Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43065
Title: การสร้างแผนภาพลำดับด้วยเทคโนโลยีการแปลงตัวแบบ
Other Titles: SEQUENCE DIAGRAM GENERATION WITH A MODEL TRANSFORMATION TECHNOLOGY
Authors: พจนา แซวประโคน
Advisors: ญาใจ ลิ่มปิยะกรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Yachai.L@chula.ac.th
Subjects: โปรแกรมคอมพิวเตอร์ -- การทดสอบ
โอเพนซอร์สซอฟต์แวร์
ซอฟต์แวร์ -- การพัฒนา
Computer programs -- Testing
Open source software
Computer software -- Development
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การสร้างแผนภาพลำดับด้วยเครื่องมือยูเอ็มแอล อาจจะไม่สมบูรณ์ ไม่สอดคล้อง และไม่ถูกต้อง วิธีนี้ต้องใช้ความเชี่ยวชาญ แรงงาน และเวลา ด้วยเทคโนโลยีการแปลงตัวแบบ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้นำเสนอแนวทางการสร้างแผนภาพลำดับยูเอ็มแอลแบบอัตโนมัติจากคำอธิบายยูสเคสและแผนภาพคลาส เอทีแอลถูกใช้เป็นภาษาการแปลงตัวแบบสำหรับการแปลงเมทาโมเดลต้นทางของคำอธิบายยูสเคสและแผนภาพคลาส ให้เป็นเมทาโมเดลเป้าหมายของแผนภาพลำดับ ด้วยการเรียกใช้เอพีไอของซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ไฟล์ผลลัพธ์ที่อยู่ในรูปแบบเอกซ์เอ็มไอจะถูกแปลงต่อให้เป็นไฟล์ข้อความที่เหมาะสำหรับการแสดงผลเป็นภาพแผนภาพลำดับซึ่งเป็นผลลัพธ์สุดท้าย วิธีการที่นำเสนอจะช่วยในการปรับปรุงกระบวนการซอฟต์แวร์ โดยการใช้เทคโนโลยีการแปลงตัวแบบจะสนับสนุนการนำกลับมาใช้ซ้ำของสารสนเทศที่ใช้ในการสร้างตัวแบบก่อนหน้า แทนที่จะสร้างตัวแบบใหม่ทุกครั้งในเฟสต่างๆระหว่างวัฏจักรการพัฒนา ทั้งยังเพิ่มความถูกต้องตรงกันระหว่างตัวแบบทั้งหลายที่แทนมุมมองต่างๆของระบบอีกด้วย
Other Abstract: Creating Sequence diagrams with UML tools can be incomplete, inconsistent, and incorrect. It also requires expertise, effort, and time. With model transformation technology, this thesis presents an approach to automate the generation of UML Sequence diagrams from Use Case Description and Class diagrams. ATL is used as the model transformation language for converting the source metamodels of Use Case description and Class diagrams to the target metamodel of Sequence diagram. With the API call of the Open Source software, the resulting file in XMI format is then transformed to another text file that suits for rendering the image of Sequence diagram as the final output. The proposed method would result in the improvement of software process. Rather than constructing the models from scratch during the different development life cycle stages, model transformations enable the reuse of information that was once modeled, as well as enhance the consistency among the models representing different views of the system.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมซอฟต์แวร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43065
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.529
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.529
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5570987821.pdf6.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.