Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42461
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพิสุทธิ์ เพียรมนกุล-
dc.contributor.authorธนากร อื้อมุกดากุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2015-06-23T08:57:23Z-
dc.date.available2015-06-23T08:57:23Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42461-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.) --จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอระบบการบำบัดน้ำที่เหมาะสมสำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยใช้ระบบ 2 ขั้นตอน คือ ถังกรองแบบกรองเร็วและแบบกรองช้า ในการประยุกต์ใช้เพื่อบำบัดน้ำเสียจากบ่อเพาะเลี้ยงปลานิล ผลการทดลองพบว่า ถังตกตะกอนที่มีอัตราเร็วน้ำล้น 4.07 เมตร/ชั่วโมง มีประสิทธิภาพในการกำจัดอนุภาคของแข็งแขวนลอยเท่ากับ 70 % ขณะที่ถังกรองแบบชั้นกรอง 2 ชั้น ที่มีถ่านแอนทราไซด์ขนาดสัมฤทธิ์ 2 มิลลิเมตร และทรายกรองน้ำขนาดสัมฤทธิ์ 0.5 มิลลิเมตร (ชั้นถ่านแอนทราไซด์หนา 0.15 เมตรและทรายกรองน้ำ 0.55 เมตร) พบว่า มีประสิทธิภาพการบำบัดสูงที่สุดเท่ากับ 93 % ระยะเวลาในการเดินระบบเท่ากับ 130 นาที ปริมาตรน้ำที่กรองได้และอัตราเร็วในการกรองเท่ากับ 445 ลิตร และ13.2 เมตร/ชั่วโมง ตามลำดับ แต่ถังกรองแบบกรองเร็วนั้นไม่สามารถกำจัดไนเตรทออกจากน้ำเสียได้ ทำให้มีการใช้ถังกรองแบบกรองช้าเพื่อใช้ในการบำบัดไนเตรท ซึ่งถังกรองทรายโดยทั่วไปที่มีอัตราเร็วในการกรองเท่ากับ 0.4 เมตร/ชั่วโมง ไม่สามารถกำจัดไนเตรทออกจากน้ำได้ ดังนั้นจึงมีการเติมเอทานอลเพื่อใช้เป็นแหล่งคาร์บอนสำหรับการเจริญเติบโตของจุลชีพในกระบวนการดีไนตริฟิเคชัน โดยมีการเติม เอทานอลลงไปในน้ำเสียก่อนเข้าสู่ถังกรองทรายแบบกรองช้า ผลการทดลองในส่วนถังกรองแบบกรองช้าพบว่า มีอัตราส่วนระหว่างคาร์บอนต่อไนโตรเจนและอัตราเร็วในการกรองที่เหมาะสมเท่ากับ 2.1: 1 และ 0.2 เมตร/ชั่วโมง ตามลำดับ โดยเมื่อเปรียบเทียบพื้นที่ในการเดินระบบระหว่างถังกรองแบบชั้นกรอง 2 ชั้นและระบบบำบัดน้ำอื่นๆ ในการบำบัดน้ำปริมาตร 1,000 ลูกบาศก์เมตร พบว่า ระบบกรองใช้พื้นที่ในการเดินระบบเท่ากับ 61.34 ตารางเมตร ซึ่งน้อยกว่าระบบการตกตะกอนและระบบทำลายเสถียรภาพและรวมตะกอนที่ใช้พื้นที่ 119.05 ตารางเมตร และ155.1 ตารางเมตร ตามลำดับen_US
dc.description.abstractalternativeThe objective of this research is to suggest the appropriate treatment system for aquaculture ponds. The two-step processes (rapid sand and slow sand filter) were applied for treating the wastewater from a tilapia pond. The results showed that, the optimum overflow rate of sedimentation tank was obtained at 4.07 m/hr from the removal suspended solid efficiency of 70 %. The highest treatment efficiency (93%) and moderate filtration performance (130 minutes operating time, 445 L volume of effluent and 13.2 m/hr filtration rate) can be obtained with the combination of media between anthracite (D10 2 mm and 0.15 m in depth) and sand (D10 0.5 mm and 0.55 m in depth). However, this process cannot remove nitrate in the wastewater. Therefore, slow sand filter was examined for the treatment of nitrate. Firstly, a conventional sand filter (using filtration rate of 0.4 m/d) was operated; no nitrate removal was observed in this system. Therefore, ethanol was used as a carbon source to stimulate microbial growth that could assist in denitrification. Wastewater was added with ethanol before entering the slow sand process. Moreover, in this part, optimum C/N ratio and filtration rate were 2.1: 1 and 0.2 m/hr. Finally, the daily operation area of the rapid processes (61.34 m2) was significant lower than that of sedimentation and coagulation-flocculation process (119.05 m2 and 155.1 m2) for treating 1,000 m3 of water.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1041-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการเพาะเลี้ยงในน้ำen_US
dc.subjectน้ำ -- การทำให้บริสุทธิ์ -- การกรองแบบทรายกรองช้าen_US
dc.subjectน้ำ -- การทำให้บริสุทธิ์ -- การกรองแบบทรายกรองเร็วen_US
dc.subjectAquacultureen_US
dc.subjectWater -- Purification -- Slow sand filtrationen_US
dc.subjectWater -- Purification -- Rapid sand filtrationen_US
dc.titleการประยุกต์ใช้การกรองทรายแบบเร็วและแบบช้าในการบำบัดน้ำจากระบบเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำen_US
dc.title.alternativeApplication of rapid and slow sand filtration for water treatment in aquaculture systemen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPisut.P@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2012.1041-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
thanakorn_er.pdf5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.