Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44020
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพงษ์ธร จรัญญากรณ์-
dc.contributor.advisorณัฐเดช เฟื่องวรวงศ์-
dc.contributor.authorวิภาศรี เรืองเนตร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2015-06-24T09:08:52Z-
dc.date.available2015-06-24T09:08:52Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44020-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้ทำการศึกษาถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงเพื่อให้ความร้อนกับเตาเผาเหล็ก โดยใช้การประเมินวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Life cycle assessment; LCA) เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ โดยทำการวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อมในด้านภาวะโลกร้อน ด้านภาวะความเป็นกรด และด้านภาวะการเพิ่มขึ้นของแร่ธาตุในแหล่งน้ำ โดยในงานวิจัยนี้มีหน้าที่การใช้ (Functional Unit) คือปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้และมลพิษที่เกิดขึ้นจากการใช้พลังงานต่อการอุ่นเหล็ก 1 ตัน และใช้วิธีการประเมินวัฏจักรชีวิตแบบ Eco-Indicator 95 โดยทำการศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นทั้งหมดจากวัฏจักรชีวิตการเผาไหม้น้ำมันเตาซึ่งมีขั้นตอนย่อยเพียงขั้นตอนเดียวคือ ขั้นตอนการเผาไหม้น้ำมันเตาและวัฏจักรชีวิตการเผาไหม้แก๊สเชื้อเพลิงซึ่งมีขั้นตอนย่อยสองขั้นตอนคือ ขั้นตอนการผลิตแก๊สเชื้อเพลิงจากถ่านหินและขั้นตอนการเผาไหม้แก๊สเชื้อเพลิง เพื่อเปรียบเทียบถึงความเหมาะสมในแง่ของผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงประเภทดังกล่าว จากผลการวิจัยพบว่าวัฏจักรชีวิตการเผาไหม้น้ำมันเตาส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในด้านภาวะโลกร้อนมากที่สุด รองลงมาคือด้านภาวะความเป็นกรดและด้านภาวะการเพิ่มขึ้นของแร่ธาตุในแหล่งน้ำ ตามลำดับ โดยมีค่าคะแนนเชิงเดียวเท่ากับ 0.051 คะแนนต่อประชากรหนึ่งคน ซึ่งมากกว่าค่าคะแนนเชิงเดี่ยวที่เกิดขึ้นจากวัฏจักรชีวิตการเผาไหม้แก๊สเชื้อเพลิงที่ที่ผลิตจากถ่านหินซึ่งมีค่าคะแนนเท่ากับ 0.037 คะแนนต่อประชากรหนึ่งคน ดังนั้นหากต้องการเลือกใช้เชื้อเพลิงที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดก็ควรเลือกใช้แก๊สเชื้อเพลิงที่ผลิตจากถ่านหินเพื่อเป็นเชื้อเพลิงให้กับเตาเผาเหล็ก เนื่องจากวัฏจักรชีวิตการเผาไหม้แก๊สเชื้อเพลิงมีค่าคะแนนเชิงเดี่ยวที่แสดงให้เห็นถึงความรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า อย่างไรก็ตามค่าคะแนนเชิงเดี่ยวดังกล่าวยังไม่ได้คิดรวมปริมาณแก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์ที่เกิดจากระบบการผลิตแก๊สเชื้อเพลิงจากถ่านหินเข้าไปด้วยen_US
dc.description.abstractalternativeThis research studies environmental impact including global warming, acidification and euthophication of fuel combustion for reheating furnace by use of life cycle assessment (LCA). The functional unit of this research is the quantity of fuel and emission for reheating 1 ton steel. This thesis use of Eco-Indicator 95 method to impact assessment. Comparison of fuel oil combustion cycle that has one process is fuel oil combustion process and syngas combustion cycle that have two processes are coal gasification process and syngas combustion process. The results show that the fuel oil combustion cycle has the highest environmental impact on global warming and the single score of this cycle is 0.051 point per person which is greater than the single score of coal-to-syngas combustion cycle (at 0.037 point per person). This means the syngas combustion cycle has lower environmental impact than fuel oil combustion cycle. However, the single score for coal-to-syngas combustion cycle does not include the Hydrogen Sulfide (H2S) emission from coal gasification.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2012.379-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการเผาไหม้ -- ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมen_US
dc.subjectการผลิตก๊าซจากถ่านหินen_US
dc.subjectถ่านหินen_US
dc.subjectเตาเผาen_US
dc.subjectCombustion -- Effect of environment onen_US
dc.subjectCoal gasificationen_US
dc.subjectCoalen_US
dc.subjectKilnsen_US
dc.titleการประเมินวัฏจักรชีวิตของการผลิตแก๊สเชื้อเพลิงจากถ่านหินเพื่อใช้กับเตาเผาเหล็กen_US
dc.title.alternativeLife cycle assessment of coal gasification for reheating furnaceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมเครื่องกลen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPongtorn.C@chula.ac.th-
dc.email.advisorNattadate.F@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2012.379-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
wipasri_ru.pdf1.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.