3,877.87 KgCO₂e or 14.69 kgCO₂e/m². The process of building demolition for the office building had a total average energy consumption of 590,644.47 MJ, while the carbon emissions were 44,469.04 KgCO₂e or 3.91kgCO₂e/m² When compared with the life cycle of the case study buildings it was found that the process of building demolition for house and office emitted only 0.60 % and 0.12 %, respectively, of the carbon emitted throughout the life of the buildings. It can be summarized that metal and non-metal materials, concrete, and brick are most the source of most of the carbon emissions in the process of building demolition. Therefore, to reduce carbon emissions, consideration should be given to efficient use of demolition methods and tools for demolition, efficient waste management, and low-carbon building design by selection of materials to reduce waste. A Building that is designed to be environmentally-friendly that is friendly should be built with recycled materials such as wood etc.,that can be reused or recycled.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) --จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42349
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.980
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.980
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
suttapa _Ja.pdf4.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.