Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42833
Title: รัฐ โภชนาการใหม่กับการเปลี่ยนแปลงวิถีการกินในสังคมไทย พ.ศ. 2482-2517
Other Titles: STATE, NEW NUTRITION AND CHANGES IN WAY OF EATING IN THAI SOCIETY, 1939-1974.
Authors: ชาติชาย มุกสง
Advisors: สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ
วิลลา วิลัยทอง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: suthachay@yahoo.com.br
Villa.V@Chula.ac.th
Subjects: วัฒนธรรมไทย
นโยบายโภชนาการ
คหกรรมศาสตร์
Nutrition policy
Home economics
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาบทบาทของรัฐด้านโภชนาการใหม่ในสังคมไทย โดยพิจารณาถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในวิถีการกินในสังคมไทยหลังการดำเนินงานด้านโภชนาการใหม่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2482 จนถึงปี พ.ศ. 2517 ผลการศึกษาพบว่า การเข้ามาของโภชนาการใหม่ในสังคมไทยมาพร้อมกับระบบการแพทย์ตะวันตก ซึ่งเป็นชุดความรู้ที่มีพื้นฐานวิธีคิดแบบวิทยาศาสตร์เหมือนกัน ทำให้เข้ามาปะทะและปรับเปลี่ยนวิถีการกินของคนไทย จากเดิมยึดที่หลักโภชนาการแบบจารีตซึ่งเป็นหนึ่งในระบบการแพทย์แผนไทยตามแนวทางทฤษฏีธาตุ รัฐไทยสมัยใหม่ได้รับเอาโภชนาการใหม่มาเป็นชุดความรู้หลักในการดำเนินนโยบายสร้างสุขภาพและพลานามัยของพลเมือง ให้หันมากินตามหลักวิทยาศาสตร์ที่แบ่งสารอาหารให้มีประโยชน์ต่อร่างกายเฉพาะเพื่อความมีสุขภาพดี และส่งผลต่อวิถีการกินของประชากรในสังคมไทยมาโดยตลอด การดำเนินนโยบายโภชนาการใหม่ของรัฐในตอนเริ่มต้นช่วงทศวรรษ 2480 เน้นการเผยแพร่ความรู้การกินตามหลัก “บริโภคศาสตร์” ที่หมายถึงการกินตามหลักวิทยาศาสตร์เพื่อสร้างชาติจากการเปลี่ยนให้คนไทยกินแบบมีอารยธรรม ในยุคสงครามเย็นตั้งแต่ทศวรรษ 2490 เป็นต้นมา เมื่อประเทศไทยรับการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและวิชาการจากสหรัฐอเมริกาจึงได้รับเอา “โภชนาการใหม่” ตามแนวทางการดำเนินนโยบายในภาครัฐของสหรัฐอเมริกาเข้ามาเป็นเครื่องมือสำคัญในการปรับเปลี่ยนวิถีการกินของคนไทย ด้วยวิธีการเปลี่ยนทั้งอาหารที่กินจากการพัฒนาด้านเกษตรและเรียนรู้การกินและการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพด้วยความรู้ด้านคหกรรมศาสตร์ มีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนวิถีการกินในบ้าน ชุมชนและโรงเรียน และส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิถีการกินให้เกิดขึ้นอย่างมหาศาลในสังคมไทย และได้นำไปสู่การกินอาหารที่ต้องมีมาตรฐานกำกับและควบคุมตามหลักของโภชนาการใหม่ในอุตสาหกรรมอาหารที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว จนต้องตั้งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาขึ้นมาควบคุมอย่างจริงจังตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 เป็นต้นมา
Other Abstract: This thesis studied roles of Thai state in relation to the new nutrition in Thai society. It examined changes in ways of eating following an implementation of the new nutrition in 1939-1974. It unveiled that the new nutrition arrived alongside the Western medical scheme, which both imposed scientific thinking basis. The advent collided and shifted the Thai’s eating ways from a conventional nutrition, which is one of the traditional medical systems based on a humoral theory. The new Thai state adopted the new nutrition scheme to implement health building programs and civil wellbeing, that promoted the eating based on scientific principles of healthy food properties for one’s healthiness. It has thus far influenced the Thai population’s eating practice. The Thai state’s nutrition implementation during an initial phase in the 1930s highlighted the dissemination of knowledge in accordance with “consumption science”. It involved eating practice that was based on scientific principles toward state building by shifting to the Thais’ civilized eating. During the cold war starting from the 1950s when Thailand received economic and academic assistance from the United States of America, it assumed the “new nutrition” following the U.S. public policy execution as an important tool to modify the Thais’ eating approaches. Eating was tuned to agricultural development. It was learned and adjusted to quality life pursuit along the lines with home economics knowledge. All played a significant role in changing eating approaches at home, community, and school. Ways of eating in the Thai society were tremendously altered and led to such eating that are regulated by standard measures and by new nutrition controls amid a rapidly emerging food industry. The Food and Drug Administration Office was hence founded in 1974 to be robustly in charge.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: ประวัติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42833
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.333
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.333
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5380502522.pdf5.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.