Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43473
Title: ผลของการปรับยาขับปัสสาวะฟูโรซีไมด์โดยผู้ป่วยเอง เปรียบเทียบกับการให้แพทย์ปรับยาขับปัสสาวะฟูโรซีไมด์ ในผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรังที่มีการบีบตัวของหัวใจห้องล่างซ้ายน้อยกว่าปกติ
Other Titles: EFFECT OF SELF-ADJUSTING DOSE OF FUROSEMIDE DIURETIC COMPARE WITH PHYSICIAN-ADJUSTING DOSE OF FUROSEMIDE DIURETIC IN PATIENTS WITH CHRONIC HEART FAILURE AND REDUCED LEFT VENTRICULAR SYSTOLIC FUNCTION
Authors: ณัฐพันธ์ รัตนจรัสกุล
Advisors: ถาวร สุทธิไชยากุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: s_taworn@hotmail.com
Subjects: หัวใจวาย
การวินิจฉัยโรค
Heart failure
Diagnosis
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ที่มา ยาขับปัสสาวะฟูโรซีไมด์มีที่ใช้เพื่อลดอาการและอาการแสดงของภาวะน้ำท่วมปอดในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวซึ่งมีการใช้มากในผู้ป่วยที่มีการบีบตัวของหัวใจห้องล่างซ้ายน้อยกว่าปกติ จากการศึกษาในอดีต การใช้โปรแกรมการจัดการผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว หรือ คลินิกผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว ให้ผลการศึกษาที่ดี มีบางการศึกษาที่เปรียบเทียบผลของการปรับยาขับปัสสาวะฟูโรซีไมด์เพียงอย่างเดียว พบว่าผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวที่มีการบีบตัวของหัวใจห้องล่างซ้ายน้อยกว่าปกติมีอัตราการมาตรวจที่ห้องฉุกเฉินลดลง วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการปรับยาขับปัสสาวะฟูโรซีไมด์โดยผู้ป่วยเองต่อจำนวนผู้ป่วยที่มาพบแพทย์เพิ่มเติมจากการนัดหมายปกติที่โรงพยาบาล ทั้งแผนกผู้ป่วยนอกและห้องฉุกเฉินด้วยอาการหัวใจล้มเหลวในผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรังที่มีการบีบตัวของหัวใจห้องล่างซ้ายน้อยกว่าปกติ วิธีการศึกษา ผู้ป่วยทั้งหมด 88 คน ที่ได้รับการวินิจฉัยหัวใจล้มเหลวเรื้อรังที่มีการบีบตัวของหัวใจห้องล่างซ้ายน้อยกว่าปกติ (น้อยกว่า 40%) และสุ่มแบ่งเป็น 2 กลุ่มเท่าๆกัน คือ กลุ่มที่ปรับยาขับปัสสาวะฟูโรซีไมด์โดยผู้ป่วยเอง (กลุ่มศึกษา) เปรียบเทียบกับการให้แพทย์ปรับยาขับปัสสาวะฟูโรซีไมด์ (กลุ่มควบคุม) ตามปกติ โดยทั้ง 2 กลุ่ม ได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานของตัวโรค การติดตามอาการและการดูแลตนเองในผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว ในกลุ่มศึกษาได้มีการให้คำแนะนำและให้ตารางการปรับระดับยาขับปัสสาวะด้วยตนเองเพิ่มเติม เก็บข้อมูลเพื่อศึกษาจำนวนผู้ป่วยที่มาโรงพยาบาล อัตราการมาพบแพทย์เพิ่มเติมด้วยอาการของหัวใจล้มเหลว อัตราการนอนโรงพยาบาลและอัตราการเสียชีวิตใน 6 เดือน ผลการศึกษา มีผู้ป่วยกลุ่มศึกษาจำนวน 43 คน และกลุ่มควบคุม 42 คน ข้อมูลพื้นฐานมีความแตกต่างกันเล็กน้อยคือ สาเหตุของหัวใจล้มเหลวเป็นจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด, โรคความดันโลหิตสูง, โรคไขมันในเลือดสูง และ โรคหลอดเลือดหัวใจ พบมากกว่าในกลุ่มควบคุม ศึกษาติดตาม 6 เดือน พบว่า ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ของจำนวนผู้ป่วยที่มาโรงพยาบาลเพิ่มเติมด้วยอาการของหัวใจล้มเหลวในกลุ่มศึกษาเทียบกับกลุ่มควบคุม [13 คน (30.2%) เปรียบ เทียบกับ 11คน (26.2%) P= 0.679] ไม่พบความแตกต่างกันระหว่าง อัตราการมาพบแพทย์เพิ่มเติม อัตราการนอนโรงพยาบาลและอัตราการเสียชีวิต สรุปผลการศึกษา การปรับยาขับปัสสาวะฟูโรซีไมด์โดยผู้ป่วยเอง ไม่มีความแตกต่างกันของสถิติ ของจำนวนผู้ป่วยที่มาโรงพยาบาลเพิ่มเติมด้วยอาการของหัวใจล้มเหลว เปรียบเทียบกับการให้แพทย์ปรับยาขับปัสสาวะฟูโรซีไมด์ ในผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรังที่มีการบีบตัวของหัวใจห้องล่างซ้ายน้อยกว่าปกติ
Other Abstract: Background: Furosemide is mainly used for relieving symptoms and signs of congestion in patients with heart failure and reduced left ventricular systolic function (LVEF). The effectiveness of heart failure management programs or heart failure clinics have been established by many well designed studies. Self-adjusting dose of furosemide was reported as an independent factor predicting less emergency department visits in patients with heart failure and reduced LVEF. There was no data of this management in Thailand. Objective: To determine the effects of self-adjusting dose of furosemide on additional visits (outpatient and emergency department) with heart failure symptoms in patients with chronic heart failure and reduced LVEF. Methods: 88 patients with chronic heart failure and reduced LVEF (< 40%) were prospectively enrolled and randomly assigned to two groups: self-adjusting dose of furosemide (study) group compared with physician-adjusting dose of furosemide (control) group. The education consisting of basic knowledge of disease, symptom monitoring and self-care of heart failure were provided to both groups. Diuretic adjust protocol was provided to the study group. The primary endpoint was the difference of additional visits with heart failure symptoms in 6 months period after randomization. The secondary endpoints were the difference of side effect and mortality in 6-months period after randomization. Results: A total of 43 patients in the study group and 42 patients in the control group completed the study at 6-months period. There were some discrepancies of baseline characteristic between group. Medical history of hypertension, dyslipidemia and coronary artery disease were significantly higher in control group. Other baseline characteristics did not differ significantly. There were no significantly difference in a number of patients visiting hospital with heart failure symptoms in the study group compared with the control group [13 patients (30.2%) vs 11 patients (26.2%) within 6 months period , p=0.679]. No differences were found between the groups in additional visiting rate, hospitalization rate or mortality. Conclusion: Self-adjusting dose of furosemide was no significant difference in additional visits with heart failure symptom compared with physician-adjusting dose of furosemide in patients with heart failure and reduced LVEF.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43473
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.939
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.939
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5574126530.pdf2.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.