Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42695
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพันธวัศ สัมพันธ์พานิชen_US
dc.contributor.authorสารินี โฉมแก้วen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัยen_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:11:20Z
dc.date.available2015-06-24T06:11:20Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42695
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractการศึกษาผลของการใช้ปุ๋ยต่อการปลดปล่อยก๊าซมีเทน และก๊าซไนตรัสออกไซด์ในนาข้าว ทำการศึกษาโดยการปลูกข้าวสายพันธุ์ปทุมธานี 80 หรือ กข31 เพื่อทำการเปรียบเทียบปุ๋ย 4 ชนิด ได้แก่ 1) แปลงทดลองที่มีการเติมปุ๋ยคอก (มูลวัว) 2) ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด 3) ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ และ 4) ปุ๋ยเคมี (สูตรยูเรีย 46-0-0 และสูตรแอมโมเนียมฟอสเฟต 16-20-0) ทำการเก็บตัวอย่าง 5 ระยะ ได้แก่ 1) ก่อนการเพาะปลูก (0 วัน) 2) ระยะต้นกล้าหรือหลังปักดำ 30 วัน 3) ระยะแตกกอ (60 วัน) 4) ระยะออกดอก (90 วัน) และ 5) ระยะก่อนการเก็บเกี่ยว (120 วัน) ในการเก็บตัวอย่างก๊าซได้ทำการวิเคราะห์ปริมาณก๊าซมีเทน ด้วยเครื่องก๊าซโครมาโตกราฟี (Gas Chromatography; GC) และวิเคราะห์ก๊าซไนตรัสออกไซด์ ด้วยเครื่องวิเคราะห์สารอินฟาเรด (Fourier Transform Infrared Spectroscopy; FTIR) ผลการวิเคราะห์ปริมาณการปลดปล่อยก๊าซมีเทนเฉลี่ยตลอดทั้งฤดูกาล พบว่า ชุดการทดลองที่เติมปุ๋ยเคมีมีค่าการปลดปล่อยก๊าซมีเทนเฉลี่ยตลอดฤดูกาลสูงที่สุด คือ 1.19 มิลลิกรัมต่อตารางเมตรต่อวัน รองลงมา ได้แก่ แปลงทดลองที่เติมปุ๋ยคอก (มูลวัว) แปลงทดลองที่เติมปุ๋ยอินทรีย์น้ำ แปลงควบคุมไม่เติมปุ๋ย และแปลงทดลองที่เติมปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด มีค่าการปลดปล่อยก๊าซมีเทนเฉลี่ยตลอดฤดูกาลเท่ากับ 1.13, 1.04, 0.99 และ 0.44 มิลลิกรัมต่อตารางเมตรต่อวัน ตามลำดับ ในส่วนของปริมาณการปลดปล่อยก๊าซไนตรัสออกไซด์เฉลี่ยตลอดทั้งฤดูกาล พบว่า แปลงทดลองที่เติมปุ๋ยคอก (มูลวัว) มีการปลดปล่อยสูงที่สุด เท่ากับ 1.84 มิลลิกรัมต่อตารางเมตรต่อวัน ในขณะที่ชุดการทดลองอื่นๆนั้น มีค่าการปลดปล่อยไม่แตกต่างกันทางสถิติ ได้แก่ แปลงทดลองที่เติมปุ๋ยเคมี แปลงควบคุม แปลงทดลองที่เติมปุ๋ยอินทรีย์น้ำ และแปลงทดลองที่เติมปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด โดยมีการปลดปล่อยก๊าซไนตรัสออกไซด์เท่ากับ 0.67, 0.66, 0.65 และ 0.54 มิลลิกรัมต่อตารางเมตรต่อวัน ตามลำดับ จึงสามารถสรุปได้ว่าการเติมปุ๋ยเคมีในแปลงนาส่งผลต่อปริมาณการเกิดก๊าซมีเทนสูงที่สุด และ แปลงนาที่เติมปุ๋ยคอกส่งผลต่อปริมาณการเกิดก๊าซไนตรัสออกไซด์ในนาข้าวสูงที่สุด ส่วนแปลงที่เติมปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดส่งผลต่อการปลดปล่อยก๊าซทั้งสองชนิดต่ำที่สุด แต่เมื่อพิจารณาผลผลิตข้าว พบว่า แปลงนาที่เติมปุ๋ยเคมีให้ผลผลิตสูงสุดคือ 1,042 กิโลกรัมต่อไร่ รองลงมาได้แก่ แปลงนาที่เติมปุ๋ยอินทรีย์น้ำ แปลงนาที่เติมปุ๋ยคอก แปลงนาควบคุมที่ไม่มีการเติมปุ๋ย และแปลงนาที่เติมปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด โดยมีผลผลิตเท่ากับ 904, 843, 820 และ 791 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้จึงมีข้อแนะนำในการใช้ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดร่วมกับปุ๋ยเคมี เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวและลดปัญหาการปลดปล่อยก๊าซมีเทนและไนตรัสออกไซด์ในนาข้าวen_US
dc.description.abstractalternativeThis paper studies the effect of fertilizer type on methane (CH4) and nitrous oxide (N2O) emissions in rice field, growing Pathumthani 80 or Gorkor 31 rice varietie, CH4 and N2O emitted from four types of fertilizers are compared: organic cow manure fertilizer, organic pellet fertilizer, organic liquid fertilizer, and chemical fertilizers (Urea 46-0-0 and Ammonium Phosphate 16-20-0). In this research, five different stages of rice cultivations were sampled 1) before-planting stage (0 day), 2) initial stage (30 days), 3) vegetative stage (60 days), 4) panicle-formation stage (90 days), and 5) maturation stage (120 days). CH4 and N2O emission was measured by Gas chromatography (GC) and Fourier transform infrared spectroscopy (FTIR).The paddy field with chemical fertilizer shows the highest CH4 emission at 1.19 mg/m-2/day, in contrast to those with organic pellet fertilizer giving the lowest CH4 emission. The CH4 emission rates in descending ranks are the plot with cow manure, the plot with organic liquid fertilizer, control plot without fertilizer, and the plot with organic pellet fertilizer, at 1.13, 1.04, 0.99 and 0.44 mg/m-2/day, respectively. For the N2O emission averages throughout rice grown season, the plot with organic cow manure fertilizer are released most throughout the growing season 1.84 mg/m-2/day maximum, followed by the plot with chemical fertilizer, control plot without fertilizer, the plot with organic liquid fertilizer and the plot with organic pellet fertilizer. By the emissions were 0.67, 0.66, 0.65 and 0.54 mg/m-2/day, respectively. It can be concluded, that the paddy field with chemical fertilizer gives the highest CH4 emission quantity, and The paddy field with cow manure fertilizers showed highest amount of N2O in paddy. The quantities of rice harvested from each plot of experiment the plot with chemical fertilizer, organic liquid fertilizer, organic cow manure fertilizer, control plot and the plot with organic pellet fertilizer were 6,513, 5,650, 5,269, 2,173 and 2,096 Kg/ha, respectively. Note that,this study has recommendations on the use of organic pellet fertilizers and chemical fertilizer to increase yield and reduce CH4 and N2O emission in paddy fields.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.162-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectก๊าซเรือนกระจก -- การลดปริมาณ
dc.subjectการทำนา
dc.subjectการจัดการดิน
dc.subjectปุ๋ย
dc.subjectGreenhouse gas mitigation
dc.subjectRice -- Planting
dc.subjectSoil management
dc.subjectFertilizers
dc.titleผลของการใช้ปุ๋ยที่มีต่อการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในนาข้าวen_US
dc.title.alternativeEFFECT OF FERTILIZERS ON GREENHOUSE GAS EMISSION IN PADDY FIELDen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPantawat.S@chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.162-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5487231820.pdf5.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.