Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43045
Title: การแยกสาหร่ายจากเฟสของเหลวด้วยกระบวนการร่วมระหว่างการทำให้ลอยด้วยอากาศละลาย กระบวนการโคแอกกูเลชัน และการกรอง
Other Titles: SEPARATION OF ALGAE FROM LIQUID PHASE BY COMBINATION OF DISSLOVED AIR FLOTATION, COAGULATION AND FILTRATION PROCESSES
Authors: อรภา ปรีชาวาท
Advisors: พิสุทธิ์ เพียรมนกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: pisut114@hotmail.com
Subjects: มลพิษทางน้ำ
ยูโทรฟิเคชัน
สาหร่ายเซลล์เดียว
Water -- Pollution
Eutrophication
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัจจุบันสาหร่ายเซลล์เดียวนับเป็นมลภาวะทางน้ำชนิดหนึ่ง เนื่องจากทำให้เกิดปรากฏการณ์ยูโทรฟิเคชันส่งผลให้แหล่งน้ำเกิดสี กลิ่น และรสอันไม่พึงประสงค์ นอกจากนี้ยังพบว่าอนุภาคสาหร่ายเซลล์เดียวนำมาพัฒนาเป็นพลังงานทางเลือกที่ใช้พื้นที่ในการเพาะปลูกน้อยกว่าพืชชนิดอื่นๆ งานวิจัยนี้จึงสนใจศึกษาและเปรียบเทียบประสิทธิภาพการแยกสาหร่ายออกจากเฟสของเหลวด้วยการตกตะกอนตามธรรมชาติ กระบวนการร่วมระหว่างโคแอกกูเลชันและการทำให้ลอยด้วยอากาศละลาย (MDAF) และกระบวนการไฮบริด (MDAF ร่วมกับการกรอง) โดยใช้สาหร่ายสายพันธุ์คลอเรลลาช่วงการเจริญเติบโตแบบเต็มที่ (Log phase) ในการเตรียมน้ำสังเคราะห์ที่ความเข้มข้นต่างๆ เพื่อทำการแยกอนุภาคในถังปฏิกิริยากว้าง 0.25 เมตร ยาว 1.15 เมตร และสูง 1.6 เมตร โดยเลือกใช้สารส้มและสารแคลเซียมคลอไรด์เป็นสารโคแอกกูแลนท์ ส่งผลให้ประสิทธิภาพของกระบวนการตกตะกอน กระบวนการร่วมระหว่างโคแอกกูเลชันและการทำให้ลอยด้วยอากาศละลาย (MDAF) และกระบวนการไฮบริด (MDAF ร่วมกับการกรอง) มีประสิทธิภาพการแยก คือ 9% 72.4% และ 94.8% ตามลำดับ และประสิทธิภาพการกักเก็บอนุภาคสาหร่ายออกจากเฟสของเหลวด้วยกระบวนการไฮบริด คือ 89.1% พบว่าประสิทธิภาพการแยกอนุภาคสาหร่ายออกจากเฟสของเหลวขึ้นกับลักษณะของอนุภาค เช่น ขนาด และค่าซีต้าโพแทนเชียว นอกจากนี้งานวิจัยคาดว่าในอนาคตการศึกษาและพัฒนาอุปกรณ์สำหรับกักเก็บอนุภาคสาหร่ายออกจากถังปฏิกิริยาจะส่งผลให้ประสิทธิภาพการกักเก็บอนุภาคสูงขึ้นได้
Other Abstract: Algae bloom is one of important water pollution (i.e. taste, odor, and turbidity). Algae were among contaminants that cause problems in water treatment process due to their small size and suspension. In addition, the algae are chosen as an alternative energy crop that uses less space than other crops. The objective of this work is to study the separation mechanism of algae using sedimentation process, modified dissolved air flotation (MDAF) process which is the combined process between the coagulation and dissolved air flotation processes and hybrid process (MDAF+Filtration). The algae (Chlorella sp.) in log phases were used for preparing the synthesis wastewater. A flotation tank with 0.25 m width, 1.15 m length and 1.6 m height was applied in the separation process. Aluminium sulfate (alum) and calcium chloride were used as a coagulant. The results showed that, the treatment efficiencies (%Eff) were greater than those obtained with algae separation. The %Eff values related with decantation, MDAF and hybrid processes were 9%, 72.4% and 94.8%, respectively. The hybrid process can accumulate the algae from water 89.1%. In addition, size and zeta potential of particles as well as the suspension capacity in liquid phase should be considered as important parameters affecting the overall treatment efficiency. In the future, studying the skimmer for accumulation algae scum will be higher accumulation efficiency.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43045
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.514
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.514
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5570454621.pdf4.64 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.