Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44779
Title: การพัฒนาหลักสูตรกลุ่มวิชาภูมิปัญญาไทยด้านศิลปะ ระดับปริญญาบัณฑิต สาขาวิชาศิลปศึกษา โดยใช้การเรียนรู้เชิงบูรณาการ
Other Titles: Curriculum development of the Thai art wisdom courses in undergraduate art education programs using integrated learning
Authors: วัชรินทร์ ฐิติอดิศัย
Advisors: ไพฑูรย์ สินลารัตน์
สุลักษณ์ ศรีบุรี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Paitoon.Si@Chula.ac.th
Sulak.S@chula.ac.th
Subjects: ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
ภูมิปัญญาชาวบ้าน
ศิลปกรรม -- หลักสูตร
การวางแผนหลักสูตร
Local wisdom
Art -- Curriculum
Curriculum planning
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารายวิชาภูมิปัญญาไทย สาขาวิชาศิลปะ ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ พัฒนาและทดลองใช้หลักสูตรกลุ่มวิชาภูมิปัญญาไทยด้านศิลปะ และประเมินผลหลักสูตรกลุ่มวิชาภูมิปัญญาไทยด้านศิลปะ หลักสูตรกลุ่มวิชาที่พัฒนาขึ้นนี้ มุ่งเน้นเรื่องการใช้แหล่งการเรียนรู้ทางศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยมีความหลากหลาย โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้เชิงบูรณาการ 4 รูปแบบ ได้แก่ แบบ Nested, Sequenced, Webbed, และ Immersed และการเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ให้รู้จักวิธีการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง การเชื่อมโยงความรู้และการสร้างองค์ความรู้รวม ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.การศึกษารายวิชาภูมิปัญญาไทยด้านศิลปะ พบว่า เป็นรายวิชาเปิดใหม่ของคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ในหลักสูตร 5 ปี ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2547 ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. 2542 มีการเปิดเป็นรายวิชา 3 แห่ง และหลักสูตรกลุ่มวิชา 1 แห่ง โดยส่วนใหญ่จะเปิดเป็นรายวิชาบังคับและรายวิชาเลือกเพียง 1-2 วิชาเท่านั้น อาจารย์ผู้สอนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับด้านโครงสร้างหลักสูตร ควรพัฒนาเป็นหลักสูตรกลุ่มวิชา ด้านวัตถุประสงค์ เพิ่มการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินความรู้ที่ได้อย่างเป็นระบบ ความใฝ่รู้ ใฝ่เรียน และมีคุณธรรม วิธีแสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากแหล่งการเรียนรู้ และทักษะทางด้านสังคม เนื้อหาสาระควรเน้นเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่น และความรู้เชิงลึกเกี่ยวกับภูมิปัญญาไทยด้านศิลปะ การจัดการเรียนการสอน เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และมีการใช้แหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลายมากขึ้น 2.การพัฒนาและทดลองใช้หลักสูตร ได้หลักสูตรกลุ่มวิชาที่ประกอบไปด้วยหลักการและเหตุผล โครงสร้างหลักสูตร เป็นรายวิชาบังคับ 4 หน่วยกิต และรายวิชาเลือก 6 หน่วยกิต วัตถุประสงค์ของกลุ่มรายวิชาและรายวิชา ด้านความรู้ มีความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาไทยทั้งในเชิงกว้างและเชิงลึก สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ เชื่อมโยงความรู้อย่างเป็นระบบ ด้านเจตคติ ตระหนัก ซาบซึ้ง เห็นคุณค่า อนุรักษ์ และพัฒนา ภูมิปัญญาไทย ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน มีคุณธรรมและจริยธรรม ด้านทักษะ สามารถแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง สามารถปฏิบัติสร้างสรรค์งานได้ มีทักษะสังคม และทักษะชีวิต เนื้อหาวิชา มีทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ในเชิงกว้างและเชิงลึก การจัดการเรียนการสอน ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เน้นกระบวนเรียนรู้ โดยใช้วิธีบูรณาการ 4 รูปแบบ การวัดและการประเมินผล ประเมินตนเองและกลุ่มจากกระบวนการเรียนรู้ และการใช้แหล่งการเรียนรู้เชิงบูรณาการจากแหล่งการเรียนรู้ 4 ประเภท การทดลองใช้หลักสูตรเป็นกรณีศึกษา 1 รายวิชากับนิสิตสาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเมินผลโดยใช้เครื่องมือที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติทดสอบ (t-test) ค่าเฉลี่ย (x-bar) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากแหล่งการเรียนรู้เชิงบูรณาการ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน สูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เจตคติของผู้เรียนเกี่ยวกับภูมิปัญญาไทยด้านศิลปะอยู่ในระดับมากที่สุดถึงมาก ความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักสูตรรายวิชาทั้ง 6 ด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน ความคิดเห็นที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยตนเองอยู่ในระดับมากและระดับปานกลางเท่ากัน และความคิดเห็นที่มีต่อการเรียนรู้แบบบูรณาการของผู้เรียน อยู่ในระดับมากเป็นส่วนใหญ่ 3.การประชุมผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อประเมินหลักสูตร พบว่า เป็นหลักสูตรที่ดี มีประโยชน์ มีความเหมาะสมกับการนำไปใช้ และควรพัฒนาให้เป็นหลักสูตรระดับภาควิชา การจัดการเรียนการสอน ควรใช้รูปแบบบูรณาการทั้ง 4 รูปแบบในทุกรายวิชา การปรับปรุงแก้ไขหลักสูตร ได้หลักสูตรกลุ่มวิชาภูมิปัญญาไทยด้านศิลปะที่ประกอบด้วยรายวิชาบังคับ 2 วิชา (4 หน่วยกิต) ได้แก่ วิชาภูมิปัญญาไทยด้านศิลปะ และศิลปะพื้นบ้าน และรายวิชาเลือก 3 วิชา (6 หน่วยกิต) จากรายวิชาเลือก 5 วิชาคือ ภูมิปัญญาไทยด้านศิลปะท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยกับการออกแบบร่วมสมัย และการศึกษารายบุคคลเกี่ยวกับภูมิปัญญาไทย 1,2 และ 3
Other Abstract: The purposes of this research were to study Thai art wisdom courses offered at public higher education institutions, to develop and implement Thai art wisdom courses, and to evaluate implemented courses. The Thai art wisdom courses developed focused on the use of a diverse range of artistic, cultural and Thai art wisdom learning methods. The four integrated learning models used were: the Nested Model, Sequenced Model, Webbed Model and Immersed Model. All courses were learner-centered and encouraged self-learning, integration of knowledge and the development of combined core knowledge. The findings of this research were as follows: 1.Study of courses: Of the four education programs studies, three offered only one or two compulsory or elective courses in Thai art wisdom. Only one program offered a Thai art wisdom major. All were five-year education programs introduced in 2004 following the guidelines of the Education Act B.E. 2542. Lecturers were of the opinion that Thai art wisdom should be widely available as a major with the following objectives: to encourage structured reflection, analysis, synthesis and evaluation of knowledge; to instill eagerness to explore and develop sound moral sense; and to develop self-learning capabilities and social skills. The contents of this major should revolve around local wisdom and an in-depth understanding of Thai art wisdom. The Thai art wisdom major should be learner-centered and exploit a increasingly diverse variety of learning resources. 2. Development and implementation of courses: The effort resulted in number of courses, complete with principles, rationale and curriculum structure. The constituted four credits in required courses and six credits in elective courses. The objectives of three courses were multi-faceted. Content-wise, the courses aimed to provide learners with a board and in-depth knowledge of Thai art wisdom and the ability to analyze, synthesize and integrate knowledge in a structured manner. Attitude-wise, the courses aimed to create awareness and an appreciation of Thai art wisdom and the need to preserve and advance it, as well as to instill an eagerness to learn and a sound moral and ethical sense. Skill-wise, the courses aimed to empower learners with the capability to learn independently and to create Thai art wisdom, together with necessary social and life skills. These courses are theoretical, practical and learner-centered. They are grounded in the four integrated learning models and evaluate learners and their peers in the learning process using the four learning resources. One course was implemented as a case study with students of the Art Education Department, Faculty of Education, Chulalongkorn University. Evaluation was carried out using a research tool developed by the researcher, whereby t-test, [x-bar] and SD were examined. Students were found to have statistically significant higher average scores in self-learning from integrated learning resources and in academic achievement at .05. Their attitude towards Thai art wisdom was in the very positive to positive range and their opinions on the course were positive in all six aspects. The students’ opinions on self-learning were in the positive to moderate range and opinions on integrated learning of the majority of students was positive. 3.Evaluation of courses by a panel of qualified individuals: The courses are useful and suitable for implementation. They should be developed into department-level courses. All four integrated learning models should be used in each of the courses. The resulting Thai art wisdom courses were two compulsory courses (four credits) in Thai art wisdom and local art, and two-three elective courses (six credits) from the original five, in local Thai art wisdom, Thai art wisdom and contemporary design and Thai art wisdom individual studies I,II and III.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: อุดมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44779
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.768
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.768
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Watcharin_Th.pdf2.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.