Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4392
Title: ผลของการจัดกิจกรรมบำบัดต่อความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองของเด็กสมาธิบกพร่อง อายุ 9-12ปี
Other Titles: The results of activity therapy on self-esteem of children with attention-deficit/hyperactivity disorder aged 9-12 years
Authors: วงศ์สิริ แจ่มฟ้า
Advisors: อุมาพร ตรังคสมบัติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Umaporn.Tr@Chula.ac.th
Subjects: กิจกรรมบำบัด
เด็กสมาธิสั้น
ความนับถือตนเอง
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดกิจกรรมบำบัดต่อความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองของเด็กสมาธิบกพร่อง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือที่ได้รับการวินิจฉัยจากจิตแพทย์ว่าเป็นโรคสมาธิบกพร่องทั้งชายและหญิงอายุ 9-12 ปี ที่มารับการรักษาในหน่วยจิตเวชเด็กโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ การสุ่มตัวอย่งใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มทดลอง 12 คนเข้าร่วมกลุ่มกิจกรรมบำบัด ส่วนกลุ่มควบคุม 12 คน เข้าร่วมกลุ่มกิจกรรมนันทนาการ ผู้วิจัยได้ให้เด็กทั้ง 2 กลุ่มตอบแบบวัดความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองที่ดัดแปลงมาจากแบบวัดความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองของคูเปอร์สมิท ฉบับนักเรียน ก่อนและหลังการทดลอง และติดตามผลต่ออีก 6 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่าเด็กสมาธิบกพร่องในกลุ่มทดลอง หลังจากเข้าร่วมกิจกรรมบำบัด และหลังจากเข้าร่วมกิจกรรมบำบัด 6 สัปดาห์ มีระดับคะแนนความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองสูงกว่าก่อนการเข้าร่วมกิจกรรมบำบัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เด็กสมาธิบกพร่องในกลุ่มควบคุมหลังจากการทดลองและหลังจากการทดลอง 6 สัปดาห์ มีระดับคะแนนความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองไม่แตกต่างจากก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบระดับคะแนนความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองระหว่าง 2 กลุ่ม เด็กสมาธิบกพร่องในกลุ่มทดลองหลังจากเข้าร่วมกิจกรรมบำบัด และหลังจากเข้าร่วมกิจกรรมบำบัด 6 สัปดาห์มีระดับคะแนนความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
Other Abstract: The purpose of this study was to determine the effect of an activity therapy on the self-esteem of children with attention-dificit/hyperactivity disorder. The sample consisted of children aged 9-12 years who visited the child psychiatry outpatient clinic, King Chulalongkorn Memorial Hospital, and have been diagnosed as having attention-dificit/hyperactivity disorder. Subjects were assigned into 2 groups by simple random sampling. The experimental group of 12 children participated in activity therapy while the control group of the same number of children participated in recreation activity. The instrument used in this study was the modified coopersmith self-esteem inventory, school form. Subjects filled out the inventory at the beginning and at the end of the activity period, and at 6-week follow up. Data were analyzed by t-test. The results of the study were as follows: for the experimental group, the self-esteem scores at the end of activity therapy and at 6-week follow up were significantly higher than atthe beginning of the study (p<0.1). For the control group, there was no significant change in the self-esteem scores. The comparison of self-esteem scores between both groups revealed no significant difference either as the start and at the end of the activity period and at 6-week follow up.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขภาพจิต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4392
ISBN: 9741309864
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wongsiri.pdf7.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.