Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42920
Title: ดีไฮเดรชันของเอทานอลโดยใช้แกมมาอะลูมินาที่ปรับปรุงด้วยโบรอนและแกลเลียม
Other Titles: DEHYDRATION OF ETHANOL BY Ƴ-ALUMINA MODIFIED WITH BORON AND GALLIUM
Authors: บงกช ทองประดับ
Advisors: บรรเจิด จงสมจิตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: bunjerd.j@chula.ac.th
Subjects: ปฏิกิริยาเคมี
ตัวเร่งปฏิกิริยา
Chemical reactions
Catalysts
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ได้ศึกษาตัวเร่งปฏิกิริยาโบฮ์ไมต์ ที่ปรับปรุงด้วยโบรอนและแกลเลียมร้อยละ 0.5 1.0 และ 2.0 โดยน้ำหนัก เตรียมได้จากวิธีการเคลือบฝังแบบเปียก และศึกษาตัวเร่งปฏิกิริยาแกมมาอะลูมินาที่ได้จากการแคลไซน์ในอากาศอุณหภูมิ 600 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 4 ชั่วโมงของโบฮ์ไมต์ จากนั้นนำไปปรับปรุงด้วยโบรอนและแกลเลียมร้อยละ 0.5 1.0 และ 2.0 โดยน้ำหนัก และผ่านการแคลไซน์ในอากาศ ที่อุณหภูมิ 500 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 4 ชั่วโมง ศึกษาคุณลักษณะของตัวเร่งปฏิกิริยาโดยใช้เทคนิค การกระเจิงรังสีเอ็กซ์ พบว่าโครงสร้างผลึกมีลักษณะโครงสร้างผลึกไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อปรับปรุงด้วยโบรอนและแกลเลียม กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด แสดงให้เห็นถึงลักษณะพื้นผิวและการกระจายตัวของแกลเลียมและโบรอนที่เพิ่มขึ้นตามปริมาณที่ปรับปรุง การดูดซับทางกายภาพของก๊าซไนโตรเจน เมื่อปรับปรุงด้วยโบรอนและแกลเลียมแล้วจะทำให้มีพื้นที่ผิวลดลง การคายซับแอมโมเนียแบบโปรแกรมอุณหภูมิ ตัวเร่งปฏิกิริยาที่ปรับปรุงด้วยโบรอนและแกลเลียมมีความเป็นกรดเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบผลรวมความเป็นกรดต่อพื้นที่ และเมื่อศึกษาความสามารถของตัวเร่งปฏิกิริยาในปฏิกิริยาดีไฮเดรชันของเอทานอลในวัฏภาคแก๊สช่วงอุณหภูมิ 200 ถึง 400 องศาเซลเซียสที่ความดันบรรยากาศ โดยใช้แก๊ซโคร-มาโทกราฟี พบว่า ตัวเร่งปฏิกิริยาโบฮ์ไมต์ที่ปรับปรุงด้วยโบรอนและแกลเลียม ที่ให้ค่าร้อยละการเปลี่ยนแปลงและค่าร้อยละการเลือกเกิดของเอทิลีนสูงสุด คือ Bm2.0B และ Ƴ2.0B สำหรับตัวเร่งปฏิกิริยาแกมมาอะลูมินาที่ปรับปรุงด้วยโบรอนและแกลเลียม เนื่องจากปริมาณโบรอนที่ปรับปรุง จะส่งผลต่อความเป็นกรดแรงปานกลางถึงกรดที่รุนแรงสูงขึ้นตามปริมาณที่ปรับปรุง
Other Abstract: This research investigated the Boehmite catalysts modified with boron (B) and gallium (Ga) various amount of B and Ga at 0.5, 1.0 and 2.0 wt.%, respectively, the catalysts prepared by the wet impregnation method, And investigated the gamma alumina catalysts from the calcination at temperature 600 °C for 4 hours modified with B and Ga various amount of B and Ga at 0.5, 1.0 and 2.0 wt.%, then calcined at 500 °C for 4 hours. The catalysts were characterized by X-ray diffraction (XRD) Scanning electron microscopy (SEM) Energy dispersive X-ray spectroscopy (EDX) N2 physisorption (BET) and Temperature programmed desorption (NH3 -TPD). The results of all catalysts modified with B and Ga not affected the structure of crystalline and not changed the morphology but modification had influence with distribution of Ga loading, decreased surface area and increased surface acidity . The performance on dehydration of ethanol to ethylene at temperature ranging between 200 - 400 °C at atmospheric pressure for these catalysts was analyzed by gas chromatography. The result showed that the Boehmite catalysts with the highest both ethanol conversion and ethylene selectivity was Bm2.0B and Ƴ2.0B for the gamma alumina catalysts was observed due to its high dehydration ability because the medium-strong acid site was increased following B loading.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเคมี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42920
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.519
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.519
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5470960721.pdf4.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.