Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44336
Title: การศึกษาแบบสุ่มประเมินผลการลดลงของริ้วรอยส่วนบนของใบหน้า โดยการฉีดพลาสมาที่มีปริมาณเกล็ดเลือดเข้มข้นของตนเอง เข้าใต้ผิวหนังด้านหนึ่งของใบหน้า เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม
Other Titles: A randomized double-blinded placebo controlled, split-face study on the clinical efficacy of intradermal autologous platelet-rich plasma for upper face wrinkle reduction
Authors: อมรรัตน์ รุ่งจรูญธนกุล
Advisors: มาริษา พงศ์พฤฒิพันธ์
พลภัทร โรจน์นครินทร์
กุสุมา รุ่งเรืองชัยศรี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: dr_marisa@yahoo.com
Ponlapat.R@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ผิวหนัง -- รอยย่น
ผิวหนัง -- รอยย่น -- การรักษา
เกล็ดเลือด -- การใช้รักษา
พลาสมา -- การใช้รักษา
Skin -- Wrinkles
Skin -- Wrinkles -- Treatment
Blood platelets -- Therapeutic use
Blood plasma -- Therapeutic use
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ที่มา : ริ้วรอยเป็นปัญหาหลักๆที่พบได้บ่อยในการรักษาด้านความงามของหน่วยผิวหนัง โดยการรักษานั้นก็มีหลายวิธี ซึ่งแต่ละวิธีต่างก็มีความเสี่ยงต่างๆกันไป กระบวนการหลักในการรักษาปัญหาทางด้านริ้วรอยคือการกระตุ้นให้เกิดการหายของแผล เช่น ใช้ความร้อน , การทำให้เกิดแผลต่อผิวหนัง เช่น การลอกผิวม การใช้เข็ม โดยการใช้เข็มเจาะทะลุเข้าไปในผิวหนัง ในหลายปีมานี้ได้มีการใช้พลาสมาที่มีปริมาณเกล็ดเลือดเข้มข้นของตนเองมาเพื่อช่วยเร่งการรักษาของแผลให้ดีขึ้น เช่น การรักษาแผลเบาหวานที่เท้า, การปลูกถ่ายเส้นเอ็น นอกจากนี้ยังมีหลายการศึกษาที่แสดงให้เห็นถึงผลที่ดีขึ้นของการรักษาริ้วรอยด้วยพลาสมาที่มีปริมาณเกล็ดเลือดเข้มข้นของตนเองร่วมกับการใช้เลเซอร์ หรือวิธีอื่นๆ ทางเราจึงได้ศึกษาผลของการรักษาริ้วรอยด้วยพลาสมาที่มีปริมาณเกล็ดเลือดเข้มข้นของตนเอง เปรียบเทียบกับน้ำเกลือ วัตถุประสงค์ : ศึกษาผลการรักษาริ้วรอยของใบหน้าส่วนบน หลังจากรักษาด้วยการฉีดพลาสมาที่มีปริมาณเกล็ดเลือดเข้มข้นของตนเอง เปรียบเทียบกับริ้วรอยที่รักษาด้วยการฉีดน้ำเกลือ วิธีการศึกษา : อาสาสมัครที่สุขภาพดี 30 คน อายุระหว่าง 30-70 ปี ที่มีริ้วรอยบนใบหน้าขณะพัก ที่หน้าผาก หางตา และใต้ตา ตาม Facial Grading Scale by ALASTAIR CARRUTHERS and JEAN CARRUTHERS ระดับ 2 ขึ้นไป นำมาสุ่มเลือกข้างของใบหน้าเพื่อทำการรักษาริ้วรอยบนใบหน้าส่วนบนโดยการฉีดพลาสมาที่มีปริมาณเกล็ดเลือดเข้มข้นของตนเอง และอีกข้างด้วยน้ำเกลือ ทุกๆ 4 สัปดาห์ ทั้งหมด 3 ครั้ง และติดตามผลหลังการรักษาหลังจากการฉีดครั้งแรกที่ 3 เดือน และ 6 เดือน ประเมินผลโดยการใช้เครื่อง Visioscan® ,แพทย์ผิวหนัง 3 ท่าน และความพึงพอใจของอาสาสมัครโดยดูจากภาพถ่ายก่อนการรักษา และหลังการรักษา ผลการศึกษา : จากการวัดด้วยเครื่อง Visioscan พบว่าริ้วรอยบนหน้าผากลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมในทุกครั้งที่ตรวจติดตาม (p value = 0.003 และ 0.005 ตามลำดับ) แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของริ้วรอยบริเวณหางตาและใต้ตา รวมถึงเมื่อเปรียบเทียบการดีขึ้นของริ้วรอยที่ 6 เดือนหลังให้การรักษาครั้งที่ 1 เมื่อประเมินโดยแพทย์ (Physicians’ global assessment of wrinkles) โดยใช้ quartile grading scale ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม อย่างไรก็ตามที่ 6 เดือน เมื่อสิ้นสุดการวิจัยผู้เข้าร่วมวิจัยให้คะแนนริ้วรอยบนใบหน้าด้านที่ให้การรักษาด้วยพลาสมาที่มีเกล็ดเลือดเข้มข้นของตนเองโดยรวมดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับด้านที่เป็นกลุ่มควบคุม (p value < 0.001, Wilcoxon signed-ranks test) และริ้วรอยบนใบหน้าบริเวณหน้าผาก, หางตา และใต้ตา ด้านที่ให้การรักษาดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับด้านที่เป็นกลุ่มควบคุม ในทุกครั้งที่ตรวจติดตาม (ที่ 3 เดือน p value = 0.034, 0.019 และ 0.047 ตามลำดับ, Wilcoxon signed-ranks test),(ที่ 6 เดือน p value = 0.003, <0.001 และ 0.005 ตามลำดับ, Wilcoxon signed-ranks test) ไม่มีผู้เข้าร่วมวิจัยคนไหนที่ไม่พอใจการรักษาด้วยวิธีนี้ ทั้งที่ 3 เดือน และที่ 6 เดือนหลังการรักษาครั้งแรกพบว่า ผู้เข้าร่วมวิจัยมากกว่า 50% มีความพึงพอใจมาก และผู้เข้าร่วมวิจัย 65.5% อยากกลับมารักษาด้วยวิธีนี้อีกครั้ง ผลข้างเคียงที่พบคือ อาการแดง, บวม และช้ำ ซึ่งหายได้เองภายใน 3-4 วัน ผลข้างเคียงอื่น คือเกิดรอยเข็มหลังให้การรักษาครั้งแรกซึ่งหายไปภายใน 1 สัปดาห์ สรุปผล : การรักษาริ้วรอยด้วยการฉีด ร่วมกับพลาสมาที่มีเกล็ดเลือดเข้มข้น ได้ผลดีโดยเฉพาะในการรักษาริ้วรอยบริเวณหน้าผากเมื่อประเมินที่ 3 และ 6 เดือนหลังให้การรักษาครั้งแรก อย่างไรก็ตาม อาจมีหลายปัจจัยที่มีผลต่อการรักษา เช่น ความรุนแรงการทำให้เกิดแผล, ชนิดของริ้วรอย และความรุนแรงของริ้วรอย ดังนั้นควรมีการศึกษาเพิ่มเติมในการใช้พลาสมาที่มีเกล็ดเลือดเข้มข้นเพื่อรักษาริ้วรอยต่อไป
Other Abstract: Background : Wrinkle is one of the most concerning problem in cosmetic dermatology clinic. Many modalities have been proposed with variable results and risks of side effects. Initiation of wound healing process is a major mechanisms of wrinkle treatment, it may triggered by heat, skin injury (such as needle, skin resurfacing) or mechanical process. Autologous platelet-rich plasma(PRP) has been used for years to facilitate wound healing in diabetic wound care, tendinitis graft healing, etc. Many studies had shown the better wrinkle appearance when PRP has been combined with laser treatment or other kind of treatments. We studied the effect of Autologous PRP comparing with placebo (0.9% normal saline solution) for wrinkle reduction. Objectives : To evaluate the clinical efficacy of the intradermal autologous platelet-rich plasma compared with 0.9% normal saline in the treatment of upper-face wrinkles. Materials and Methods : Thirty healthy subjects at the age of 30s to 60s, who has static wrinkles higher than grade 2 (Carruthers’s Facial Grading Scale) on the forehead, crow’s feet and lower eyelid, were enrolled. The treatment was given on one side of the face in random manner and the other served as a control. The intradermal autologous platelet-rich plasma was performed on the upper face area three times every 4 weeks. The objective outcomes were assessed by Visioscan® (Courage+Khazaka electronic GmbH, cologne, Germany) and the clinical outcome were assessed by digital photos at 3rd and 6th month after first treatment comparing with baseline. Result : The wrinkles on treated side shows significant reduction only on the forehead area compare with normal saline at 3rd and 6th month after first treatment (p value = 0.003 and 0.005 respectively) measuring by Visioscan® . The clinical improvement from digital photographs evaluated by 3-blinded dermatologists shows no significant difference between 2 groups at 6th month after first injection. However all of the volunteers are satisfied for this treatment and 65.5% want to repeat this treatment. All of side effects are mild and rapid recovery includes erythema, edema, pinpoint bleeding and ecchymosis. No serious side effect occurs. Conclusion : PRP with mechanical trauma is able to improve wrinkle appearance more than NSS especially on forehead. However, there are other factors that might effect the results include degree of injury, type and severity of wrinkles. Therefore, the use of PRP alone for wrinkle treatment still requires further investigation.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44336
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.576
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.576
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
amornrat_ru.pdf3.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.