Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43443
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorไตรรัตน์ จารุทัศน์en_US
dc.contributor.authorปิยะวัฒน์ ชัยเอกสิทธิen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์en_US
dc.coverage.spatialพม่า
dc.date.accessioned2015-06-24T06:38:21Z
dc.date.available2015-06-24T06:38:21Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43443
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractประเทศเมียนมาร์เป็นอีกประเทศหนึ่งในกลุ่มประเทศอาเซียน 10 ประเทศ ที่มีศักยภาพดึงดูดการลงทุนโครงการต่างๆ จากนักลงทุนต่างประเทศ อันเนื่องมาจากการเป็นประเทศที่เพิ่งเริ่มทำการเปิดประเทศ มีพื้นที่ของประเทศมากเป็นอันดับที่ 2 ใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีความต้องการด้านที่อยู่อาศัย การบริโภคจับจ่ายใช้สอย มีทรัพยากรทางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ มีแรงงานที่มีฐานค่าแรงต่ำ อีกทั้งยังมีการสนับสนุนจากทางรัฐบาลในการส่งเสริมให้ชาวต่างชาติมาลงทุนเพื่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการสร้างสาธารณูปโภคและสาธารณูปการขั้นพื้นฐาน อันนำมาซึ่งการพัฒนาประเทศ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษากระบวนการการลงทุนในธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ในประเทศเมียนมาร์ และศึกษาปัญหาอุปสรรคก่อนการลงทุนในธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ในประเทศเมียนมาร์ เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการลงทุนแก่ผู้ประกอบการ ที่มีความสนใจลงทุนในประเทศเมียนมาร์โดยศึกษาจากกลุ่มนักลงทุนที่ได้มีการลงทุนในประเทศเมียนมาร์แล้วและผู้ที่มีความสนใจในการลงทุนยังประเทศเมียนมาร์ กรณีศึกษา บริษัทโอเรียนท์ เอ็กซเพรส และบริษัทบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์จำกัด จากการศึกษาพบว่า กลุ่มผู้ลงทุนโครงการในประเทศเมียนมาร์ ส่วนใหญ่มีการลงทุนเป็นลักษณะกิจการร่วมทุนกับนักลงทุนในประเทศเมียนมาร์และการลงทุนในลักษณะถือหุ้น 100% ในกลุ่มตัวอย่างมีการจัดตั้งและจ้างหน่วยงานเพื่อทำการศึกษาข้อมูล และวิเคราะห์ก่อนการลงทุนเพื่อให้เข้าใจสภาพตลาดของเมียนมาร์และเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกเพื่อวิเคราะห์โครงการก่อนการตัดสินใจลงทุน โดยมีขั้นตอนในการลงทุนได้แก่ 1.ขั้นตอนการศึกษาข้อมูลภาพรวมเบื้องต้นของเมียนมาร์ 2.ขั้นตอนการศึกษาข้อมูลเชิงลึกในธุรกิจที่สนใจเข้าลงทุน 3.ขั้นตอนการจัดหาพันธมิตรร่วมทุน 4.ขั้นตอนการจัดหาที่ดิน 5.ขั้นตอนการตัดสินใจลงทุน 6.ขั้นตอนการยื่นขอลงทุนสำหรับนักลงทุนต่างชาติ 7.ขั้นตอนการซื้อประกันที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจและเปิดบัญชีธนาคาร 8.ขั้นตอนการจดทะเบียนธุรกิจ 9.ขั้นตอนการวางแผนและออกแบบผลิตภัณฑ์ 10.ขั้นตอนการวิเคราะห์ความเป็นไปได้โครงการ 11.ขั้นตอนการติดต่อกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง 12.ขั้นตอนดำเนินการโครงการ โดยบริษัทที่เป็นรูปแบบรัฐวิสาหกิจนั้นจะไม่จำเป็นต้องยื่นจดทะเบียนธุรกิจซึ่งจะทำให้ขั้นตอนในการลงทุนนั้นลดลงและง่ายต่อการจัดตั้งธุรกิจมากขึ้น โดยปัญหาที่พบในการลงทุนได้แก่ 1. ระบบสาธารณูปโภคสาธารณูปการที่ยังไม่สะดวก 2.ปัญหากฎหมายที่ยังไม่ชัดเจน 3.ปัญหาด้านหน่วยงานของรัฐ 4.ปัญหาในการเข้าถึงผู้ร่วมลงทุนธุรกิจ 5.ปัญหาราคาค่าเช่าที่ดินมีราคาสูง ยากต่อการลงทุน 6.ปัญหาเรื่องเชื้อชาติชนเผ่าต่างๆ 7. ปัญหาเรื่องระบบการเงิน 8.ปัญหาขาดแคลนแรงงานฝีมือ ในการศึกษาพบว่าประเภทอสังหาริมทรัพย์ที่น่าสนใจเข้าไปลงทุนคือ ที่พักอาศัย ประเภทโรงแรม รีสอร์ทและออฟฟิศให้เช่า นอกจากนี้ยังมีโอกาสในการเข้าไปลงทุนโครงการอสังหาริมทรัพย์ประเภทศูนย์การค้าและระบบโครงสร้างพื้นฐาน โดยพื้นที่ที่มีศักยภาพในการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ได้แก่ย่างกุ้ง เนปิดอร์ พะโค(หงสาวดี) มัณฑะเลย์และเขตเศรษฐกิจพิเศษทิวาลา ข้อเสนอแนะเพื่อการศึกษาต่อไปพบว่าการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ในประเทศเมียนมาร์มีข้อจำกัดที่แตกต่างกันควรศึกษาแยกเป็นรายประเภท เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกและนำมาวิเคราะห์การลงทุนได้อย่างถูกต้องen_US
dc.description.abstractalternativeMyanmar is one of ten ASEAN countries, which has just opened its door to the outside world. The country has great potential economic opportunities to attract foreign investments for many reasons. It is the second largest country in terms of area in Southeast Asia and is now in need of accommodation. Consumer spending is most likely to increase. Myanmar has abundant natural resources and low-paid labor, helping boost investment. Its government also promotes foreign investment in order to expand its economy and build basic infrastructure, which affects the country's development. The objective of this research is to study the investment process for real estate investment in Myanmar and obstacles prior to investment. This research can be used as fundamental information for investors who are interested in investing in Myanmar. The data were collected from business enterprises which are now operating in Myanmar and prospective investors. Case studies are Orient Express Co., Ltd. and Big C Supercenter Co., Ltd. The study found that investment in Myanmar is mostly joint-venture made between a foreign national and a Myanmar citizen and an investment of one hundred per cent foreign capital. In one sample group, in order to understand the market environment and get insight into the details, an economic enterprise and employment has been carried out to study and analyze the data before investment. The process of investing is as follows: 1. study the general overview data of Myanmar 2. study in-depth details of the concerned investment 3. look for investment partners 4. search for land 5. make a decision for the investment 6. submit a proposal for foreign investment 7. buy business-related insurance and open bank accounts 8. register a business enterprise 9. plan and design products 10. analyze project feasibility 11. contact government-related offices 12. start the business organization. If it is a state enterprise, company registration is not required, facilitating company set-up and decreasing the investment process. After the study, investment obstacles were also found. 1. poor infrastructure 2. unclear legislation 3. government office-related problems 4. business partners 5. high land price 6. ethnic problems 7. financial problems 8. shortage of skilled labor. The study also found that real estate for the investment consisted of accommodation such as hotels, resorts and offices for rent, including shopping malls and infrastructure systems. Good locations for the investment are Yangon, Naypyidaw, Bago (Hongsawatoi), Mandalay, and the Thiwala Economic Zone. After further study, the research suggested that prior to any investment, business investors should study in-depth details so that an analysis can be performed properly since investment restrictions in Myanmar are varied depending on the type of business activity.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.907-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ -- พม่า
dc.subjectการลงทุนของต่างประเทศ -- พม่า
dc.subjectReal estate investment -- Burma
dc.subjectInvestments, Foreign -- Burma
dc.titleกระบวนการการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ของนักลงทุนในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์en_US
dc.title.alternativeTHE INVESTMENT PROCESS FOR REAL ESTATE INVESTMENT BY INVESTORS IN THE REPUBLIC UNION OF MYANMARen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisortrirat.j@chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.907-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5573352825.pdf4.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.