Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43577
Title: สมรรถนะด้านพลังงานของหลังคาที่ติดตั้งมวลอุณหภาพและฉนวนชนิดเปิดปิดได้
Other Titles: ENERGY PERFORMANCE OF ROOF EQUIPPED WITH THERMAL MASS AND MOVABLE INSULATION
Authors: วีรภัทร ไตรทิพเทวินทร์
Advisors: อรรจน์ เศรษฐบุตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: atch111@live.com
Subjects: อาคาร -- การออกแบบและการสร้าง
หลังคา
ความร้อน -- การถ่ายเท
Buildings -- Design and construction
Roofs
Heat -- Transmission
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปรากฏการณ์เกาะความร้อนส่งผลต่อการใช้พลังงานที่มากขึ้นในการปรับอากาศของอาคาร Givoni ได้เสนอแนวทางการลดการใช้พลังงานด้วยการออกแบบการทำความเย็นให้กับอาคารด้วยวิธีทางธรรมชาติ แนวคิดหนึ่งที่น่าสนใจคือการใช้ฉนวนกันความร้อนและใช้มวลอุณหภาพในการแผ่รังสีความเย็นให้กับอาคาร เพื่อศึกษาสมรรถนะในการลดการใช้พลังงาน ผู้วิจัยได้ออกแบบการทดลองเป็นสองช่วงคือการทดลองด้วยกล่องทดลองเพื่อศึกษาสมรรถนะการลดอุณหภูมิและการทดลองด้วยโปรแกรมจำลองการใช้พลังงาน Visual DOE 4.1 เพื่อศึกษาสมรรถนะการประหยัดพลังงาน ในการออกแบบกล่องทดลองได้แบ่งกรณีศึกษาเป็น 5 กรณีคือ กรณีศึกษาที่ 1 กรณีควบคุมใช้หลังคาคอนกรีตไม่มีฉนวนหุ้ม กรณีศึกษาที่ 2 ไม่มีมวลอุณหภาพ กรณีศึกษาที่ 3 ใช้น้ำเป็นมวลอุณหภาพ กรณีศึกษาที่ 4 ใช้คอนกรีตเป็นมวลอุณหภาพ กรณีศึกษาที่ 5 ใช้ไฟเบอร์ซีเมนต์เป็นมวลอุณหภาพ ซึ่งในกรณีศึกษาที่ 2-5 จะมีฉนวนหุ้มหลังคาโดยปิดในเวลากลางวันและเปิดในเวลากลางคืน ผลที่ได้จากการทดลองด้วยกล่องทดลองนำมาคำนวณหาค่าการถ่ายเทความร้อน และนำมาป้อนใส่โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการจำลองการถ่ายเทความร้อนและการใช้พลังงานของอาคาร 2 ประเภทได้แก่ อาคารสำนักงานและอาคารพักอาศัย ข้อมูลของกล่องทดลองถูกเก็บในช่วงวันที่ 28 ถึง 31 ธันวาคม 2556 จากการเก็บข้อมูลพบว่าอาคารสำนักงาน ช่วงเวลากลางวันกรณีศึกษาที่ 4 มีอุณหภูมิต่ำสุดจากกรณีศึกษาทั้งหมดคือ 20.9 C ในช่วงเวลากลางคืนกรณีศึกษาที่ 2 มีอุณหภูมิต่ำสุดจากกรณีศึกษาทั้งหมดคือ 18.3 C ส่วนการใช้งานอาคารพักอาศัย ช่วงเวลากลางวันกรณีศึกษาที่ 4 มีอุณหภูมิต่ำสุดจากกรณีศึกษาทั้งหมดอยู่ที่ 20.7 C ในช่วงเวลากลางคืนกรณีศึกษาที่ 2 มีอุณหภูมิต่ำสุดจากกรณีศึกษาทั้งหมดคือ 19.6 C ในส่วนของผลการดลองการจำลองการใช้พลังงานพบว่าอาคารที่มีการประหยัดพลังงานมากที่สุดคืออาคารที่ใช้มวลอุณหภาพด้วยไฟเบอร์ซีเมนต์สำหรับการใช้งานอาคารพักอาศัยอยู่ที่ 12.97 % และสำหรับการใช้งานอาคารสำนักงานอยู่ที่ 14.14 % จากการศึกษาทั้งหมดสรุปได้ว่าการออกแบบหลังคามวลอุณหภาพสำหรับพื้นที่ไม่ปรับอากาศ หลังคาควรเปิดฉนวนในช่วงเวลากลางคืน และการเลือกใช้มวลอุณหภาพควรเป็นไปตามนี้คือ ในช่วงเวลากลางวันมวลอุณหภาพควรมีค่าผลคูณของความหนาแน่นและความร้อนจำเพาะสูง และค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อนต่ำ ส่วนช่วงเวลากลางคืนมวลอุณหภาพควรมีค่าผลคูณของความหนาแน่นและความร้อนจำเพาะต่ำ และค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อนสูง จะสามารถลดอุณหภูมิได้ดีที่สุด ในขณะที่การออกแบบหลังคามวลอุณหภาพสำหรับพื้นที่ปรับอากาศ หลังคาควรปิดฉนวนในช่วงเวลากลางคืนของฤดูร้อนและฤดูฝนเพื่อลดการใช้พลังงาน แต่ช่วงฤดูหนาวการเปิดฉนวนหลังคาเวลากลางคืนจะช่วยลดการใช้พลังงานได้ ซึ่งจากผลการวิจัยพบว่าค่าเฉลี่ยของพลังงานความร้อนที่สามารถถ่ายเทออกเมื่อเปิดฉนวนเวลากลางคืนจะมีค่าสูงสุดเมื่อใช้หลังคาที่มีมวลอุณหภาพน้อยที่สุด คือกรณีศึกษาที่ 2 อยู่ที่ 27.93 W/m^2 และมีจำนวนวันที่พลังงานความร้อนถ่ายเทออกสู่ภายนอกเมื่อเปิดฉนวนเวลากลางคืนสูงสุดที่ 165 วัน
Other Abstract: Urban Heat has an effect on housing energy usage. To solve this problem, a cooling radiator by thermal mass with movable insulation was proposed by Givoni. As an experiment, 5 cases of tested boxes, with case 1 used as a control, and cases 2 through 5 using different materials as thermal mass - no thermal mass, water bottle, concrete and fiber cement, were set up in Thailand on December 28-31, 2013. All cases were placed in two settings simulating the conditions of both residential and office areas. The result shows that, in office conditions, the lowest temperature from 6:00 AM – 5:59 PM was found in the concrete material case, 20.9 C, and from 6:00 PM – 5:59 AM the lowest was found using the no thermal mass case, 18.3 C. In residential conditions, the lowest temperature from 6:00 AM – 5:59 PM was found using the concrete materials case, 20.7 C, and from 6:00 PM – 5:59 AM was found using no thermal mass case, 19.6 C. To study the energy performance of thermal mass with movable insulation, this research utilized Visual DOE 4.1. There tested subjects were the same as the tested box, and ran three insulations cases for comparison: movable insulation, no insulation and closed insulation roof. The results show that the thermal mass with movable insulation in case 5, fiber cement material, was the most energy-efficient, saving 12.45% in office conditions and 14.14% in resident conditions. So for passive building, in day-time, buildings should have high mass and a low coefficient of heat transfer. On the other hand, at night-time, buildings should have low mass and a high coefficient of heat transfer. Therefore, the building that reduces temperature by a cooling radiator with thermal mass should be able to change mass and the coefficient of heat transfer. In active buildings, in summer, moving insulation at night will cause a gain in heat, but an overall loss of heat in the winter. So in active buildings, moving insulation used only in winter at night would be the best way to save energy in the Thai climate, and thermal mass must use high thermal resistance material.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43577
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1022
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.1022
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5673347825.pdf7.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.