Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44805
Title: การสร้างสรรค์รายการโทรทัศน์ที่นำเสนอกิจกรรมเชิงสุนทรียะเพื่อส่งเสริมสุขภาวะสำหรับผู้สูงอายุ
Other Titles: The creation of television program presenting aesthetic activities to promote well-being for the elderly
Authors: ภิญญดา ธิติกุลมาศ
Advisors: ประภัสสร จันทร์สถิตย์พร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: prapassornch@hotmail.com
Subjects: โทรทัศน์กับผู้สูงอายุ
รายการโทรทัศน์
สุขภาวะ
สุนทรียศาสตร์
Television and older people
Television programs
Well-being
Aesthetics
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงสร้างสรรค์ (Creative Research) ที่เน้นกระบวนการสร้างสรรค์รายการโทรทัศน์ที่นำเสนอกิจกรรมเชิงสุนทรียะเพื่อส่งเสริมสุขภาวะสำหรับผู้สูงอายุ ดังนั้นจึงต้องใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงสหวิธีการ ซึ่งใช้ทั้งระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการทำการสำรวจ (Survey) จากแบบสอบถาม (Questionnaire) และทำการสนทนาเป็นกลุ่ม (Focus Group)กลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุ ในขั้นตอนก่อนและหลังผลิตรายการ, ทำการสัมภาษณ์เชิงลึก (Depth Interview) กลุ่มผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ ในขั้นตอนก่อนและหลังผลิตรายการ และใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (Depth Interview) ผู้เชี่ยวชาญด้านผู้สูงอายุ ในขั้นตอนหลังผลิตรายการ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างได้แก่ กลุ่มบุคคลทั้งชายและหญิง อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป เป็นชนชั้นกลางของสังคม อยู่อาศัยในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 40 คน ทั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) กระบวนการสร้างสรรค์รายการโทรทัศน์ที่นำเสนอกิจกรรมเชิงสุนทรียะเพื่อส่งเสริมสุขภาวะสำหรับผู้สูงอายุ (2) ทัศนคติ และความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่ได้ชมรายการโทรทัศน์ที่นำเสนอกิจกรรมเชิงสุนทรียะเพื่อส่งเสริมสุขภาวะสำหรับผู้สูงอายุ ผลการวิจัยพบว่า การสร้างสรรค์รายการโทรทัศน์ที่นำเสนอกิจกรรมเชิงสุนทรียะเพื่อส่งเสริมสุขภาวะสำหรับผู้สูงอายุ ประกอบไปด้วยขั้นตอนในการผลิต 3 ขั้นตอนด้วยกันคือ 1.ขั้นก่อนการผลิตรายการโทรทัศน์ (Pre-Production) พบว่าผู้สูงอายุต้องการรับชมรายการโทรทัศน์ที่มีรูปแบบสาระบันเทิง โดยมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับสุขภาพ และท่องเที่ยว 2.ขั้นดำเนินการผลิตรายการโทรทัศน์ (Production) จากผลในขั้นก่อนการผลิต ทำให้การผลิตต้องเน้นการถ่ายทำสถานที่ท่องเที่ยวที่สามารถเดินทางไปได้จริง รวมถึงมีความเหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ ผสมผสานกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพกายและใจ ดังนั้นจึงได้กำหนดให้รูปแบบรายการมีการจูงใจผู้ชมด้วยสถานที่ท่องเที่ยว ก่อนนำเข้าช่วงสัมภาษณ์บุคคลต้นแบบ 2 ท่านคือคุณภัทราวดี มีชูธน และคุณขวัญจิต ศรีประจันต์ โดยได้ใช้ชื่อรายการว่า “รุ่นใหญ่ หัวใจศิลป์” 3.ขั้นหลังการผลิตรายการโทรทัศน์ (Post-Production) และการประเมินผลรายการโทรทัศน์ (Production Evaluation) ในขั้นนี้เป็นการนำข้อมูลที่ได้จากการถ่ายทำมาตัดต่อ ลงเสียงประกอบ โดยเน้นความชัดเจนของคำบรรยาย ข้อความ และแผนที่เพื่อให้เหมาะสมสำหรับการรับชมรายการของผู้สูงอายุ จากนั้นประเมินผลรายการโทรทัศน์ด้วยการประเมินทัศนคติและความพึงพอใจ ต่อเนื้อหาและการผลิตรายการ ทั้ง 2 ตอน ผลการประเมินพบว่า ผู้สูงอายุมีทัศนคติและความพึงพอใจอยู่ในเกณฑ์ดีที่สุดทุกด้าน โดยผลการศึกษาทัศนคติในตอนครูเล็กพบว่า ผู้สูงอายุเกิดแรงบันดาลใจในการดูแลสุขภาพกายและใจของตนเองมากที่สุด ขณะที่ตอนแม่ขวัญจิต พบว่าผู้สูงอายุรู้สึกเพลิดเพลินใจขณะรับชมรายการมากที่สุด ทั้งนี้ผู้สูงอายุมีความพึงพอใจต่อการผลิตรายการด้านพิธีกร/ผู้ดำเนินรายการมากที่สุดทั้งตอนครูเล็กและตอนแม่ขวัญจิต
Other Abstract: This research which is creative research was conducted with quantitative method using questionnaire to collect the data and qualitative method using focus group and depth interview to interview the elderly and television producer. The sample consisted of 40 elders who were middle class and lived in Bangkok area, aged from 60 years old.The objectives of this study were (1) To create the television program offer aesthetic activities to promote well-being for the elderly (2)to study the elders'attitude, and satisfaction towards television program offer aesthetic activities to promote well-being for the elderly. It is found that the production process of a television program offer aesthetic activities to promote well-being for the elderly fell into three stages. Firstly, the pre-production stage showed that the elderly wanted to watch entertainment program which offered content in healthy behavior and tourism.Secondly, the production process followed the findings from the earlier stage. The content therefore included the tourist attraction that suitable for the elderly and easy to go, as well as the knowledge of the physical and mental health. The program format started with introducing interesting place, and followed by interview guest. Two pilot programs interviewed “Patravad iMejudhon” and “Kwanjit Sriprajan”. The program name was “Roueyai Huajaisin”. Finally, the post-production stage included the editing and dubbing which emphasis on the clarity of narration, text and map for the elderly. The study showed that the elderly who watched two pilot programs presenting aesthetic activities to promote well-being for the elderly reported the good attitude and high satisfaction towards the program. It is found that the elderly was inspired to take care of their physical and mental health from “Kru Lek Patravad iMejudhon” episode. The elderly however enjoyed watching “Mae Kwan Jit” episode. The master of ceremonies received the highest satisfaction from both episodes.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44805
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.74
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.74
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pinyadai_ti.pdf5.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.