Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4438
Title: บทบาทของเจ้าพนักงานควบคุมมลพิษตามพระราชบัญญัติส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
Other Titles: Roles of the pollution control officer under the Enhancement and Conservation of National Environment Quality Act B.E. 2535
Authors: ศรวณีย์ อินทสอน
Advisors: สุนีย์ มัลลิกามาลย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Sunee.M@Chula.ac.th
Subjects: เจ้าพนักงานควบคุมมลพิษ
พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
กฎหมายสิ่งแวดล้อม -- ไทย
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ผลการวิจัยพบว่า การแต่งตั้งเจ้าพนักงานควบคุมมลพิษในปัจจุบัน ไม่สอดคล้องกับแนวความคิดและเหตุผลของกฎหมาย ที่ต้องการให้เจ้าพนักงานควบคุมมลพิษ เป็นเสมือนผู้เชี่ยวชาญของภาครัฐในการปฏิบัติการ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษ โดยที่บทบาทอำนาจและหน้าที่ของเจ้าพนักงานควบคุมมลพิษ ในแต่ละด้านมีความสัมพันธ์โดยตรง กับคุณสมบัติของเจ้าพนักงานควบคุมมลพิษ อันจะทำให้การบังคับใช้กฎหมายเพื่อป้องกัน และแก้ไขปัญหามลพิษเกิดประสิทธิภาพได้ ทั้งนี้ยังมีข้อจำกัดและอุปสรรคเกี่ยวกับ การใช้อำนาจของเจ้าพนักงานควบคุมมลพิษ นอกจากนี้ คณะกรรมการควบคุมมลพิษซึ่งเป็นองค์กร ที่ทำหน้าที่วินิจฉัยคำร้องคัดค้านคำสั่ง ของเจ้าพนักงานควบคุมมลพิษ ยังคงมีความไม่ชัดเจนเพียงพอต่อการคุ้มครองสิทธิของประชาชน ที่ได้รับผลกระทบจากคำสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมมลพิษ ผู้วิจัยจึงเสนอแนะให้ปรับปรุงแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมาย และองค์กรที่ตรวจสอบการใช้อำนาจของเจ้าพนักงานควบคุมมลพิษ กล่าวคือ 1) ควรกำหนดคุณสมบัติของเจ้าพนักงานควบคุมมลพิษ โดยแบ่งระดับเจ้าพนักงานควบคุมมลพิษเป็น 2 ระดับ คือ ระดับปฏิบัติงานและระดับสั่งการ 2) กำหนดระยะเวลาที่ชัดเจนในการให้พนักงานเจ้าหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ดำเนินงาน 3) กำหนดให้คณะอนุกรรมการประสาน การจัดการสิ่งแวดล้อมและอุตสาหกรรมวินิจฉัยชี้ขาด ข้อขัดแย้งระหว่างเจ้าพนักงานควบคุมมลพิษกับพนักงานเจ้าหน้าที่ 4) ยกเลิกประกาศกระทรวงเกี่ยวกับการแต่งตั้ง เจ้าพนักงานควบคุมมลพิษที่ไม่สอดคล้องกับกฎหมาย 5) กำหนดเจ้าพนักงานควบคุมมลพิษที่จะเป็นผู้รับรายงานตามมาตรา 80 ให้ชัดเจน 6) กำหนดให้อำนาจเจ้าพนักงานตามกฎหมายอื่น ที่มีอำนาจควบคุมดูแลแหล่งกำเนิดมลพิษสามารถสั่งปิด พักใช้ เพิกถอน ในอนุญาตหรือสั่งให้หยุดใช้หรือทำประโยชน์ เกี่ยวกับแหล่งกำเนิดมลพิษด้วยเหตุที่ ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อมได้ 7) เพิ่มบทลงโทษทางอาญาในกรณีที่ฝ่าฝืนคำสั่งตามมาตรา 82 (2) และ 8) กำหนดให้คณะกรรมการควบคุมมลพิษแต่งตั้ง คณะอนุกรรมการเฉพาะด้านทำหน้าที่พิจารณาคำร้องคัดค้านคำสั่ง เจ้าพนักงานควบคุมมลพิษในเบื้องต้น โดยปรับปรุงกระบวนการพิจารณาวินิจฉัยให้เป็นธรรมยิ่งขึ้น ทั้งนี้ในทางปฏิบัติ ควรจัดฝึกอบรมให้ความรู้แก่ เจ้าพนักงานควบคุมมลพิษ จัดทำคู่มือปฏิบัติงาน และควรจัดงบประมาณให้ความช่วยเหลือและสนับสนุน ด้านอุปกรณ์และเครื่องมือแก่เจ้าพนักงานควบคุมมลพิษ ในส่วนภูมิภาคและท้องถิ่นสำหรับการตรวจสอบมลพิษด้านต่างๆ
Other Abstract: The research reveals that the appointment of the PCO as it is now is not in line with the concept and the rationale of the law which require the PCO the act as the expert of the government sector in the operation preventing and rectifying pollution problems. As the roles and authority of the PCO in each aspect directly relates to his/her qualifications in order to facilitate effective law enforcement on the prevention and rectification of pollution problems, restricitions and obstacles regarding the exercise of power of the PCO still prevail. In addition, there exists insufficient clarity with regard to the protection of the rights of the public affected by the order of the PCO within the Pollution Control Committee which is an organization considering the petition filed in objection to the order of the PCO and relevant procedures. It is therefore proposed that the provision of law and the organization examining the exercise of power of PCO be revised as follow 1) PCOs should be divided into two levels, i.e., command level and operation level; 2) Prescription of time for the operation of the competent officer under the Factory Act, B.E. 2535 (A.D. 1992) should be clearly defined; 3) The Sub-committee for the Coordination of Environment Management and Industry should be empowered to decide the conflict between the PCO and the competent officer; 4) Ministerial Announcements appointing PCO not in line with the law should be repealed; 5) The PCO receiving report under Section 80 should be clearly defined; 6) Competent officer under other laws with power to oversee pollution point source should be empowered to order suspension or revocation of permit, closure or cessation of use or exploitation in connection with pollution point source due to non-compliance with environmental requirement; 7) Criminal punishment on violation of order under section 82 (2) should be increased; and 8) The Pollution Control Committee should be empowered to appoint specialized sub-committee to initially consider the petition objecting the order of the PCO as well as to revise decision making procedure for fairer treatment. In practice, the PCOs should be given training and work manual and budget should be provided for assistance and support with regard to tools and equipment for regional and local PCOs to enable them to examine various types of pollution.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4438
ISBN: 9741304315
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sarawanee.pdf1.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.