Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43002
Title: การพัฒนาการสื่อสารเตือนภัยในพื้นที่เสี่ยงภัยผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่
Other Titles: DEVELOPMENT OF MOBILE DISASTER WARNING COMMUNICATION IN RISK AREAS
Authors: ญาธินี ตันติวิวัฒน์
Advisors: พิรงรอง รามสูต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Pirongrong.R@chula.ac.th
Subjects: การเตือนภัย
ภัยพิบัติ
บริการส่งข้อความทางโทรศัพท์เคลื่อนที่
Warnings
Disasters
Short message service
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาบทบาทและแนวทางปฏิบัติด้านการสื่อสารของภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารแจ้งเตือนภัย 2) เพื่อศึกษารูปแบบการใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่และความคาดหวังของประชาชนในพื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามันต่อการสื่อสารแจ้งเตือนภัยผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการสื่อสารแจ้งเตือนภัยสึนามิผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ในพื้นที่เสี่ยงภัยชายฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย วิธีการวิจัยประกอบด้วยการศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก ประกอบกับการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามกับประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยสึนามิ รวม 400 ราย และการสัมภาษณ์ตัวแทนประชาชนอีก 15 ราย และการสัมภาษณ์ข้อคิดเห็นจากตัวแทนผู้เชี่ยวชาญ อีก 5 ราย ผลการศึกษาพบว่าศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (ศภช.) มีบทบาทหลักเป็นผู้ส่งสารหลักในกระบวนการสื่อสาร และ มีแนวทางการปฏิบัติตอบสนองต่อสถานการณ์ภัยพิบัติแบบดั้งเดิม (Traditional Model) ใช้ข้อความสั้นเป็นช่องทางการสื่อสารเจาะจงไปยังภาครัฐส่วนกลาง-ภูมิภาค-ท้องถิ่น ธุรกิจโรงแรมและสื่อมวลชน โดยมีผู้นำในภาคส่วนท้องถิ่นกระจายข้อมูลต่อไปยังประชาชนผู้เสี่ยงภัยสอดคล้องกับแนวคิดทฤษฎีการสื่อสาร 2 ขั้นตอน โดยมีผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นผู้เชื่อมโยงและถ่ายทอดสัญญาณการสื่อสาร และบางส่วนมีบทบาทเสริมเป็นผู้เฝ้าประตูข่าวสารที่กระจายข้อความสั้นของผู้ให้บริการเครือข่ายบางรายไปยังผู้เสี่ยงภัย สำหรับจุดแข็งและโอกาสของการพัฒนาให้โทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นเครื่องมือหลักในการสื่อสารเตือนภัยสึนามิ พบจากการสำรวจด้วยแบบสอบถามผู้เสี่ยงภัยจำนวน 400 คนในพื้นที่ชายฝั่งอันดามันว่า ผู้เสี่ยงภัยมีการใช้งานสมาร์ทโฟนมากที่สุด (58%) มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เนตค่อนข้างสูง (64.50%) เกือบทั้งหมดมีการพกพามือถือติดตัวตลอด และมีการใช้งานมือถือสูงขึ้นในช่วงเสี่ยงภัย โดยผู้เสี่ยงภัยคาดหวังให้มีการเตือนภัยผ่านมือถืออยู่ในระดับมากโดยเฉพาะในรูปแบบข้อความสั้น ซึ่งสอดคล้องกับแผนแม่บทโทรคมนาคมของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่กำหนดภาระหน้าที่ให้กับผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่มีส่วนในการสื่อสารเตือนภัยเพื่อป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในการสรุปสังเคราะห์ ผู้วิจัยเสนอ 3 แนวทางในการพัฒนาการการสื่อสารเตือนภัยผ่านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ดังนี้ 1)การผสานความร่วมมือระหว่างรัฐ ผู้ให้บริการเครือข่าย และประชาชน เพื่อให้ผู้เสี่ยงภัยมีสิทธิได้รับการแจ้งเตือนภัยผ่านข้อความสั้นทันทีและทั่วถึง 2) การบูรณาการการใช้เทคโนโลยีสื่อสารสมัยใหม่ เพื่อใช้งานระบบออนไลน์บนโทรศัพท์มือถือเสริมกับข้อความสั้น รองรับผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนและการใช้อินเทอร์เน็ตที่มีมากขึ้น 3) การใช้ทักษะและความรู้เข้าขับเคลื่อน เพื่อสร้างความเข้าใจต่อภัยพิบัติ ควบคู่กับการสร้างความรู้เท่าทันสื่อ เพื่อลดปัญหาการแพร่กระจายข่าวลือในช่วงภัยพิบัติ
Other Abstract: This research has the following objectives: to study practices and communication role of sectors related to disaster communication in the Andaman coast of Thailand, to study mobile phone use patterns of residents in this Tsunami-prone area, and to recommend disaster communication approach via mobile phones that are appropriate for the area. Research methodologies include documentary research, questionnaire-based surveys with 400 residents in the studied areas – Pang-nga, Krabi, Phuket and Ranong -- and in-depth interviews with 15 local representatives and five experts in the area of disaster communication. The study finds that The National Disaster Warning Center (NDWC) mainly plays the role of sender in the communication process and tends to respond to disaster situation using traditional model of communication. The NDWC sends short message (SMS) carrying disaster warning to government organizations – central, regional, local – as well as hotels, media, and local opinion leaders who henceforth send the message to residents in the risk areas, in accordance with the two-step-flow model of communication. Meanwhile, all mobile phone service providers act as linking nodes in the communication process while some act as information gatekeepers who select and disseminate information directly to the target populace. The research concludes with the following recommendations: 1) strengthening cooperation between government, private, and people’s sectors to enable immediate and in-time disaster warning; 2) integration of new communication technology such as online applications to complement SMS to cater to the growing number of smart phone and internet users; 3) capacity-building activities to promote skills and knowledge about disaster mitigation together with promotion of media literacy to alleviate rumors during disaster situations.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43002
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.470
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.470
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5484662028.pdf8.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.