Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43070
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorถนอมวงศ์ กฤษณ์เพ็ชร์en_US
dc.contributor.advisorวิภาวดี ลี้มิ่งสวัสดิ์en_US
dc.contributor.authorนันท์ชนก เปียแก้วen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬาen_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:23:52Z
dc.date.available2015-06-24T06:23:52Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43070
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการสูดดมน้ำมันลาเวนเดอร์ที่มีต่อความเครียดและคลื่นสมองของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างคือนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่กำลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษา 2556 ช่วงอายุ 18 - 22 ปี เพศหญิง มีระดับความเครียดที่ 25 - 42 คะแนน (เครียดระดับปานกลาง) จากแบบวัดความเครียดสวนปรุง โรงพยาบาลสวนปรุง กรมสุขภาพจิต จำนวน 36 คน ผู้เข้าร่วมการทดลองทุกคน ทำการทดลองทั้ง 2 สภาวะ ซึ่งกำหนดให้สภาวะที่ 1 คือการสูดดมน้ำมันสวีทอัลมอนด์ และสภาวะที่ 2 คือการสูดดมน้ำมันลาเวนเดอร์ โดยต้องจับสลากสภาวะในการทดลองระหว่างสภาวะที่ 1 และ 2 หรือสภาวะที่ 2 และ 1 แต่ละสภาวะทดลองห่างกัน 7 วัน ผู้เข้าร่วมการทดลองทำแบบวัดความเครียดสวนปรุงก่อนการทดลอง จากนั้นจึงทำการบันทึกคลื่นสมอง ในขณะที่นั่งพักเป็นเวลา 5 นาที สูดดมน้ำมันสวีทอัลมอนด์หรือน้ำมันลาเวนเดอร์ 2 นาที พัก 30 วินาที จนครบสูดดมครบ 10 นาที และนั่งพักอีก 20 นาที จึงเสร็จสิ้นการบันทึกคลื่นสมอง แล้วจึงทำแบบสอบถามความพึงพอใจและแบบวัดความเครียดสวนปรุงหลังการทดลอง นำผลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบภายในกลุ่ม ด้วยค่าทีรายคู่ (Paired t-test) เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มด้วยค่าทีแบบเป็นอิสระ (Independent t-test) วิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (ANCOVA) และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวชนิดวัดซ้ำ (One-way ANOVA with Repeated Measures) ผลการวิจัย 1. ค่าเฉลี่ยของคะแนนความเครียดนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกลุ่มที่สูดดมน้ำมันสวีทอัลมอนด์และกลุ่มที่สูดดมน้ำมันลาเวนเดอร์เปรียบเทียบภายในกลุ่ม ก่อนการทดลองและหลังการทดลอง และเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม หลังการทดลอง พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ค่าเฉลี่ยแอมพลิจูดคลื่นสมองอัลฟา ช่วงก่อนสูดดม และขณะสูดดมของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กลุ่มที่สูดดมน้ำมันสวีทอัลมอนด์และกลุ่มที่สูดดมน้ำมันลาเวนเดอร์ พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในขณะที่คลื่นสมองเบต้าพบว่าไม่แตกต่างกัน 3. ค่าเฉลี่ยแอมพลิจูดคลื่นสมองอัลฟาและคลื่นสมองเบต้าของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกลุ่มที่สูดดมน้ำมันสวีทอัลมอนด์และกลุ่มที่สูดดมน้ำมันลาเวนเดอร์เปรียบเทียบภายในกลุ่ม ก่อนการทดลอง ระหว่างการทดลองในนาทีที่ 0.00 - 2.00, 2.30 - 4.30, 5.00 - 7.00, 7.30 - 9.30, 10.00 - 12.00 และหลังการทดลองพบว่าไม่แตกต่างกัน สรุปผลการวิจัย น้ำมันลาเวนเดอร์มีผลต่อการลดความเครียดและทำให้คลื่นสมองประเภทอัลฟาเพิ่มขึ้น ซึ่งแสดงถึงสภาวะจิตที่ผ่อนคลายen_US
dc.description.abstractalternativePurpose: The purpose of this study was to determine the effects of lavender oil inhalation on stress and brain waves in Chulalongkorn university students. Methods: Subjects were 36 female students of Chulalongkorn university in 2013 academic year, ages between 18-22 years. The Suanprung stress test from Department of Mental Health, Suanprung hospital, was administered to identify their stress levels. These participants’ scores ranged between 25 to 42 which indicated that they had a medium stress level. Subjects were experimented randomly in two conditions. Condition 1, they inhaled Sweet Almond Oil, then Lavender Oil (SO/LO) whereas condition 2, they inhaled Lavender Oil and followed with Sweet Almond Oil (LO/SO). The experimented procedure started with (1) completing a pre-stress test survey, (2) resting for 5 minutes, (3) inhaling oil in condition 1 or 2 for 10 minutes (2 minutes of inhalation and 30 seconds of break), (4) resting for 20 minutes, (5) measuring brain wave, and (6) completing the post-stress test survey and contentment questionnaire. After performing one condition, subjects rested for 7 days then did the second condition. The obtained data were analyzed by calculating mean and standard deviation. The paired t-test was used for a within-group comparison, independent t-test for a between-group comparison, and data were analyzed by Analysis of Covariance (ANCOVA) for pre-test as a covariate. Results: 1. The mean stress test scores of Chulalongkorn university students for who inhale Sweet Almond oil and Lavender oil compared within group and between groups after the experiment were statistically significant at the .05 level. 2. The difference in alpha brain wave’s mean scores before inhalation and during the inhalation of Chulalongkorn university students for who inhale Sweet Almond oil and Lavender oil were statistically significant at the .05 level, while beta brain wave’s mean scores did not display any statistical significance at the .05 level. 3. The difference in alpha and beta brain wave’s mean scores before inhalation, during the inhalation in minutes 0.00 - 2.00, 2.30 - 4.30, 5.00 - 7.00, 7.30 - 9.30, 10.00 - 12.00 and after inhalation of Chulalongkorn university students for who inhale Sweet Almond oil and Lavender oil did not display any statistical significance at the .05 level. Conclusion: Lavender oil can reduce levels of stress and increase the alpha brain wave, indicating a state of relaxation.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.542-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมอง
dc.subjectความเครียด (จิตวิทยา)
dc.subjectน้ำมันหอมระเหย -- การใช้รักษา
dc.subjectElectroencephalography
dc.subjectStress (Psychology)
dc.subjectEssences and essential oils -- Therapeutic use
dc.titleผลของการสูดดมน้ำมันลาเวนเดอร์ที่มีต่อความเครียดและคลื่นสมองของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.title.alternativeEFFECTS OF INHALING LAVENDER OIL ON STRESS AND BRAIN WAVES IN CHULALONGKORN UNIVERSITY STUDENTSen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์การกีฬาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisortkritpet@yahoo.comen_US
dc.email.advisorwipawadee@yahoo.com
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.542-
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5578302339.pdf5.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.