Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44407
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธัญวัฒน์ โพธิศิริen_US
dc.contributor.authorชุติมณฑน์ เสกธีระen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-08-21T09:28:29Z-
dc.date.available2015-08-21T09:28:29Z-
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44407-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractการปรับปรุงประสิทธิภาพการก่อสร้างอาคารในประเทศไทยนิยมประยุกต์ใช้เทคโนโลยีชิ้นส่วนโครงสร้างหล่อสำเร็จเพื่อลดระยะเวลาการก่อสร้าง โดยที่ผนังคอนกรีตหล่อสำเร็จรองรับน้ำหนักบรรทุกเป็นชิ้นส่วนโครงสร้างประเภทหนึ่งที่มีการใช้อย่างแพร่หลายเนื่องจากการติดตั้งที่สะดวกรวดเร็วและการคุณภาพของกระบวนการผลิต อย่างไรก็ตาม สมรรถภาพรองรับน้ำหนักบรรทุกของผนังมีแนวโน้มลดลงเมื่อสัมผัสเพลิงไหม้โดยที่การวิบัติของโครงสร้างอาจเกิดจากการหลุดล่อนของคอนกรีต การศึกษานี้พิจารณาแนวทางการเพิ่มสมรรถนะการทนไฟของผนังคอนกรีตหล่อสำเร็จรองรับน้ำหนักบรรทุกที่มีความหนา 120 มิลลิเมตรโดยการเติมเส้นใยพอลิโพรไพลีนในส่วนผสมของคอนกรีตประกอบกับการเสริมลวดตะแกรงเหล็กบริเวณระยะลึก 15 มิลลิเมตรจากผิวคอนกรีตด้านที่สัมผัสความร้อนโดยใช้ลวดตะแกรงเหล็กที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 มิลลิเมตร ขนาดช่องตะแกรง 50.8x50.8 มิลลิเมตร การทดสอบอัตราการทนไฟของผนังดำเนินการตามมาตรฐาน ISO 834 โดยแบ่งการทดสอบเป็น 2 ส่วน การทดสอบส่วนแรกกำหนดให้ค่าอัตราส่วนน้ำหนักบรรทุกเป็นตัวแปรศึกษา ในขณะที่การทดสอบส่วนที่ 2 พิจารณาผลกระทบของเส้นใยพอลิโพรไพลีนและลวดตะแกรงเหล็กต่อสมรรถนะการทนไฟของผนังคอนกรีตหล่อสำเร็จที่ทำการทดสอบภายใต้อัตราส่วนน้ำหนักบรรทุกคงที่เป็นระยะเวลา 180 นาที จากผลการทดสอบพบว่าอัตราส่วนน้ำบรรทุกมีผลต่อสมรรถภาพรองรับน้ำหนักบรรทุกของผนังภายใต้ภาวะอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และการเติมเส้นใยพอลิโพรไพลีนในส่วนผสมของคอนกรีตสามารถช่วยลดการหลุดล่อนของคอนกรีตและส่งผลให้สมรรถนะการทนไฟของผนังคอนกรีตหล่อสำเร็จเพิ่มขึ้น ในขณะที่การเสริมลวดตะแกรงเหล็กที่ระยะลึก 15 จากผิวของชิ้นตัวอย่างผนังด้านที่สัมผัสความร้อนเพียงอย่างเดียวส่งผลให้เกิดการหลุดล่อนของคอนกรีตอย่างรุนแรงและไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะเพิ่มสมรรถนะการทนไฟให้แก่ผนังคอนกรีตหล่อสำเร็จ สำหรับการเติมเส้นใยพอลิโพรไพลีนในส่วนผสมของคอนกรีตประกอบกับการเสริมลวดตะแกรงเหล็กไม่ช่วยเพิ่มสมรรถนะการทนไฟของผนังคอนกรีตหล่อสำเร็จอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับชิ้นตัวอย่างซึ่งทำการเติมเส้นใยพอลิโพรไพลีนลงในส่วนผสมของคอนกรีตเพียงอย่างเดียวen_US
dc.description.abstractalternativeThe efficiency of building construction in Thailand has by and large been improved though the use of precast structural members to minimize the erection time, with precast concrete load-bearing walls becoming a popular alternative due to the ease of installation and well-established quality control of the fabrication process. However, the load-bearing capacity of the walls tends to reduce under exposure to fire, with concrete spalling as a possible cause of structural failure. The current study is aimed to enhance the fire-resistance performance of precast concrete load-bearing walls with a thickness of 120 mm through the use of polypropylene fibers in the concrete mixture and the installation of 50.8x50.8 mm wire mesh with a diameter of 2 mm at the depth of 15 mm from the exposed surface. The fire-resistance tests are carried out in accordance with ISO 834 standard, and can be divided into two parts. The first part considers the load ratio as the varying parameter, while the second part investigates the effect of polypropylene fibers and wire mesh on the fire-resistance performance of the precast concrete walls under a specified load ratio and a heating period of 180 min. Based on the test results, it is found that the load ratio significantly affects the load-bearing capacity of the walls under elevated temperatures. Further, the use of polypropylene fiber in the concrete mixture can effectively reduce the degree of concrete spalling and thereby enhance the fire-resistance performance of the precast concrete walls. Meanwhile, the installation of wire mesh at the depth of 15 mm from the exposed surface of the wall may induce severe concrete spalling and is ineffective in increasing the wall’s fire-resistance performance. Also, the use of wire mesh in conjunction with polypropylene fibers has negligible effect on enhancing the fire-resistance performance of precast concrete walls compared with using polypropylene fibers only.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleการเพิ่มสมรรถนะการทนไฟของผนังคอนกรีตหล่อสำเร็จรองรับน้ำหนักบรรทุกen_US
dc.title.alternativeENHANCEMENT OF FIRE-RESISTANCE PERFORMANCE FOR PRECAST CONCRETE LOAD-BEARING WALLSen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมโยธาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorThanyawat.P@chula.ac.th,fcetps@eng.chula.ac.then_US
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5370634021.pdf4.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.