Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44903
Title: การปรับปรุงระบบสารสนเทศเพื่อใช้ติดตามและตรวจสอบกลับของอุตสาหกรรมผลิตน้ำมันรำข้าวดิบ
Other Titles: Improvement of information system for monitoring and traceability in crude rice bran oil production
Authors: ณัฏฐ์นวัต คีติกาสุตนันท์
Advisors: ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: natcha.t@chula.ac.th
Subjects: น้ำมันรำ
การควบคุมกระบวนการผลิต
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
การผลิตแบบลีน
Rice oil
Management information systems
Process control
Lean manufacturing
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การติดตามและตรวจสอบกลับข้อมูลการผลิตเป็นกิจกรรมที่สำคัญสำหรับอุตสาหกรรมผลิตน้ำมันรำข้าวดิบ เนื่องจากกระบวนการดังกล่าวจะได้มาซึ่งข้อมูลที่สามารถนำมาใช้ปรับปรุงกระบวนการผลิต กระบวนการติดตามและตรวจสอบกลับของโรงงานกรณีศึกษาซึ่งมีการดำเนินการเฉลี่ย 1 ครั้งต่อเดือนต่อ 1 ผลิตภัณฑ์ ใช้เวลามากกว่า 2 ชั่วโมงต่อ 1 ครั้งต่อ 1 ผลิตภัณฑ์ ซึ่งข้อคิดเห็นจากการตรวจวัดประสิทธิภาพ(Audit) จากหน่วยงานภายนอกซึ่งได้แก่ ลูกค้า, หน่วยงานราชการ และ บุคคลที่ 3 กำหนดเวลารวมที่ใช้ตรวจสอบผลิตภัณฑ์ต้องไม่เกิน 1 ชั่วโมง ต่อ 1 ครั้งต่อ 1 ผลิตภัณฑ์ อีกทั้งโรงงานกรณีศึกษามีผลิตภัณฑ์ทั้งหมด 2 ประเภทนับเป็นเวลามากกว่า 48 ชม. ในการตรวจสอบต่อปี เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อโรงงานในการปรับปรุงกระบวนการผลิตให้ทันเวลา ทำให้ผู้บริหารของโรงงานกรณีศึกษาต้องการปรับปรุงกระบวนการติดตามและตรวจสอบกลับ โดยสาเหตุที่สำคัญของปัญหาคือ ระบบสารสนเทศไม่สนับสนุนให้เกิดการตรวจสอบกลับได้ตามระยะเวลาที่กำหนด จากสาเหตุของปัญหาดังกล่าว จึงได้นำระบบฐานข้อมูลโปรแกรม Microsoft Access 2007 ซึ่งเป็นข้อมูลที่มาจากการปรับปรุงระบบสารสนเทศด้วยหลัก ECRS ซึ่งเป็นแนวคิดการลดความสูญเปล่าในการทำงานแบบลีน เป็นเครื่องมือจัดการฐานข้อมูลครอบคลุมตั้งแต่การตรวจรับวัตถุดิบของหน่วยงานคุณภาพ ขั้นตอนการผลิตจนถึงขั้นตอนการจัดเก็บน้ำมันรำข้าวดิบและรำข้าวสกัดน้ำมันของหน่วยงานคลังสินค้า มาใช้ในการตรวจสอบกลับตามข้อกำหนดของระบบคุณภาพ ISO 9001 : 2008 ซึ่งผลที่ได้แสดงให้เห็นว่าสามารถลดเวลาการตรวจสอบกลับผลิตภัณฑ์ลงอย่างเห็นได้ชัด โดยสามารถลดเวลาการติดตามและตรวจสอบกลับข้อมูลการผลิตลงได้ 92.86% ต่อ 1 ครั้งต่อ 1 ผลิตภัณฑ์ หรือลดลงจาก 140 นาทีเหลือ 10 นาทีสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ตรวจสอบและผู้ติดตามและสามารถใช้เป็นแนวทางในการออกแบบฐานข้อมูลทั่วทั้งองค์กรของโรงงานกรณีศึกษาต่อไป
Other Abstract: Monitoring and traceability are important activities in crude rice bran oil production because they provide feedback for improving the production process. The case study factory, have two major products and each product’s traceability required once a month and each time takes an average of 2 hours per a product resulting in more than 48 hours annually. However external audit from customers, government agency, and third party requires that monitoring and traceabiity process must not exceed one hour per a product. Hence this case factory needs to improve and find the better solution for their traceability process. The main cause of this slowness is due to unsuitable information system. Therefore, ECRS technique from the Lean concept that concentrate on maximize customer value while minimizing waste together with Microsoft Access 2007 are adopted to help the case factory manage the database system and improve the speed of tracibility process. Moreover, the developed information system with MS Access is applied for whole process convering from receiving raw material quality control, production control, and storage of finish goods crude rice bran oil and defatted rice bran. The results from the developed information system can shorten 92.86% of the time or reducing 2 hours per a product to 10 minutes per a product. This information system can satisfy all stakeholders who involves with the monitoring and traceability process and be used as a guideline for designing the enterprise-wide database of the case factory.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44903
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1685
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1685
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
natnawat_ke.pdf2.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.