Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43276
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อุมาพร ตรังคสมบัติ | en_US |
dc.contributor.author | สุดารัตน์ จ๊ะถา | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-06-24T06:36:45Z | |
dc.date.available | 2015-06-24T06:36:45Z | |
dc.date.issued | 2556 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43276 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง เพื่อศึกษาสุขภาพจิตของนิสิตหญิงหลังปริญญาผู้ใช้เฟซบุ๊ก กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตหญิงหลังปริญญาที่พำนักในหอพักนานาชาติศึกษิตนิเวศน์และใช้เฟซบุ๊กจำนวน 112 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบสอบถามแบบตอบด้วยตนเอง 4 ชุดคือแบบสอบถามข้อมูลพื้นฐานทั่วไป แบบสอบถามพฤติกรรมการใช้เฟซบุ๊ก แบบสอบถามการติดเฟซบุ๊ก Facebook-Addiction Questionnaire (ฉบับภาษาไทย) และแบบทดสอบดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทยฉบับสมบูรณ์ (TMHI-55) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา, Independent-Sample T-test, One-Way ANOVA, Fisher's Exact Test และMultiple Linear Regression analysis ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 27 ปี (x̄=26.92) ส่วนใหญ่เป็นนิสิตปริญญาโทสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ยสะสมเท่ากับ 3.78 สถานภาพโสด รายได้ต่อเดือนน้อยกว่า 15,000 บาท ความสัมพันธ์กับเพื่อนหรือคนในครอบครัวอยู่ในเกณฑ์ดี ใช้อินเทอร์เน็ตเฉลี่ยวันละ 6 ชม.(x̄=6.02) สมัครเป็นสมาชิกเฟซบุ๊กมานานกว่า 3 ปี มีเพื่อนในเฟซบุ๊กเฉลี่ย 385 คน (x̄=384.25) โดยการใช้ Facebook- Addiction Questionnaire (ฉบับภาษาไทย) พบว่าร้อยละ 25.9 ของกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ติดเฟซบุ๊ก จากการวิเคราะห์ TMHI-55 พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนสุขภาพจิตเท่ากับ 170.96 ซึ่งเป็นระดับคะแนนภาวะสุขภาพจิตเท่ากับคนทั่วไป เมื่อวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณพบว่าสามารถพยากรณ์ค่าคะแนนสุขภาพจิตได้ร้อยละ 76.4 จากปัจจัยต่อไปนี้ คือ อายุ ระยะเวลาการสมัครสมาชิกเฟซบุ๊ก(มากกว่า 3 ปี) สถานภาพสมรส(คู่อยู่ด้วยกัน) ความสัมพันธ์กับเพื่อน(ขัดแย้งบ้างครั้งหรือห่างเหินต่างคนต่างอยู่) ความสัมพันธ์ครอบครัว(รักและใกล้ชิดกันดี) พฤติกรรมติดเฟซบุ๊ก ระยะเวลาการใช้เฟซบุ๊กต่อวัน(วันละ4ชั่วโมงหรือมากกว่า) ระยะเวลาการใช้อินเทอร์เน็ตต่อวัน(วันละ4ชั่วโมงหรือมากกว่า) สาขาวิชา(ด้านสังคมศาสตร์)และรายได้ต่อเดือน(น้อยกว่า15,000บาท) | en_US |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this cross-sectional descriptive study was to determine mental health in female postgraduate students who were Facebook users. The subjects were 112 female postgraduate students at Suksit Nives international house who used Facebook. Research instruments included 4 self-report questionnaires: a questionnaire on general background, a questionnaire on patterns of Facebook use, the Facebook- Addiction Questionnaire (Thai version) and the Thai Mental Health Indicators Version 2007 (TMHI-55). Statistical analyses included descriptive statistics, independent-sample T-test, one-way ANOVA, Fisher's Exact Test and multiple linear regression analysis. The result showed that the mean age of the sample was 27 years (x̄=26.92). Most were studying for the Master’s degree in Science, with the average GPA of 3.78. Most were single, had income of less than 15,000 bath, had good relationship with friends and family. Regarding Facebook using, the average time spent online was 6 hours (x̄=6.02) per day. Most had registered for Facebook for more than 3 years and had 385 Facebook friends (x̄=384.25). According to the Facebook- Addiction Questionnaire (Thai version) 25.9% of the overall sample were Facebook-Addicted. Using the TMHI-55 it was found that the mean mental health score of the sample was 170.96 which was in a normal range. From Multiple Regression Analysis, a model which predicted the mental health of the sample with a predicative value of 76.4 % included age, Facebook account duration (over 3 years), marital status (married), peer relationship (not good), family relationship (good), Facebook addiction, Facebook use period (4hrs or more/day) Online period (4hrs or more/day), fields of study (social sciences), and income(less than 15,000). | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.684 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | สุขภาพจิต | |
dc.subject | สื่อสังคมออนไลน์ | |
dc.subject | นักศึกษาบัณฑิต | |
dc.subject | Mental health | |
dc.subject | Social media | |
dc.subject | Graduate students | |
dc.title | สุขภาพจิตของนิสิตหญิงหลังปริญญาผู้ใช้เฟซบุ๊ก | en_US |
dc.title.alternative | MENTAL HEALTH OF FEMALE POSTGRADUATE STUDENT: FACEBOOK USERS | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | สุขภาพจิต | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | familyinthai@yahoo.com | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2013.684 | - |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5374809330.pdf | 2.68 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.