Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42766
Title: การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนด้วยหลักการเรียนรู้โดยการรับใช้สังคมโดยใช้คอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนรู้ร่วมกันในการทำโครงงานเพื่อสร้างจิตสำนึกสาธารณะของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏ
Other Titles: DEVELOPMENT OF A SERVICE LEARNING INSTRUCTIONAL MODEL USING COMPUTER-SUPPORTED COLLABORATIVE LEARNING IN PROJECT-BASED LEARNING APPROACH TO DEVELOP PUPLIC CONSCIOUSNESS OF UNDERGRADUTE STUDENTS, RAJABHAT UNIVERSITY
Authors: อัญชนา สุขสมจิตร
Advisors: ประกอบ กรณีกิจ
ใจทิพย์ ณ สงขลา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: onlineteacher2005@hotmail.com
Jaitip.N@chula.ac.th
Subjects: กิจกรรมการเรียนการสอน
เทคโนโลยีสารสนเทศ
การสร้างจิตสำนึก
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
Activity programs in education
Information technology
Conscientization
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัญหาและความต้องการในการเรียนการสอนด้วยหลักการเรียนรู้โดยการรับใช้สังคม โดยใช้คอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนรู้ร่วมกัน ในการทำโครงงานเพื่อสร้างจิตสำนึกสาธารณะของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏ 2. พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนด้วยหลักการเรียนรู้โดยการรับใช้สังคม โดยใช้คอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนรู้ร่วมกัน ในการทำโครงงานเพื่อสร้างจิตสำนึกสาธารณะของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏ 3. ศึกษาผลของการใช้การเรียนการสอนด้วยหลักการเรียนรู้โดยการรับใช้สังคม โดยใช้คอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนรู้ร่วมกัน ในการทำโครงงานเพื่อสร้างจิตสำนึกสาธารณะของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏ และ 4. นำเสนอรูปแบบการเรียนการสอนด้วยหลักการเรียนรู้โดยการรับใช้สังคม โดยใช้คอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนรู้ร่วมกัน ในการทำโครงงานเพื่อสร้างจิตสำนึกสาธารณะของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยรูปแบบการวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏ จำนวน 27 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบวัดจิตสำนึกสาธารณะ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ค่า t-test ค่าเฉลี่ยเลขคณิตและ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1. รูปแบบการเรียนการสอนด้วยหลักการเรียนรู้โดยการรับใช้สังคม โดยใช้คอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนรู้ร่วมกันในการทำโครงงานเพื่อสร้างจิตสำนึกสาธารณะของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ 1) เป้าหมาย 2) วิธีการเรียนด้วยกิจกรรมรับใช้สังคมร่วมกับโครงงาน 3) บทบาทผู้เรียน 4) บทบาทผู้สอน 5) ระบบการจัดการเรียนการสอน CSCL และ 6) การประเมินผลตามสภาพจริง 2. ขั้นตอนการเรียนการสอนด้วยหลักการเรียนรู้โดยการรับใช้สังคม โดยใช้คอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนรู้ร่วมกันในการทำโครงงานเพื่อสร้างจิตสำนึกสาธารณะของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏ ประกอบด้วย 3 ระยะ คือ 1) ระยะเตรียมการ: ก่อนการรับใช้สังคม ใช้ระยะเวลา 1 สัปดาห์ โดยมีกิจกรรมคือ การสำรวจสภาพชุมชนและบรรยายผ่านสมุดบันทึกออนไลน์ 2) ระยะปฏิบัติการ: ระหว่างการรับใช้สังคม ใช้ระยะเวลา 5 สัปดาห์ โดยมีกิจกรรมคือ การเลือกหัวข้อโครงงานผ่าน e-Brainstorm การจัดทำโครงงานรับใช้สังคมผ่าน Face Chat การลงชุมชนเพื่อรับใช้สังคมและบรรยายผ่านสมุดบันทึกออนไลน์ 3) ระยะสรุปผล: หลังการรับใช้สังคม ใช้ระยะเวลา 2 สัปดาห์ โดยมีกิจกรรมคือ การสรุปรายงานโครงงานรับใช้สังคมผ่าน Face Chat และการนำเสนอผลงานโครงงานรับใช้สังคมผ่าน Social Network 3. ผลของการจัดการเรียนการสอนโดยรูปแบบที่พัฒนาขึ้นพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีจิตสำนึกสาธารณะหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 4. ผู้ทรงคุณวุฒิมีความคิดเห็นว่า องค์ประกอบและขั้นตอนในการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนฯ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
Other Abstract: The proposes of this research were 1) to study conditions, problems and needs concerning of the ID model 2) to develop the ID model 3) to study the results of the ID model and 4) to propose the ID model. The samples in this research were 27 students in the undergraduate level. Data was analyzed by using the t-test dependent, and mean and standard deviation. The results indicated that: 1. The ID model consisted of 5 components: 1) objective; 2) learning method based on service learning project-based learning methods; 3) learners; 4) instructors; 5) learning management system for computer-supported collaborative (CSCL); 6) authentic assessment. 2. The ID model consisted of 3 phrases 1) prepare: pre-service learning activity for a period of 1 week to inspect the community and provide a narrative report online; 2) operate: during the service learning activity for a period of 5 weeks to select a project topic via e-Brainstorm, to organize the service project via Face Chat, and to visit the community and provide a narrative report online; 3) result: post- service learning activity for a period of 2 weeks to conclude the project via Face Chat and to present the project via Social Network. 3. The results showed that post-test scores were higher than the pre-test scores at the level of significant rate of .05. 4. The experts have a consensus opinion that the instructional model was appropriated at the highest level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42766
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.250
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.250
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5184507227.pdf6.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.