Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43225
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สีรง ปรีชานนท์ | en_US |
dc.contributor.author | ณัฐชยา ลายล้อมทอง | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-06-24T06:25:10Z | |
dc.date.available | 2015-06-24T06:25:10Z | |
dc.date.issued | 2556 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43225 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 | en_US |
dc.description.abstract | แผนกผู้ป่วยนอกเป็นแผนกที่สำคัญของโรงพยาบาล เนื่องจากผู้ป่วยส่วนมากจะต้องเข้าสู่แผนกนี้เป็นแผนกแรก ซึ่งถ้าหากไม่มีการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ จะทำให้เกิดความแออัด รวมทั้งทำให้ผู้ป่วยต้องใช้เวลารอที่ค่อนข้างนาน ในงานวิจัยนี้ได้ทำการวิจัยกับโรงพยาบาลชุมชนในกรณีศึกษา พบว่าในช่วงวันทำการจะมีผู้ป่วยประมาณ 150 คนต่อวัน ซึ่งผู้ป่วยจะต้องใช้เวลาที่แผนกผู้ป่วยนอกเฉลี่ยประมาณ 2 ชั่วโมงครึ่ง ซึ่งส่วนมากผู้ป่วยมักใช้เวลาไปกับการรอรับบริการ โดยจากการเก็บข้อมูลพบว่าผู้ป่วยมีแนวโน้มที่จะมากระจุกตัวในช่วงเช้า โดยคาดหวังว่าจะได้พบแพทย์ที่เร็วกว่า ทำให้ผู้ป่วยใช้เวลารอค่อนข้างนานโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่มาเช้า ซึ่งสาเหตุของการที่ผู้ป่วยใช้เวลาที่แผนกผู้ป่วยนอกนานนั้นมีอยู่หลายสาเหตุ แต่สาเหตุหลักสำหรับงานวิจัยนี้ ได้แก่ ความไม่สมดุลของจำนวนผู้ป่วยในแต่ละช่วงเวลา โดยงานวิจัยนี้ได้นำเสนอระบบนัดหลากหลายรูปแบบ ที่สามารถกระจายผู้ป่วยไปในแต่ละช่วงเวลาได้ เพื่อที่จะทำให้เวลารอของผู้ป่วยลดลง ในการทดสอบระบบได้ทำการสร้างแบบจำลองขึ้นมาเพื่อทำการทดสอบระบบนัดที่ออกแบบขึ้น จากผลการทดลองพบว่าการนัดผู้ป่วยทุก 30 นาทีและนัดผู้ป่วยจำนวนมากในช่วงกลางของคลินิก เป็นรูปแบบที่ทำให้ผู้ป่วยใช้เวลาในระบบน้อยที่สุดซึ่งลดลงจากปัจจุบันร้อยละ 25.90 โดยไม่ทำให้แพทย์ต้องทำงานล่วงเวลา แต่ถ้าหากเพิ่มอัตราการมาสายของผู้ป่วยแล้วพบว่าระบบนัดที่เหมาะสมจะเปลี่ยนแปลงไป โดยควรนัดผู้ป่วยทุก 60 นาทีและนัดผู้ป่วยจำนวนมากในช่วงต้นของคลินิก ซึ่งระบบนี้ยังคงลดเวลาได้ร้อยละ 21.33 นอกจากนี้ ยังได้ทำการจัดการทำงานของแพทย์ที่เหมาะสม เพื่อปรับให้มีจำนวนแพทย์ในแต่ละช่วงเวลาเหมาะสมกับจำนวนผู้ป่วย โดยตัวชี้วัดที่ใช้ ได้แก่ เวลารอของผู้ป่วย และ สัดส่วนอรรถประโยชน์ของแพทย์ ในการจัดตารางสำหรับแพทย์เฉพาะทาง จะเน้นที่สัดส่วนอรรถประโยชน์ของแพทย์โดยการลดเวลาการลงตรวจของแพทย์ลงเพื่อเพิ่มสัดส่วนอรรถประโยชน์ ทั้งนี้การลดเวลาการลงตรวจของแพทย์จะทำให้เวลารอพบแพทย์ของผู้ป่วยเพิ่มขึ้น แต่หากทำคู่กับระบบนัดก็ยังคงช่วยลดเวลาได้ ส่วนทางด้านแพทย์ตรวจโรคทั่วไปจะเป็นการพิจารณาจำนวนแพทย์ที่ควรจะมีในแต่ละเวลา เพื่อให้สอดคล้องกับจำนวนผู้ป่วย ซึ่งผลการทดลองได้นำเสนอถึงตารางการลงตรวจของแพทย์สำหรับช่วงทั่วไป ช่วงต้นและปลายสัปดาห์ ช่วงกลางสัปดาห์ และสำหรับกรณีที่มีการทำควบคู่กับระบบนัด ซึ่งรูปแบบต่างๆสามารถช่วยลดเวลารอของผู้ป่วยลงได้ | en_US |
dc.description.abstractalternative | Outpatient department is an essential part of the hospital due to the fact that it is the first common step for most of the patients who receive treatment in a hospital. Without efficient management, the outpatients may experience long waiting times. We study a rural hospital in Thailand at which about 150 outpatients pay a visit every day. Patients spend a little more than two hours and a half in the hospital, most of it is waiting times. Our preliminary study results show that patients tend to arrive very early in the morning hoping to meet the doctor and finish the visit as possible. This leads to long waiting time especially for those who arrive in that early morning period. There are different reasons for long waiting times but the major reason in this study is the imbalance of the amount of patients in each period. We propose a variety of appointment systems that may spread out the patients’ arrivals and as a result reduce long waiting time. Simulation models were developed to test the appointment systems. The results show that the 30 minutes interval which appoints more patients at the middle of clinic session has the lowest of patients’ waiting time which decrease from the present by 25.90% without making doctor over time. But with more percentage of patients’ lateness, an appropriate appointment system was changed. The 60 minutes interval which appoints more patients at the beginning of clinic session is the one which gave the lowest of patients’ waiting time decreasing from the present by 21.33%. Moreover, we identify doctor scheduling which balancing a number of doctors and patients in each period. For major specialty doctors, we focus on increasing doctors’ utilization by decreasing doctor working time. For general doctors, we identify a number of doctors that should have in each period. The results are provided for many cases which can reduce patients’ waiting time. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.798 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การออกแบบระบบ | |
dc.subject | โรงพยาบาล -- การบริหาร | |
dc.subject | โรงพยาบาล -- แผนกผู้ป่วยนอก | |
dc.subject | System design | |
dc.subject | Hospitals -- Administration | |
dc.subject | Hospitals -- Outpatient service | |
dc.title | การลดเวลารอของผู้ป่วยที่แผนกผู้ป่วยนอก | en_US |
dc.title.alternative | PATIENT'S WAITING TIME REDUCTION IN OUTPATIENT DEPARTMENT | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมอุตสาหการ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | seeronk@gmail.com | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2013.798 | - |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5670193921.pdf | 3.73 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.