Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43647
Title: การพัฒนารูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนเครือข่ายออนไลน์เพื่อการสื่อสารด้านการป้องกันควบคุมโรคเบาหวานสำหรับนักวิชาการสาธารณสุข
Other Titles: A DEVELOPMENT OF KNOWLEDGE OF SHARING MODEL USING ONLINE NETWORKING FOR PREVENTION AND CONTROL OF DIABETES COMMUNICATION FOR PUBLIC HEALTH OFFICERS
Authors: อัจฉรา บุญชุม
Advisors: สุจิตรา สุคนธทรัพย์
อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
Advisor's Email: sukonthasab@hotmail.com
ไม่มีข้อมูล
Subjects: เครือข่ายสังคมออนไลน์
การสื่อสารทางการแพทย์
บุคลากรสาธารณสุข
Online social networks
Communication in medicine
Public health personnel
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนเครือข่ายออนไลน์ด้านการสื่อสารเพื่อการป้องกันควบคุมโรคเบาหวานสำหรับนักวิชาการสาธารณสุข เป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างคือนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานสื่อสารสุขภาพของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข โดยดำเนินการ 4 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสภาพ ปัญหาและความคิดเห็นเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนเครือข่ายออนไลน์ด้านการสื่อสารเพื่อป้องกันควบคุมโรคด้วยแบบสอบถาม จำนวน 111 คน 2) พัฒนารูปแบบฯ จากการสังเคราะห์ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง และผลการศึกษาจากขั้นตอนที่ 1 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบฯ โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง 31 คน และประเมินผลโดยใช้เวลา 6 สัปดาห์ 4) รับรองรูปแบบฯ โดยการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนเครือข่ายออนไลน์ด้านการสื่อสารฯ ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 2 ส่วนประกอบหลัก ได้แก่ 1) องค์ประกอบของรูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประกอบด้วย กลุ่มบุคคล ที่มีการกำหนดให้ทุกกลุ่มมีพี่เลี้ยงจากหน่วยงานที่มีผลการปฏิบัติงานด้านการสื่อสารสุขภาพที่ดี (Best Practice) เป็นที่ปรึกษาและร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เทคโนโลยีเครือข่ายออนไลน์ที่ใช้เฟซบุ๊ก (Facebook) องค์ความรู้ที่จำเป็น และการประเมินผล 2) ขั้นตอนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประกอบด้วย การปฐมนิเทศเชิงปฏิบัติการ กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ใช้เฟซบุ๊ก การศึกษาดูงานหน่วยงานที่มีผลการปฏิบัติงานที่ดี (Best Practice) การประเมินผลงานกลุ่ม การประเมินทัศนคติเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการทบทวนหลังทำกิจกรรม (After Action Review) ผลการประเมินทัศนคติเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และความพึงพอใจต่อรูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนเครือข่ายออนไลน์อยู่ในระดับดี และผลการรับรองของผู้ทรงคุณวุฒิต่อภาพรวมของรูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ฯ ในการสามารถนำไปใช้ปฏิบัติได้จริงอยู่ในระดับมาก สรุป เฟซบุ๊ก เป็นสื่อสังคมบนเครือข่ายออนไลน์อย่างหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ในงานสื่อสารสุขภาพเพื่อให้นักสื่อสารสุขภาพ สามารถถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์การสื่อสารเพื่อป้องกันโรคผ่านรูปแบบกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่าง ๆ ที่พัฒนาขึ้น
Other Abstract: This research aimed to develop a knowledge sharing model using online networking for prevention and control of diabetes communication for public health officers. This was a research and development. The samples were health communicators at Department of Disease Control, Ministry of Public Health. The research could be divided into 4 steps, which were 1) Study of state, problems, and opinion regarding knowledge sharing model using online networking for prevention and control of diabetes communication for public health technical officers. The data were collected from 111 samples, using questionnaires. 2) Development of the model according to synthesis of related concepts, theories, and data from step 1 3) Study the results of model utilization. The data were collected from 31 samples for 6 weeks. 4) Certification of the model by an expert group using a focus group technique. The results showed that, the developed knowledge sharing model using online networking for prevention and control of diabetes communication for public health officers comprises of components and steps were as follows : 1) Components of the model including (1) People, each group including mentors from offices with best practices in health communication responsible for consulting and knowledge sharing (2) Online Networking Technology (3) Essential Knowledge and (4) Evaluation. 2) Steps of the model including (1) Orientation and Workshop (2) Knowledge Sharing Activities using online networking (Facebook, Face-to-face Meeting, and Field trip were designated). After action review, group work evaluation, and evaluation of attitudes towards knowledge sharing. The research found that the samples developed an ability to share knowledge, a good level of attitude towards the knowledge sharing using the online networking, and satisfaction with the model at a good level. The expert group certified and rated practicality of the overall knowledge sharing model at a high level. In conclusion, Facebook is an online networking that can be used in health communication works so that the health communicators can transfer knowledge and experience concerning disease prevention through the developed knowledge sharing activities.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43647
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1111
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.1111
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5278963939.pdf4.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.