Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42690
Title: อิทธิพลของการมองโลกในแง่ดี ความสามารถในการฟื้นคืนได้ การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ ต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การโดยมีความสุขเชิงอัตวิสัยเป็นตัวแปรส่งผ่าน
Other Titles: EFFECTS OF OPTIMISM, RESILIENCE, PERCEIVED ORGANIZATIONAL SUPPORT ON ORGANIZATIONAL CITIZENSHIP BEHAVIOR: A MEDIATING ROLE OF SUBJECTIVE WELL-BEING
Authors: เบญจพร จูพัฒนกุล
Advisors: อภิชญา ไชยวุฒิกรณ์วานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Advisor's Email: apitchaya.c@chula.ac.th
Subjects: การมองโลกในแง่ดี
ความสุข
พฤติกรรมองค์การ
จิตวิทยาองค์การ
จิตวิทยาประยุกต์
Optimism
Happiness
Organizational behavior
Psychology, Applied
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของการมองโลกในแง่ดี ความสามารถในการฟื้นคืนได้ การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การที่มีต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การโดยมีความสุขเชิงอัตวิสัยเป็นตัวแปรส่งผ่าน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยในครั้งนี้คือพนักงานจำนวน 447 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยได้แก่ มาตรวัดการมองโลกในแง่ดี มาตรวัดความสามารถในการฟื้นคืนได้ มาตรวัดการรับรู้การสนับสนุนขององค์การ มาตรวัดความสุขเชิงอัตวิสัย และ มาตรวัดพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการสร้างสมการโครงสร้างด้วยโปรแกรมลิสเรล (LISREL) ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1. โมเดลเชิงสาเหตุของอิทธิพลของการมองโลกในแง่ดี ความสามารถในการฟื้นคืนได้ การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การที่มีต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การโดยมีความสุขเชิงอัตวิสัยเป็นตัวแปรส่งผ่านมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-Square = 211.10, df = 64, p < .001, RMSEA = 0.072, SRMR = 0.047, GFI = 0.94, AGFI = 0.90) 2. เมื่อพิจารณาค่าอิทธิพลของตัวแปรต้นโมเดล พบว่าความสามารถในการฟื้นคืน เป็นตัวแปรที่ทำนายพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การได้ดีที่สุด (&beta; = .44, p < .001) 3. ความสุขเชิงอัตวิสัยเป็นตัวแปรส่งผ่านโดยสมบูรณ์ระหว่างการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ ไปยังพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ (อิทธิพลรวม &beta; = .18, p < .001; อิทธิพลทางตรง &beta; = .05, ns; อิทธิพลทางอ้อม &beta; = .13, p < .001)
Other Abstract: The purpose of this research is to study the effects of optimism, resilience, perceived organizational support on organizational citizenship behavior with subjective well-being as a mediation. Participants were 447 employees from private organizations. There were five research instruments: an optimism scale, a resilience scale, a perceived organizational support scale, a subjective well-being scale, and the organizational citizenship behavior scale. The Structural Equation Model analysis using LISREL program was employed. The main findings are as follows: 1. The causal model of organizational citizenship behavior fit to the empirical data (Chi-Square = 211.10, df = 64, p = .001, RMSEA = 0.072, SRMR = 0.047, GFI = 0.94, AGFI = 0.90). 2. Resilience had the highest total effect on organizational citizenship behavior (&beta; = .44, p < .001). 3. Subject well-being was a full mediator between perceived organizational support and organizational citizenship behavior (total effect &beta; = .18, p < .001; direct effect &beta; = .05, ns; indirect effect &beta; = .13, p < .001).
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาประยุกต์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42690
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.168
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.168
Type: Thesis
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5477793538.pdf4.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.