Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44395
Title: ธรรมาภิบาลในองค์การภาครัฐ: ศึกษากรณีโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Other Titles: GOOD GOVERNANCE IN PUBLIC ORGANIZATIONS: CASE STUDIES OF SCHOOLS UNDER THE OFFICE OF THE BASIC EDUCATION COMMISSION, MINISTRY OF EDUCATION
Authors: วีระยุทธ พรพจน์ธนมาศ
Advisors: ดำรงค์ วัฒนา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
Advisor's Email: Damrong.W@Chula.ac.th,wdamrong@gmail.com
Subjects: ธรรมรัฐ -- ไทย
โรงเรียน -- การบริหาร
Good governance -- Thailand
School management and organization
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบธรรมาภิบาลที่เหมาะสมกับการบริหารโรงเรียน 2) ศึกษาสภาพการบริหารงานโรงเรียนตามหลักธรรมาภิบาล และ 3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับธรรมาภิบาลของโรงเรียน โดยมีสมมติฐานการวิจัย คือ 1) ธรรมาภิบาลในโรงเรียนมีองค์ประกอบที่ชัดเจน 2) โรงเรียนมีการบริหารงานเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล 3) ระดับธรรมาภิบาลของโรงเรียนขึ้นอยู่กับปัจจัยสภาพแวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมภายนอกของโรงเรียน ระเบียบวิธีวิจัยอาศัยวิธีเชิงคุณภาพวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์แล้วนำผลมาวิจัยในเชิงปริมาณและวิเคราะห์ผลด้วยสถิติต่างๆ ผลการวิจัย พบว่า 1) องค์ประกอบธรรมาภิบาลที่เหมาะสมกับการบริหารงานโรงเรียน มี 8 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ หลักความคุ้มค่า หลักเป้าหมายสอดคล้องต่อสังคม และหลักความมั่นคงจากค่าตอบแทนและสวัสดิการที่เป็นธรรม 2) สภาพการบริหารงานโรงเรียนตามหลักธรรมาภิบาลในภาพรวมอยู่ในระดับมากอย่างยิ่ง 3) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณมีความสอดคล้องกันว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับธรรมาภิบาลในโรงเรียน ซึ่งเป็นปัจจัยสภาพแวดล้อมภายในของโรงเรียน ได้แก่ ปัจจัยค่านิยมร่วมของโรงเรียน ระบบการดำเนินงานของโรงเรียน บุคลากร ทักษะ และ สไตล์ ส่วนปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอกของโรงเรียนที่ส่งผล ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางการเมือง ข้อเสนอแนะในการส่งเสริมให้โรงเรียนได้นำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารโรงเรียนอย่างประสบผลสำเร็จ ภาครัฐควรมีบทบาทในการส่งเสริมอย่างเป็นรูปธรรมโดยมีการวัดธรรมาภิบาลในโรงเรียน และมีการกระตุ้นจูงใจให้โรงเรียนนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในโรงเรียนตาม 8 องค์ประกอบของข้อค้นพบจากผลการวิจัยนี้
Other Abstract: This thesis aims to study 1) Components of good governance appropriate to the administration of schools, 2) the condition of school administration according to the principles of good governance, and 3) Factors that affect the levels of good governance of schools. The hypotheses of the research are that 1) Good governance in schools has clear components, 2) Schools' administration follows the principles of good governance, and 3) The schools' good governance levels depend on external and internal environments of the schools. The research methodology is a quality research method, and an analysis of the data gathered from documents and interviews. The results are analyzed in terms of quantity and through different statistical methods. The research has found that 1) There are 8 components of good governance appropriate for schools' administration-the principles of rule of law, morality, transparency, participation, accountability, value for money, relevance and security of fair compensation and benefit, 2) The overall level of good governance in school administration is very high, and 3) the results of quality and quantity analyses of the data are in accordance with each other, showing that the factors that affect schools' good governance are schools' internal environments, including schools' shared values, schools' operational system, staff, skills and styles. The external environment that affects good governance is political environment
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: รัฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44395
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.467
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.467
Type: Thesis
Appears in Collections:Pol - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5281507824.pdf8.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.