Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43476
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสืบพงศ์ ธนสารวิมลen_US
dc.contributor.authorแทนชนก รัตนจารุศิริen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:38:41Z
dc.date.available2015-06-24T06:38:41Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43476
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractความสำคัญและที่มาของปัญหางานวิจัย : ยากลุ่มแท็กเซนเป็นยาเคมีบำบัดที่ใช้อย่างแพร่หลายในการรักษาโรคมะเร็งชนิดต่างๆ โดยมีผลข้างเคียงขณะบริหารยาที่พบได้บ่อยคือ ปฏิกิริยาการแพ้ยา แม้ว่าปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่เชื่อว่าอาจเกิดจากตัวยาเอง หรือตัวทำละลาย เช่นครีโมฟอร์ในแพคลิแทกเซล หรือ โพลีซอร์เบท80 ในโดซีแทกเซล หรือส่วนประกอบอื่นๆในตัวยา ปัจจุบันยาในท้องตลาดมีทั้งยาชนิดสามัญและยาต้นแบบ ซึ่งมีส่วนประกอบต่างกันเล็กน้อย วัตถุประสงค์ของการศึกษา ต้องการเปรียบเทียบว่ายากลุ่มแทกเซน ชนิดต้นแบบและชนิดสามัญ มีปฏิกิริยาการแพ้ยา ระดับ 3 และ 4 แตกต่างกันหรือไม่ ระเบียบวิธีการวิจัย เป็นการศึกษาแบบไปข้างหน้า (prospective study) โดยรวบรวมผู้ป่วยโรคมะเร็งทั้งหมดที่ได้รับยากลุ่มแทกเซนในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-31 ธันวาคม 2556 และจดบันทึกข้อมูลการให้ยาลงในแบบเก็บข้อมูล (case record form) รวมถึงชนิดของยา การเกิดปฏิกิริยาการแพ้ยา อาการและการรักษา โดยนิยามของปฏิกิริยาการแพ้ยาและความรุนแรงใช้ตาม Common Terminology Criteria for Adverse Events (CTCAE) Version 3.0 และนำมาเปรียบเทียบว่ายาแทกเซนชนิดต้นแบบและสามัญ เกิดปฏิกิริยาการแพ้ยาระดับ 3 และ 4 แตกต่างกันหรือไม่ ผลการวิจัย รวบรวมผู้ป่วยทั้งหมด 258 ราย ได้รับยาแพคลิแทกเซล 128 ราย แบ่งเป็นชนิดต้นแบบ 65 รายและชนิดสามัญ 63 ราย และได้รับยาโดซีแทกเซล 130 ราย แบ่งเป็นชนิดต้นแบบ 66 รายและชนิดสามัญ 64 ราย ผู้ป่วยทุกคนได้รับยาป้องกันการแพ้ยา (premedication) ด้วยยาต้านฮิสตามินและคอร์ติโคสเตียรอยด์ 30 นาทีก่อนการให้ยาเคมีบำบัด พบว่าเกิดปฏิกิริยาการแพ้ยา ระดับ 3 ทั้งสิ้น 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.8 ซึ่งเกิดในกลุ่มที่ได้แพคลิแทกเซลชนิดต้นแบบและสามัญอย่างละ 1 ราย แต่ไม่พบปฏิกิริยาการแพ้ยา ระดับ 4 เลย อย่างไรก็ตาม พบปฏิกิริยาการแพ้ยา ระดับ 2ถึง 24 ราย รวมทั้งสิ้นเกิดอุบัติการณ์การแพ้ยาแทกเซนคิดเป็นร้อยละ 10 โดยยาแพคลิแท็กเซล เกิดปฏิกิริยาการแพ้ยาในผู้ป่วย 16 ราย เกิดในกลุ่มที่ได้รับยาต้นแบบ 9 ราย และในกลุ่มที่ได้รับยาสามัญ 7 ราย ปฏิกิริยาการแพ้ยาของทั้งสองชนิดมาเปรียบเทียบกัน โดยใช้สถิติแบบไคสแควร์ (Chi-sqaure test) พบว่าแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ค่า p = 0.791 ส่วนยาโดซีแทกเซลเกิดปฏิกิริยาแพ้ยาทั้งหมด 10 ราย โดยเกิดในกลุ่มยาต้นแบบ 9 ราย และในกลุ่มยาสามัญ 1 ราย ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ค่า p = 0.017 อัตราการให้ยาแก้แพ้ (rescue medication) พบได้ร้อยละ 77 แบ่งเป็นร้อยละ 7 และ 8.5 ในกลุ่มยาต้นแบบและยาสามัญตามลำดับ และไม่มีผู้ป่วยที่ต้องหยุดใช้ยากลุ่มแท็กเซนอย่างถาวร (permanent discontinuation)เลย สรุป อุบัติการณ์การเกิดปฏิกิริยาการแพ้ยาแทกเซน ระดับ 3 ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์คิดเป็นร้อยละ 0.8 แต่อุบัติการณ์การเกิดปฎิกิริยาแพ้ยาทั้งหมดพบร้อยละ 10 และมีความแตกต่างของเกิดปฏิกิริยาการแพ้ยาทั้งหมดระหว่างยาต้นแบบและยาสามัญของยาโดซีแทกเซลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยเกิดในกลุ่มยาต้นแบบมากกว่า แต่ไม่แตกต่างกันในยาแพคลิแทกเซลen_US
dc.description.abstractalternativeBackground Taxanes, including docetaxel and paclitaxel, are commonly used chemotherapy in various types of malignancies. One of the well known adverse event of Taxanes is hypersensitivity reaction during administration. Solvent and other inactive ingredients were thought to be the cause of this reaction, especially Cremophor EL and Polysorbate80 in paclitaxel and docetaxel, respectively. Given the minor differences between the original and generic parenteral drugs, we compared the incidences of grade 3 and 4 hypersensitivity reactions between original and a generic Taxanes. Methods In this prospective study, all patients receiving Taxanes during 1 January-31 December 2013 at King Chulalongkorn Memorial Hospital were enrolled. Using the Taxane hypersensitivity reaction case record form, we recorded the product, event, symptom and treatment detail for each event. Hypersensitivity reaction and grading were defined by Common Terminology Criteria for Adverse Events (CTCAE) Version 3.0. The study primarily compared the grade 3 and 4 hypersensitivity reaction incidences between the original and generic Taxanes. Results Among the total 258 patients, 130 patients received docetaxel (66 in original (Taxotere) arm and 64 in generic (one generic docetaxel) arm) and 128 patients received paclitaxel (65 in original (Taxol) arm and 63 in generic (one generic paclitaxel) arm). All patients received premedication including antihistamine and dexamethasone 30 minutes before Taxane infusion and surveillance for hypersentsitivity reactions. There were 26 (10.0%) grade 3 hypersensitivity reaction events reported, but no grade IV hypersensitivity reaction. In the docetaxel group, there were nine and one grade 3 hypersensitivity reaction events in the original arm and generic arms, respectively, (p=.017). In the paclitaxel group, there were nine and seven grade 3 hypersensitivity reaction events in the original arm and generic arms, respectively (p=.791). The most common symptoms of hypersensitivity were flushing and chest discomfort. 20 (77%) of all reactions received rescue medication, including antihistamine and corticosteroid intravenously. No life-threatening symptom or permanent discontinuation of taxanes had occurred. Unexpectedly, only 23% of the reactions were observed in first cycle. Conclusions In this prospective study, the hypersensitivity reaction to Taxanes was more common than previous retrospective reports. In our cohort, the incidences of grade 3 or 4 hypersensitivity reaction was not different between original and generic paclitaxel but higher in original docetaxel compared to the generic docetaxel. First hypersensitivity reaction in later cycle was not uncommon.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.942-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการแพ้ยา
dc.subjectยา -- ผลข้างเคียง
dc.subjectDrug allergy
dc.subjectDrugs -- Side effects
dc.titleความแตกต่างของการเกิดปฏิกิริยาแพ้ยาระดับ 3 และ 4 ระหว่างยาต้นแบบและยาสามัญของยากลุ่มแท็กเซนen_US
dc.title.alternativeA DIFFERENCE IN GRADES 3 AND 4 HYPERSENSITIVITY REACTIONS BETWEEN ORIGINAL DRUGS AND GENERIC DRUG OF TAXANE GROUPen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineอายุรศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorsurbpong@yahoo.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.942-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5574131630.pdf2.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.