Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43882
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอรวรรณ ศิริรัตน์พิริยะen_US
dc.contributor.advisorเกริกชัย ธนรักษ์en_US
dc.contributor.authorฉัตริญาภา ชื่นจิตรen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัยen_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:45:41Z
dc.date.available2015-06-24T06:45:41Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43882
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่ให้ผลผลิตน้ำมันสูงสุดต่อพื้นที่และมีดัชนีพื้นที่ใบมาก รัฐบาลมีนโยบายขยายพื้นที่ปลูกจาก 4.3 ล้านไร่ เป็น 10 ล้านไร่ ภายในปี พ.ศ. 2572 เพื่อรองรับยุทธศาสตร์ ไบโอดีเซล จึงหมายรวมถึงการเพิ่มการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ ผ่านกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง และกักเก็บคาร์บอนไว้ในรูปของมวลชีวภาพ การศึกษาวิจัยครั้งนี้จึงมุ่งศึกษาศักยภาพการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ของต้นปาล์มน้ำมันในระยะการเติบโตต่างๆ เพื่อนำเสนอบทบาททางบวกของการเกษตรต่อภาวะโลกร้อน จึงดำเนินการวัดด้วยเครื่องวัดอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงระบบเปิด (LI6400, USA) ในระยะอนุบาลแรก, อนุบาลหลัก, 3 ปี, 5 ปี, 7 ปี, 9 ปี และ 12 ปี และศึกษาการสะสมคาร์บอนในมวลชีวภาพของปาล์มน้ำมันในระยะต่างๆ ด้วย ทำการศึกษาที่ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี พบว่า ต้นปาล์มน้ำมันมีอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงได้ดีที่สุดในช่วงเวลา 08.00 – 10.00 น. มีอัตราการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ของปาล์มน้ำมันในระยะอนุบาลแรก, อนุบาลหลัก, 3 ปี, 5 ปี, 7 ปี, 9 ปี และ 12 ปี อยู่ระหว่าง 7.01 - 10.38, 8.16 - 11.42, 10.58 - 15.23, 10.25 - 18.36, 12.50 - 19.12, 25.70 - 31.64 และ 28.36 - 36.53 µmol CO2 m-2s-1 ตามลำดับ และมีปริมาณการกักเก็บคาร์บอนเฉลี่ย เท่ากับ 0.10, 2.75, 3.56, 5.68, 6.31, 7.64 และ 7.24 Kg ตามลำดับ เมื่อพยากรณ์การปลูกปาล์มน้ำมันในช่วงเวลาที่ปลูกเป็นการค้า (25 ปี) บนพื้นฐานการเติบโตคงที่ (อายุ 12 ปี) พบว่า มีอัตราการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ เท่ากับ 692.22 µmol CO2 m-2s-1 หรือ 304.58 ton ha-1s-1 ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันประมาณ 4.5 ล้านไร่ ดังนั้น จึงมีอัตราการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์เท่ากับ 219 ล้านตัน/วินาที ของพื้นที่ทั้งประเทศ กล่าวได้ว่าปาล์มน้ำมันนอกจากจะเป็นประโยชน์ด้านอุปโภคบริโภค และเป็นแหล่งพลังงานทดแทนแล้ว ยังช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์และกักเก็บคาร์บอนไว้ในมวลชีวภาพ จึงช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก นับเป็นส่วนร่วมของภาคเกษตรกรรมในการลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศen_US
dc.description.abstractalternativeThe oil palm tree has high leaf area index, grows very fast and give the highest yields per hectare with lower production costs. In Thailand, oil palm plantation area around 4.3 million hectares has been expanded to 10 million hectares in 2029 because of the policy to support biodiesel in the country. The increasing of oil palm tree means an increased of carbon dioxide captured via photosynthesis process and accumulation of carbon in the biomass. Therefore, clarification of carbon dioxide captured using a Portable Photosynthesis System (LI6400, USA) and measuring the biomasses of oil palm tree in various stages of growth (pre-nursery, main–nursery, 3 year, 5 year, 7 year and 12 year) were conducted at Suratthani Oil Palm Research Center, Suratthani Province. The results showed that oil palm tree at all growth stage had the maximum net photosynthesis during 08.00–10.00 am. The net assimilation rate of CO2 at pre-nursery, main-nursery, 3 year, 5 year, 7 year and 12 year growth stage were 7.01 - 10.38, 8.16 - 11.42, 10.58 - 15.23, 10.25 - 18.36, 12.50 - 19.12, 25.70 - 31.64 and 28.36 – 36.53 µmol CO2 m-2s-1 respectively, while the carbon storage were 0.10, 2.75, 3.56, 5.68, 6.31, 7.64 and 7.24 Kg respectively. The estimation based on the stable growth at 12 year, oil palm tree captured carbon dioxide during one economic growth age (25 years) around 692.22 µmol CO2 m-2s-1 (304.58 ton ha-1s-1) In Thailand presently, there are about 4.5 million hectares of oil palm plantations, so the net assimilation rate of CO2 was 219 million tons s-1. That is to say plantation of the oil palm trees will benefit for renewable energy as bio-fuel sources, carbon dioxide captured and reduced greenhouse gas emissions lead to the contribution of the agricultural sector as carbon sink via carbon captured and storage.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1436-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectปาล์มน้ำมัน
dc.subjectเชื้อเพลิงไบโอดีเซล
dc.subjectชีวมวล
dc.subjectOil palm
dc.subjectBiodiesel fuels
dc.subjectBiomass
dc.titleการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ในระยะการเติบโตต่างๆของปาล์มน้ำมันen_US
dc.title.alternativeCARBON DIOXIDE CAPTURED IN DIFFERENCE STAND AGES OF OIL PALMen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisororawan.si@chula.ac.then_US
dc.email.advisorkd.005@hotmail.com
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.1436-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5487118620.pdf4.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.