Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43524
Title: ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดบุตร ในมารดาวัยรุ่น โรงพยาบาลสิรินธร สำนักการแพทย์
Other Titles: DEPRESSION AFTER CHILDBIRTH AMONG TEENAGE MOTHERS AT SIRINDHORN HOSPITAL MEDICAL SERVICE DEPARTMENT.
Authors: นฬพรรษ พุ่มมณี
Advisors: ชุติมา หรุ่มเรืองวงษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: jaomee@hotmail.com
Subjects: ความซึมเศร้าในสตรี
สุขภาพจิต
มารดาวัยรุ่น
Depression in women
Mental health
Teenage mothers
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าในมารดาวัยรุ่น ช่วง 1-2 สัปดาห์ และ 4-6 สัปดาห์หลังคลอดโดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างคือมารดาวัยรุ่นหลังคลอด จำนวน 147 ราย โดยใช้แบบสอบถาม 1)ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลทางกายภาพ ข้อมูลทางจิตสังคม 2)แบบวัดภาวะซึมเศร้าหลังคลอด Edinburgh Postnatal Depression Scale (EPDS) ฉบับภาษาไทย (วัด 2 ครั้ง) 3)แบบสอบถามแรงสนับสนุนทางสังคม 4)แบบสอบเหตุการณ์ความเครียดในชีวิต 5)แบบสอบถามการปรับตัวบทบาทการเป็นมารดา การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ Univariate analysis เพื่อหาปัจจัยที่เกี่ยวข้อง กับภาวะซึมเศร้าหลังคลอดในผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าว ผลการศึกษา:พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีภาวะซึมเศร้า ในช่วง 1-2 สัปดาห์ หลังคลอด จำนวน44ราย(คิดเป็นร้อยละ 29.9) และมีภาวะซึมเศร้า ในช่วง 4-6 สัปดาห์ หลังคลอด จำนวน 31 ราย(คิดเป็นร้อยละ 25.5) โดยปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าในช่วง 1-2 สัปดาห์หลังคลอดได้แก่ อายุของคู่สมรส อาการปัสสาวะบ่อย และการมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ และ ความรู้สึก ไม่พร้อมหรือไม่แน่ใจในการตั้งครรภ์ครั้งนี้ (p< 0.05) ส่วนปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าในช่วง 4-6 สัปดาห์ หลังคลอด ได้แก่ การมีอาการวิตกกังวลในระหว่างตั้งครรภ์ การมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ (p < 0.05) และการมีภาวะซึมเศร้าในช่วง 1-2 สัปดาห์หลังคลอด (p< 0.01)
Other Abstract: A cross-sectional descriptive study. To determine the prevalence of depression 1-2 weeks and 4-6 weeks after childbirth among adolescent mothers.Data was collected from 147 postpartum adolescent mothers (age 14-18 years) using 5 questionnaires; 1) Personal information questionnaire, 2) Thai version of Edinburgh Postnatal Depression Scale (Thai-EPDS) during 1-2 weeks and 4-6 weeks postpartum, 3) Social support questionnaire (PRQ-part II), 4) Stress life event questionnaire, and 5) Adaptation to Mother Role questionnaire. Univariate analyses and was used to examine associated factors of depression after childbirth among this group of mothers. The results revealed that most Of 147 subjects, 44 of them (29.9 %) and 31 of them (25.5%) were suffering from depression during 1-2 weeks and 4-6 weeks after childbirth, respectively. Depression during 1-2 weeks after childbirth was associated with age of their partners, having disturbing symptoms during pregnancy (frequent urination and weight gain), and unwanted or uncertain attitude toward current pregnancy (p < 0.05). Depression during 4-6 weeks after childbirth was associated with weight gain and having anxiety during current pregnancy. (p < 0.05), and having depression during 1-2 weeks after childbirth (p<0.01).
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขภาพจิต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43524
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.993
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.993
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5574355930.pdf3.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.