Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42916
Title: การลดความแปรปรวนของค่าความขาวสว่างของเยื่อที่ส่งโรงกระดาษ
Other Titles: BRIGHTNESS VARIATION REDUCTION OF PULP SENT TO A PAPER MILL
Authors: ณัฐพร สุขป้อม
Advisors: นภัสสวงศ์ โรจนโรวรรณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: napassavong.o@chula.ac.th
Subjects: เยื่อกระดาษ
การควบคุมกระบวนการผลิต
Wood-pulp
Process control
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาสูตรการผสมเยื่อที่มีค่าความขาวสว่างเริ่มต้นแตกต่างกันจากขั้นตอน EOP และ D1 เพื่อลดความแปรปรวนของค่าความขาวสว่างของเยื่อส่งโรงกระดาษในช่วงที่มีการเปลี่ยนเกรดการผลิตเยื่อแผ่นแห้ง งานวิจัยนี้ได้ใช้หลักการออกแบบการทดลองเชิงวิศวกรรมแบบหาพื้นผิวผลตอบร่วมกับการใช้เทคนิคการวิเคราะห์ความถดถอยเพื่อหาจุดที่เหมาะสมของการผสมเยื่อในแต่ละช่วงความขาวสว่าง 7 ช่วง เพื่อให้เยื่อหลังการผสมมีค่าความขาวสว่างอยู่ที่ 86% และค่า pH อยู่ที่ 5.25 สูตรการผสมเยื่อประกอบไปด้วยการกำหนดอัตราการผสมเยื่อและปริมาณกรดซัลฟูริคที่เติม จากผลการทดลองพบว่าเมื่ออัตราการผสมเยื่อ EOP สูงขึ้น ค่าความขาวสว่างของเยื่อหลังการผสมลดลงและมีค่า pH สูงขึ้น และเมื่อใช้กรดเพิ่มขึ้นจะทำให้เยื่อหลังผสมมีค่า pH ลดลง และทำให้ค่าความขาวสว่างของเยื่อมีค่าลดลง เมื่อนำค่าระดับที่เหมาะสมของอัตราการผสมเยื่อและปริมาณกรดซัลฟูริคไปใช้ในสายการผลิตจริงพบว่าสามารถทำให้ค่าความขาวสว่างของเยื่อส่งโรงผลิตกระดาษมีค่าใกล้เคียงเป้าหมายมากขึ้นและมีความแปรปรวนลดลง โดยไม่กระทบต่อคุณภาพเยื่อแห้งเกรดอื่น
Other Abstract: This research has the objective to determine the mixing formula of pulp with different brightness from the EOP and D1 stages to reduce the variation of the brightness of pulp sent to the paper mill during the changing period of dry pulp grades. This research uses the Design of Experiment technique with the response surface design type and the regression technique to find optimal mixing formula for each of the seven brightness levels to obtain the target brightness of 86% and the pH of 5.25. The mixing formulas are determined by the pulp mixing percentage and the sulfuric acid consumption. The experimental results reveal that when using higher EOP mixing ratio, the brightness decreases and the pH increases. Regarding the effect of the sulfuric acid, when increase the sulfuric acid, the brightness and the pH decrease. After implementing the optimal formula in the production line, the mean of pulp brightness is closer to the target and the brightness variation decreases without affecting the quality of other pulp grades.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42916
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.385
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.385
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5470936721.pdf4.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.