Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44437
Title: กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนเพื่อสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้
Other Titles: SCHOOL MANAGEMENT STRATEGIES FOR CREATING LEARNING MANAGEMENT INNOVATIONS
Authors: ณิชา ฉิมทองดี
Advisors: พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์
ชญาพิมพ์ อุสาโห
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Pruet.S@Chula.ac.th,pruet.s@chula.ac.th
Chanyapim.U@Chula.ac.th
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่เป็นไปได้และสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารโรงเรียนเพื่อสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ 2) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและภาวะคุกคามของการบริหารโรงเรียนเพื่อสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ 3) พัฒนากลยุทธ์การบริหารโรงเรียนเพื่อสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสม กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 397 โรงเรียน เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยายและเทคนิค PNImodified ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการบริหารโรงเรียนมีค่าเฉลี่ยในระดับปานกลาง สภาพที่เป็นไปได้และสภาพที่พึงประสงค์มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2) จุดแข็ง ได้แก่ การวางแผนกลยุทธ์ การจัดกระบวนการสร้างนวัตกรรมและการเสริมสร้างวัฒนธรรมสร้างสรรค์ จุดอ่อน ได้แก่ การวัดความสามารถขององค์การและการให้รางวัลผู้สร้างนวัตกรรม โอกาส ได้แก่ นโยบายด้านการศึกษาของรัฐและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ส่วนสภาพเศรษฐกิจและสังคมเป็นภาวะคุกคาม 3) กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนเพื่อสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย (1) เสริมจุดแข็งและโอกาสควบคู่กับการป้องกันภาวะคุกคามในการวางแผนกลยุทธ์เพื่อสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ (2) เสริมจุดแข็งและโอกาสควบคู่กับการป้องกันภาวะคุกคามในการจัดกระบวนการสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ (3) เสริมจุดแข็งและโอกาสควบคู่กับการลดจุดอ่อนในการเสริมสร้างวัฒนธรรมสร้างสรรค์ (4) เสริมโอกาสควบคู่กับการลดจุดอ่อนและป้องกันภาวะคุกคามในการวัดความสามารถขององค์การในการสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ และ (5) เสริมจุดแข็งและโอกาสควบคู่กับการลดจุดอ่อนและป้องกันภาวะคุกคามในการให้รางวัลผู้สร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้
Other Abstract: The objectives of the research were 1) to study the current, possible and desirable states of school management; 2) to analyze the strengths, weaknesses, opportunities and threats of school management; 3) to develop school management strategies for creating learning management innovations; with mixed method research. The samples were 397 schools. The research instrument was questionnaires. Data were analyzed by descriptive statistic and PNImodified technique. The finding were: 1) The overall of current school management for creating learning management innovations was at a moderate level and the overall of possible and desirable school management for creating learning management innovations was at a high level. 2) The strengths were the strategic planning, innovation process and creative culture. The weaknesses were innovation metrics and innovation rewards. The opportunities were the government education policies and technological advancement. The Threats were the economic and social conditions. 3) The school management strategies for creating learning management innovations were (1) Enrich the strengths and opportunities and prevent the threats for creating learning management innovations in strategic planning (2) Enrich the strengths and opportunities and prevent the threats for creating learning management innovations in innovation process. (3) Enrich the strengths and opportunities and decrease the weaknesses for creating learning management innovations in creative culture. (4) Enrich the opportunities and decrease the weaknesses and threats for creating learning management innovations in innovation metrics and (5) Enrich the strengths and opportunities and decrease the weaknesses and threats for creating learning management innovations in innovation rewards.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44437
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5384454827.pdf9.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.