Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43273
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชนพ ช่วงโชติen_US
dc.contributor.authorศิรินภา ศรีคำen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:36:44Z
dc.date.available2015-06-24T06:36:44Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43273
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractโรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคติดเชื้อร้ายแรงทางระบบประสาท มีสองกลุ่มอาการคือแบบคลุ้มคลั่งและแบบอ่อนแรง (เซื่องซึมในสุนัข) ซึ่งกลไกการเกิดโรคของสองกลุ่มอาการยังไม่แน่ชัด การศึกษาก่อนหน้านี้ในผู้ป่วยและสุนัขที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้าที่ระยะท้ายของโรคไม่พบความแตกต่างของทั้งสองกลุ่มอาการ ต่อมามีการศึกษาในสุนัขบ้าที่ระยะแรกของโรค พบความแตกต่างกันในสองกลุ่มอาการ โดยการศึกษาภาพสมองและไขสันหลังด้วยเครื่องสนามแม่เหล็กไฟฟ้าพบความผิดปกติในกลุ่มอาการเซื่องซึมมากกว่ากลุ่มอาการคลุ้มคลั่ง การศึกษาการอักเสบพบการอักเสบเด่นชัดในกลุ่มอาการเซื่องซึม ในขณะที่การศึกษาปริมาณเชื้อพิษสุนัขบ้าพบว่าในกลุ่มอาการคลุ้มคลั่งมีปริมาณไวรัสมากกว่า การค้นพบนี้บ่งบอกว่า ความแตกต่างระหว่างโรคพิษสุนัขบ้าแบบคลุ้มคลั่งและแบบอ่อนแรงพบเฉพาะในระยะแรกของโรค การตายของเซลล์มีบทบาทสำคัญในการป้องกันการติดเชื้อโดยการกำจัดเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัส เชื้อไวรัสโรคพิษสุนัขบ้าสายพันธุ์ไม่รุนแรง (attenuated strains) มีความสามารถในการเหนี่ยวนำให้เกิดการตายของเซลล์ประสาท ในขณะที่เชื้อไวรัสโรคพิษสุนัขบ้าสายพันธุ์รุนแรง (wild-type) เหนี่ยวนำให้เกิดการตายของเซลล์อักเสบ อย่างไรก็ตามการศึกษาส่วนใหญ่ทำการศึกษาในระยะท้ายของโรค การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการตายของเซลล์ระหว่างกลุ่มอาการคลุ้มคลั่งและกลุ่มอาการอ่อนแรงของโรคพิษสุนัขบ้าในระยะแรกของโรคว่ามีความแตกต่างกันหรือไม่ โดยทำการศึกษาในตัวอย่างสุนัขที่ติดเชื้อพิษสุนัขบ้าตามธรรมชาติชนิดคลุ้มคลั่งและชนิดเซื่องซึม 17ตัวอย่าง ประกอบด้วย ตัวอย่างในระยะแรกของโรค แบ่งเป็นกลุ่มอาการคลุ้มคลั่ง 5 ตัวอย่าง กลุ่มเซื่องซึม 6 ตัวอย่าง และตัวอย่างในระยะท้ายของโรค กลุ่มละ 3 ตัวอย่าง ที่บริเวณ สมอง ก้านสมอง และไขสันหลัง โดยใช้เทคนิค Tunel ในการตรวจสอบ ผลการศึกษาพบการตายของเซลล์ประสาทและเซลล์อักเสบที่บริเวณก้านสมองและไขสันหลัง ซึ่งพบบริเวณก้านสมองมากที่สุด โดยที่พบในกลุ่มเซื่องซึมมากกว่ากลุ่มคลุ้มคลั่ง และพบแค่ในระยะแรกของโรค การตายของเซลล์ประสาทจะเกิดขึ้นในการติดเชื้อพิษสุนัขบ้าตามธรรมชาติซึ่งพบเฉพาะในระยะแรกของโรค ซึ่งการตายของเซลล์ประสาทที่พบมากบริเวณก้านสมองในระยะแรกของโรคนั้นอาจจะช่วยในการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อพิษสุนัขบ้าไปยังสมองในกลุ่มอ่อนแรง และอธิบายถึงระยะเวลาการมีชีวิตของกลุ่มอาการอ่อนแรงที่มากกว่าในกลุ่มอาการคลุ้มคลั่งอีกด้วยen_US
dc.description.abstractalternativeRabies encephalitis is a fatal infectious disease that is often neglected. The pathogenesis of encephalitic (furious) and paralytic (dumb) rabies, the two distinct clinical subtypes of rabies in dogs and humans, is not fully understood. Earlier studies in human at the late stage of disease or at postmortem did not show differences between the two forms. In contrast, recent studies at the early stage of rabies infection in dogs have demonstrated differences in terms of neuroimaging (more disturbance in dumb rabies), inflammatory response (more pronounced in dumb rabies), and viral burden (more virus in furious dogs). These findings imply that differences between the furious and paralytic rabies are present only at the early stage of infection. Apoptosis plays an important role as a defensive mechanism in eliminating virus-infected cells. While attenuated strains of rabies virus induce apoptosis of neurons, the wild-type (virulent) virus produces apoptosis of inflammatory cells. Most of the studies were, however, performed at the terminal stage of infection. The current study was aimed to determine whether there are differences in the pattern of apoptosis between furious and dumb rabies at the early stage of disease. 17 rabid dogs were studied, including the early stage of furious (N=5) and dumb (N=6) rabies, and the terminal stage of rabies (3 of each clinical forms). For all cases, apoptosis was evaluated by TUNEL technique on the frontal lobe, hippocampus, brainstem, and spinal cord. TUNEL-positive neurons and inflammatory cells were detected at the brainstem (most prominent) and spinal cord, and they were found exclusively at the early stage of infection. These TUNEL-positive cells were more abundant in the dumb as compared to furious rabies. Neuronal apoptosis does occur in natural rabies infection but it is observed only at the early stage of disease. Prominent apoptosis of neurons in the brainstem level at the early stage of paralytic rabies might impede viral propagation into the brain and explains the longer survival time in paralytic as compared to furious rabies.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.681-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectโรคกลัวน้ำ
dc.subjectระบบประสาท -- โรค
dc.subjectRabies
dc.subjectNervous system -- Diseases
dc.titleการตายของเซลล์ประสาทและเซลล์อักเสบในระบบประสาทส่วนกลางในสุนัขที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้าen_US
dc.title.alternativeAPOPTOSIS OF NEURONS AND INFLAMMATORY CELLS IN THE CENTRAL NERVOUS SYSTEM OF CANINE RABIES.en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์การแพทย์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorshanop@gmail.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.681-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5374689330.pdf2.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.