Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44797
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ-
dc.contributor.authorอาทิตย์ อินต๊ะแก้ว-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2015-08-29T04:15:05Z-
dc.date.available2015-08-29T04:15:05Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44797-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประเภทและระดับความเงียบของนักศึกษาในชั้นเรียนวิชาภาษาอังกฤษ 2) ศึกษาตัวแปรอธิบายความเงียบของนักศึกษาในชั้นเรียนวิชาภาษาอังกฤษ และ 3) พัฒนาและตรวจสอบความเหมาะสมของทฤษฎีฐานรากของความเงียบในชั้นเรียนวิชาภาษาอังกฤษ สามารถแบ่งขั้นตอนการวิจัยออกเป็น 3 ระยะได้แก่ ระยะที่ 1 การวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างนักศึกษาที่มีลักษณะพฤติกรรมค่อนข้างเงียบและไม่เงียบในชั้นเรียนวิชาภาษาอังกฤษจำนวน 21 คน และกลุ่มอาจารย์ผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารจำนวน 6 คน ใช้วิธีการสนทนากลุ่มนักศึกษา การสัมภาษณ์นักศึกษารายกรณี การสัมภาษณ์ผู้สอนและการสังเกตในชั้นเรียน เครื่องมือวิจัยได้แก่ แบบสนทนากลุ่ม แบบสัมภาษณ์นักศึกษาและผู้สอน และแบบสังเกตชั้นเรียน ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิธีการจำแนกประเภทข้อมูล ระยะที่ 2 การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาทั้ง 3 สังกัด จำนวน 544 คน เครื่องมือวิจัยได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับการพูดและแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียนวิชาภาษาอังกฤษ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (one way ANOVA) และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุแบบกำหนดลำดับขั้น (hierarchical regression analysis) และระยะที่ 3 การวิจัยแบบผสมวิธี เป็นขั้นตอนการพัฒนาทฤษฎีฐานรากโดยนำผลการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณมาสนับสนุนร่วมกัน เครื่องมือวิจัยได้แก่ แบบประเมินความเหมาะสมของทฤษฎีฐานราก สรุปผลวิจัยได้ดังนี้ 1) ประเภทของความเงียบในชั้นเรียนวิชาภาษาอังกฤษแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทคือ ความเงียบประเภทไม่รู้ ความเงียบประเภทที่เกิดจากอารมณ์ความรู้สึกและความเงียบประเภทเป็นกลาง นักศึกษามหาวิทยาลัยมีระดับความเงียบในชั้นเรียนวิชาภาษาอังกฤษในระดับปานกลาง เมื่อเปรียบเทียบระดับความเงียบแยกตามสังกัดของมหาวิทยาลัย เพศของนักศึกษา จำนวนปีที่เรียนภาษาอังกฤษมาแล้วจนถึงปัจจุบัน และประสบการณ์การเรียนต่างประเทศหรือทำงานที่เกี่ยวกับการใช้ภาษาอังกฤษ พบว่านักศึกษาต่างมีระดับความเงียบไม่ต่างกัน และเมื่อเปรียบเทียบแยกตามชั้นปี กลุ่มสาขาวิชาที่เรียน ผลการเรียนเฉลี่ยสะสม และผลการเรียนภาษาอังกฤษโดยรวม พบว่านักศึกษามีระดับความเงียบในชั้นเรียนวิชาภาษาอังกฤษแตกต่างกัน 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเงียบของนักศึกษาในชั้นเรียนวิชาภาษาอังกฤษประกอบด้วย 4 ปัจจัยได้แก่ ปัจจัยด้านผู้สอน ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพในชั้นเรียน ปัจจัยด้านเพื่อนในชั้นเรียน และ ปัจจัยด้านผู้เรียน โดยทั้ง 4 ปัจจัยร่วมกันอธิบายความเงียบของนักศึกษาในชั้นเรียนวิชาภาษาอังกฤษได้ร้อยละ 33.7 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) การพัฒนาทฤษฎีฐานรากใช้ผลการวิจัยเชิงคุณภาพผสมกับผลการวิจัยเชิงปริมาณ และตรวจสอบความเหมาะสมของทฤษฎีโดยผู้เชี่ยวชาญ โดยทฤษฎีที่สร้างขึ้นมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทความเงียบของนักศึกษาไทยในชั้นเรียนวิชาภาษาอังกฤษen_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were 1) to study types and level of university students’ silence in English classroom, 2) to study the factors that explain the university students’ silence, and 3) to build a grounded- theory on students’ silence in English classroom. There were 3 phases in this study which were the qualitative study (1st phase), sample groups were 21 undergraduate students and 6 English language teachers using the focus group, the interviews, and the classroom observation. The typological analysis was used in this phase. The quantitative study (2nd phase), sample group were 544 undergraduate students in Bangkok. The research instrument was a questionnaire. Data were analyzed by descriptive statistics, analysis of variance and hierarchical regression analysis. The mixed- methods research (3rd phase) was to build a grounded theory on Thai undergraduate students’ silence in English classroom. The qualitative and quantitative data from the first two phases were mixed together to build a grounded theory. The research instrument in this phase was a grounded theory evaluation form. The research findings were as follows: 1) There are three types of university students’ silence in English classroom which are unknown silence, psychological silence, and neutral silence. Undergraduate students have a neutral silence. Students divided by types of university, gender, years of English study and the experience in learning and working abroad have significantly an indifferent level of silence whereas those divided by years of study (grades), majors, GPA, an overall of English study have significantly the different level of silence. 2) Factors explaining the university students’ silence in English classroom are teachers, classroom environment, friends and the learner which explains university students’ silence in English classroom at 33.7 percentages. 3) A grounded- theory of university students’ silence was built by the mixture of the qualitative and quantitative results and was evaluated by three experts. It is reasonable and transferable to other relevant Thai learners’ silence contexts.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2012.20-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectภาษาอังกฤษ -- การศึกษาและการสอน -- ผู้พูดภาษาต่างประเทศen_US
dc.subjectภาษาอังกฤษ -- การศึกษาและการสอน (อุดมศึกษา) -- ผู้พูดภาษาต่างประเทศen_US
dc.subjectEnglish language -- Study and teaching -- Foreign speakersen_US
dc.subjectEnglish language -- Study and teaching (Higher) -- Foreign speakersen_US
dc.titleประเภทของความเงียบและตัวแปรอธิบายความเงียบของนักศึกษามหาวิทยาลัยในชั้นเรียนภาษาอังกฤษ : การพัฒนาทฤษฎีฐานรากจากการวิจัยแบบผสมวิธีen_US
dc.title.alternativeTypes and explained variables of university students’ silence in English classrooms : a grounded theory building from mixed methods researchen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorDuangkamol.T@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2012.20-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
arthit_in.pdf2.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.