Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43103
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชนินทร์ชัย อินทิราภรณ์en_US
dc.contributor.authorเสกข์ศักย์ ธิติศักดิ์en_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬาen_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:24:07Z
dc.date.available2015-06-24T06:24:07Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43103
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการฝึกพลังกล้ามเนื้อขาระหว่างการฝึกด้วยแรงต้านแบบมีการพักระหว่างการออกแรง กับวิธีการฝึกด้วยแรงต้านแบบประเพณีนิยม ว่ามีผลต่อการพัฒนาพลังกล้ามเนื้อชนิดใช้งานอย่างเป็นวงจร และพลังกล้ามเนื้อชนิดใช้งานอย่างไม่เป็นวงจร แตกต่างกันอย่างไร กำหนดกลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตเพศชาย คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 50 คน ด้วยวิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง แบ่งเป็น 2 กลุ่มด้วยการกำหนดกลุ่มแบบสุ่ม กลุ่มละ 25 คน กลุ่มทดลองที่ 1 ทำการฝึกด้วยน้ำหนัก 85% ของน้ำหนักที่ทำได้สูงสุด โดยการออกแรงติดต่อกันจำนวน 5 ครั้ง กลุ่มทดลองที่ 2 ทำการฝึกด้วยน้ำหนัก 85% ของน้ำหนักที่ทำได้สูงสุด โดยการออกแรง 1 ครั้ง พักระหว่างการออกแรง 20 วินาที จำนวน 5 ครั้ง ฝึกเป็นเวลา 6 สัปดาห์ ทำการทดสอบเพื่อเปรียบเทียบผลก่อน และหลังการฝึกด้วยการทดสอบกระโดดแบบมีการพักระหว่างการกระโดด 20 วินาที และกระโดดต่อเนื่อง นำค่าการส่งออกพลังสูงสุดต่อน้ำหนักตัว แรงกระทำต่อพื้นในแนวดิ่งสูงสุดต่อน้ำหนักตัว และความเร็วคานสูงสุด เฉลี่ยตั้งแต่ครั้งที่ 1 ถึงครั้งที่ 5 มาทำการทดสอบค่า “ที” ที่ตัวอย่างสองชุดเกี่ยวข้องกัน (Pair samples t-test) ภายในกลุ่ม และนำค่าหลังการฝึก ของทั้งสองรูปแบบมาเปรียบกันระหว่างกลุ่มด้วยการทดสอบค่า “ที” ที่ตัวอย่างเป็นอิสระกัน (Independent samples t-test)โดยในกรณีที่การทดสอบความเท่ากันของค่าเฉลี่ยก่อนการฝึกพบว่ามีความแตกต่าง จะใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (ANCOVA) ในการทดสอบระหว่างกลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการเปรียบเทียบค่าองค์ประกอบของพลังกล้ามเนื้อขาก่อนและหลังการฝึกภายในกลุ่มทั้งสองกลุ่มมีการพัฒนาพลังกล้ามเนื้อมากขากว่าก่อนการฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ผลการเปรียบเทียบค่าองค์ประกอบของพลังกล้ามเนื้อขาหลังการฝึกระหว่างทั้งสองกลุ่ม ไม่แตกต่างกัน สรุปผลการทดลอง การฝึกด้วยแรงต้านแบบมีการพักระหว่างการออกแรง และการฝึกด้วยแรงต้านแบบประเพณีนิยมมีผลการพัฒนาพลังกล้ามเนื้อขาไม่แตกต่างกัน แต่การฝึกด้วยแรงต้านแบบมีการพักระหว่างการออกแรงมีแนวโน้มในการพัฒนาองค์ประกอบของพลังกล้ามเนื้อขาได้หลากหลายรูปแบบมากกว่าen_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research is to compare the different result between cluster and traditional resistance legs muscular power training which effect on development of the cyclic type muscular power and the acyclic type muscular power. By Purposively selective subject 50 male students from Faculty of Sports Science, Chulalongkorn University were divided into 2 groups (25 students per group) by random assignment. First group was assigned to a training program with 85 % of 1RM, with 20 seconds rest interval between repetitions for 5 repetitions. Second group was assigned to a training program with 85 % of 1 RM, for 5 repetitions continuously. After the 6 weeks training, Performance evaluated by counter movement jump test was performed at pre- and post-training. Differences in the mean values of peak power output, peak ground reaction force and peak bar velocity from repetition 1 to repetition 5 within group and between groups were assessed by pair t-test and independent t-test, respectively. ANCOVA was used if the pre-test values between groups were different.Results : 1. A comparison of pre-test and post-test result in each group show that, both group has developed legs muscular power by statistically significant (P<.05) 2. Not found the different, between the cluster resistance training group and the traditional resistance training froup, in the comparison between after trained results of the legs muscular power component. Conclusion: The cluster resistance training is an effective conditioning for improving muscular power as the traditional resistance training, But, cluster resistance training tends to developing more various in leg muscular component.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.575-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectขา -- กล้ามเนื้อ
dc.subjectกำลังกล้ามเนื้อ
dc.titleการเปรียบเทียบผลการฝึกด้วยแรงต้านแบบมีการพักระหว่างการออกแรง กับแบบประเพณีนิยมที่มีต่อการพัฒนาพลังกล้ามเนื้อขาen_US
dc.title.alternativeA COMPARISON OF EFFECTS OF CLUSTER AND TRADITIONAL RESISTANCE TRAINING FOR IMPROVING LEG MUSCULAR POWERen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์การกีฬาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorc.intiraporn@yahoo.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.575-
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5578421339.pdf3.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.