Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4445
Title: ผลของการฝึกออกกำลังกล้ามเนื้อต้นขาด้วยวิธีการอย่างง่าย ในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม
Other Titles: Effectiveness of quadriceps-strengthening exercise with modified regime in patients with osteoarthritis of the knee
Authors: ชฎิล สมรภูมิ
Advisors: อารีรัตน์ สุพุทธิธาดา
อนันต์ ศรีเกียรติขจร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: sareerat1@yahoo.com
fmedask@md2.md.chula.ac.th
Subjects: ข้อเข่า
ข้อเข่าเสื่อม
การฝึกกำลังกล้ามเนื้อ
กระดูกและข้ออักเสบ
กล้ามเนื้อ
โคนขา
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาผลการฝึกออกกำลังกล้ามเนื้อต้นขาด้วยวิธีการอย่างง่าย ในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมแบบปฐมภูมิในระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง ศึกษาในกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยจำนวน 42 ราย อายุเฉลี่ย 61 ปี สุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยใช้วิธีตารางเลขสุ่มแบ่งกลุ่มผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกได้รับการฝึกออกกำลังกล้ามเนื้อต้นขาด้วยวิธีการอย่างง่าย โดยการค่อยๆ เพิ่มแรงต้านของน้ำหนักที่ยกตามความแข็งแรง ของกล้ามเนื้อต้นขาที่เพิ่มขึ้น ในช่วงองศาการเคลื่อนไหว 30-0 องศาของการเหยียดข้อเข่า ฝึกที่ฝ่ายเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เป็นเวลา 2 สัปดาห์ และฝึกต่อที่บ้านอีก 2 สัปดาห์ กลุ่มที่ 2 ได้รับการแนะนำการออกกำลังกล้ามเนื้อต้นขาที่บ้าน โดยไม่ใช้แรงต้านในช่วงองศาการเคลื่อนไหว 90-0 องศาของการเหยียดข้อเข่า เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ซึ่งทั้งสองกลุ่มได้รับการรักษาทางกายภาพบำบัดเหมือนกันเป็นเวลา 2 สัปดาห์ วัดค่าความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขาด้วย Isokinetic dynamometer (Cybex II dynamometer 6000) อาการปวดข้อเข่าและประสิทธิภาพในการทำกิจวัตรประจำวัน วัดด้วยแบบสอบถาม Modified WOMAC scale ก่อนการวิจัย ระหว่างการวิจัยทุกสัปดาห์และเมื่อสิ้นสุดการวิจัยที่ 4 สัปดาห์ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า เมื่อสิ้นสุดการวิจัยที่ 4 สัปดาห์ กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการฝึกออกกำลังกล้ามเนื้อต้นขา ด้วยวิธีการอย่างง่าย (กลุ่มทดลอง) และกลุ่มที่ได้รับการแนะนำ การฝึกออกกำลังกล้ามเนื้อต้นขาที่บ้าน (กลุ่มควบคุม) ไม่มีความแตกต่างกันของความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขาข้างขวา (p=0.917) และข้างซ้าย (p=0667) อาการปวดข้อเข่าขวา (p=0.381) และข้อเข่าซ้าย (p=0.406) และประสิทธิภาพในการทำกิจวัตรประจำวันขาข้างขวา (p=0.692) และขาข้างซ้าย (p=0.816) เมื่อเปรียบเทียบผลทุกๆ สัปดาห์ของการฝึก พบว่าเมื่อสิ้นสุดสัปดาห์ที่สองของการฝึก ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขา เมื่อเทียบกับก่อนฝึกมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) คือ ค่าเฉลี่ยความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขาข้างซ้ายในกลุ่มทดลอง ที่วัดด้วยวิธี Isokinetic 60 องศาต่อวินาที ก่อนการฝึกเท่ากับ 21.70 Nm/kg เมื่อสิ้นสุดสัปดาห์ที่สองเท่ากับ 34.50 Nm/kg และขาข้างขวาก่อนการฝึกเท่ากับ 17.75 Nm/kg เมื่อสิ้นสุดสัปดาห์ที่สองเท่ากับ 33.30 Nm/kg ในกลุ่มควบคุมค่าเฉลี่ยความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขาข้างซ้าย ที่วัดด้วยวิธี Isokinetic 60 องศาต่อวินาที ก่อนการฝึกเท่ากับ 23.54 Nm/kg เมื่อสิ้นสุดสัปดาห์ที่สองเท่ากับ 36.77 Nm/kg และขาข้างขวาก่อนการฝึกเท่ากับ 19.77 Nm/kg เมื่อสิ้นสุดสัปดาห์ที่สองเท่ากับ 34.59 Nm/kg อาการปวดข้อเข่าลดลงและประสิทธิภาพในการทำกิจวัตรประจำวันดีขึ้น เมื่อสิ้นสุดสัปดาห์แรกของการฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p < 0.01) คือ คะแนนเฉลี่ยที่ได้จากแบบสอบถาม Modified WOMAC scale เพื่อประเมินอาการปวดข้อเข่าซ้ายในกลุ่มทดลองก่อนการฝึกเท่ากับ 7.40 คะแนน เมื่อสิ้นสุดสัปดาห์แรกเท่ากับ 5.40 คะแนน และข้อเข่าขวาก่อนการฝึกเท่ากับ 6.85คะแนน เมื่อสิ้นสุดสัปดาห์แรกเท่ากับ 5.10 คะแนน อาการปวดข้อเข่าซ้ายในกลุ่มควบคุมก่อนการฝึกเท่ากับ 8.63คะแนน เมื่อสิ้นสุดสัปดาห์แรกเท่ากับ 5.18 คะแนน และข้อเข่าขวาก่อนการฝึกเท่ากับ 8.77 คะแนน เมื่อสิ้นสุดสัปดาห์แรกเท่ากับ 5.31 คะแนน และคะแนนเฉลี่ยที่ได้จากแบบสอบถาม Modified WOMAC scale เพื่อประเมินประสิทธิภาพการทำกิจวัตรประจำวันขาซ้ายในกลุ่มทดลองก่อนการฝึกเท่ากับ 24.55 คะแนน เมื่อสิ้นสุดสัปดาห์แรกเท่ากับ 14.25 คะแนน และขาขวาก่อนการฝึกเท่ากับ 24.50 คะแนน เมื่อสิ้นสุดสัปดาห์แรกเท่ากับ 13.95 คะแนน ประสิทธิภาพการทำกิจวัตรประจำวันขาซ้ายในกลุ่มควบคุมก่อนการฝึกเท่ากับ 33.18 คะแนน เมื่อสิ้นสุดสัปดาห์แรกเท่ากับ 20.00 คะแนน และขาขวาก่อนการฝึกเท่ากับ 33.50 คะแนน เมื่อสิ้นสุดสัปดาห์แรกเท่ากับ 20.04 คะแนนผลการวิจัยครั้งนี้สรุปว่า การออกกำลังเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขาในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมแบบปฐมภูมิในระดับเล็กน้อยถึงปานกลางมีผลช่วยลดอาการปวดข้อเข่า และประสิทธิภาพในการทำกิจวัตรประจำวันดีขึ้นตั้งแต่สัปดาห์แรกของการฝึก และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขาเพิ่มขึ้นตั้งแต่สิ้นสุดสัปดาห์ที่สองของการฝึก โดยไม่มีความแตกต่างกันทั้งความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขา อาการปวดข้อเข่าและประสิทธิภาพในการทำกิจวัตรประจำวันจากวิธีการฝึกที่ต่างกันสองวิธีนี้
Other Abstract: To evaluate the effects of quadriceps strengthening exercise with modified regimen in patients with mild to moderate primary knee osteoarthritis. Forty two subjects, mean ages 61 years, with diagnosed as mild to moderate primary knee osteoarthritis were studied. Randomized single blind clinical trial was conducted to compared between supervised quadriceps strengthening exercise with modified regimen, progressive resistive exercise using quadriceps board and anklets and home program free weight isotonic exercise. Quadriceps strength was measured by isokinetic machine. Knee pain and functional abilities of knee joints were measured by modified WOMAC scale every week until the end of the forth week. The results showed no statistically significant difference between two groups in quadriceps strength (right side p = 0.917, left side p = 0.667), in knee pain, (right side p =0.381, left side p =0.406) and in functional abilities (right side p=0.692, left side p=0.816). The comparison between before exercise and each week of quadriceps strength, knee pain and functional abilities showed significant increment of quadriceps strength at the end of the second week (p<0.01), decrement of knee pain and improvement of functional abilities showed significant at the end of the first week (p<0.01) of both groups. In conclusion, this study show that quadriceps strengthening exercise training in patients with mild to mederate primary knee osteoarthritis will decrease knee pain, increase functional ability since the end of the first week and increase quadriceps strength since the end of the second week. There is no significant difference of quadriceps strength, knee pain and functional ability between supervised quadriceps strengthening exercise with modified regimen and home program exercise in patients with mild to moderate primary knee osteoarthritis.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เวชศาสตร์การกีฬา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4445
ISBN: 9743466436
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chadin.pdf2.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.